• เว็บไซต์ไอลอว์
  • ศูนย์ข้อมูลฯ
  • ENG
  • ไทย
Skip to main content
Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ
  • หน้าแรก
  • เสรีภาพการแสดงออก 101
    • เสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพของทุกคน
    • กฏหมายไทยที่ใช้จำกัดเสรีภาพการแสดงออก
    • สถานการณ์ปัจจุบัน
    • 10 คำถาม-คำตอบน่ารู้เกี่ยวกับมาตรา 112
    • การเก็บข้อมูลเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ
    • นิยามศัพท์
  • ฐานข้อมูลคดี
    • เรียงตามคดีที่เกิดขึ้นใหม่
    • เรียงตามคดีที่มีความเคลื่อนไหวล่าสุด
    • ปฏิทินคดี
  • บทความ
    • มาตรา 112 (หมวดความผิดต่อพระมหากษัตริย์และราชวงศ์)
    • มาตรา 116 (ฐานยุยงปลุกปั่น)
    • กฏหมายชุมนุมสาธารณะ
    • กฏหมายหมิ่นประมาททางอาญา
    • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
    • ศาลทหาร
    • 112 the series
    • #Attitude adjusted?
    • อื่นๆ
  • รายงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานประจำเดือน
    • รายงานพิเศษ
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • ติดตามข่าวสารของเรา
    • อาสาสมัคร
    • ฝึกงาน
หน้าแรก » เสรีภาพการแสดงออก 101 » เสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพของทุกคน

เสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพของทุกคน

เสรีภาพการแสดงออก (Freedom of Expression) หรือเสรีภาพในการพูด (Freedom of Speech) เป็นสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หมายถึง สิทธิที่เราสามารถที่จะแสดงออกหรือสื่อสารความรู้สึกนึกคิดหรือความเห็น ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง ภาพถ่าย ภาพกราฟฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ [1] นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิในการค้นคว้า หา เข้าถึงหรือได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่ด้วย [2]
 
ในระดับปัจเจกบุคคล เสรีภาพในการพูดและการแสดงออกทำให้คนแต่ละสามารถแสดงตัวตน แม้เป็นไปด้วยความแตกต่างจากคนอื่นและปทัสถานของสังคมนั้น ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตัว การเขียนสเตตัสบนเฟซบุ๊ก หรือ การแสดงออกในรูปแบบอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเผชิญความไม่เป็นธรรมและกระบวนการยุติธรรมในประเทศไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมารับผิดชอบได้ เช่น เมื่อถูกเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นเรียกรับสินบนหรือข่มขู่ เสรีภาพการแสดงออกที่จะโพสต์เรื่องราวนั้นลงสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมย่อมเป็นสิ่งจำเป็นและควรได้รับความคุ้มครอง
 
เช่นเดียวกัน ในระดับชุมชนหรือสังคมระดับประเทศ เสรีภาพในการแสดงออกคือเครื่องมือสำคัญที่คนในชุมชนใช้ในการสื่อสารกับรัฐเพื่อสะท้อนปัญหาต่างๆ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงหรือป้องกันมิให้เกิดเหตุซ้ำ อย่างชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเลยที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ได้สร้างเฟซบุ๊กเพจขึ้นเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบนั้นต่อสาธารณะ นอกจากนี้เสรีภาพการแสดงออกยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้โลกเกิดการพัฒนาในทุกมิติทั้งในทางวิชาการและผลประโยชน์สาธารณะโดยทั่วไป เพราะการที่มีคนหลายฝ่ายนำความคิดหรือข้อเสนอที่แตกต่างกันมาอภิปรายอย่างเสรีและกว้างขวางย่อมชี้นำไปสู่ทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาที่กว้างไกลและมีประสิทธิภาพมากกว่า
 
ประวัติศาสตร์สากลว่าด้วยเสรีภาพการแสดงออก
 
การออกบัญญัติแห่งสิทธิ (Bill of Rights) ในอังกฤษเมื่อปี 1689 (2232) น่าจะเป็นครั้งแรกที่เสรีภาพในการพูดและการแสดงออกได้รับการรับรองในฐานะสิทธิตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามเสรีภาพในการพูดและการแสดงออกที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้จำกัดอยู่ในสภาเท่านั้นไม่ได้เป็นการรับรองสิทธิของพลเมืองโดยทั่วไป [3] 
 
เอกสารทางการชิ้นแรกๆที่รับการรับรองเสรีในการพูดและการแสดงออกในฐานะสิทธิพลเมืองของประชาชนทั่วไป น่าจะเป็นในบทบัญญัติเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐฉบับที่ 1 (the first amendment) [4] และในคำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศส (Declaration of the Rights of Man and of the Citizen) [5] มีข้อน่าสังเกตว่าการรับรองเสรีภาพในการแสดงออกทั้งในกรณีของสหรัฐอเมริกาและในฝรั่งเศสล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางการเมืองครั้งใหญ่ กรณีของสหรัฐคือการสู้เพื่อเป็นอิสระจากการปกครองของอังกฤษ ส่วนกรณีของฝรั่งเศสคือการต่อสู้เพื่อเพิ่มอำนาจและสิทธิของชนชั้นล่าง อย่างไรก็ตามด้วยพัฒนาการทางการเมืองในสมัยนั้น เสรีภาพในการแสดงออก ทั้งในกรณีของสหรัฐและฝรั่งเศสก็ยังคงไม่ได้ครอบคลุมประชาชนโดยทั่วไปเช่นทาสในสหรัฐอเมริกาหรือประชาชนชาวอาณานิคมของฝรั่งเศสก็ยังไม่น่าจะได้รับการคุ้มครองเสรีภาพนี้ในขณะนั้น
 
เสรีภาพในการพูดและการแสดงออกถูกทำให้กลายเป็นคุณค่าในระดับสากลในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากล และในกติกาสากลว่าสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่เกิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับกรณีไทย ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิทางการเมืองในปี 2539 ซึงในการเข้าเป็นภาคี รัฐบาลไทยจะต้องเสนอรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการพูดและการแสดงออกของประเทศต่อชาติสมาชิกอื่นๆ ซึ่งรายงานดังกล่าวก็จะถูกพิจารณา (review) และหากชาติสมาชิกอื่นพบว่ารัฐบาลไทยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการเคารพ ปกป้องและคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น มีการดำเนินคดีผู้ที่ชุมนุมอย่างสันติ หรือมีการออกกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการพูดหรือการแสดงออกของประชาชน รัฐบาลไทยก็จะถูกตำหนิในเวทีโลก
 
ในประเทศไทย เสรีภาพการแสดงออกก็ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ของประเทศไทย หลายๆ ฉบับ ตั้งแต่ฉบับ พุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา แต่ทุกครั้งที่มีการบัญญัติรับรองเสรีภาพการแสดงออก ก็จะบัญญัติข้อจำกัดของการใช้เสรีภาพไว้ด้วยเงื่อนๆไขต่างๆ เช่น มีเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติ เท่าที่ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น
 
ในทางปฏิบัติ กฎหมายหรือกติการะหว่างประเทศก็เป็นเพียงหลักปฏิบัติเท่านั้นเพราะสุดท้ายหากรัฐบาลเลือกที่จะจำกัดเสรีในการแสดงออกของประชาชน ก็มักจะอ้างว่าเสรีภาพนั้นต้องถูกจำกัดด้วยเหตุตามเงื่อนไขต่างๆ และสิ่งที่สังคมนานาชาติทำได้ก็เป็นเพียงการแสดงความเป็นห่วงหรือประนามเท่านั้นแต่ก็ไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้ เสรีภาพในการพูดและการแสดงออกจะได้รับการคุ้มครองให้เป็นสิทธิพลเมืองของประชาชนหรือไม่อยู่ที่ความเข้มแข็งของประชาชนที่จะแสดงออกเพื่อยืนยันต่อรัฐว่าเสรีภาพในการพูดและการแสดงออกเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของพวกเขา
 
อ้างอิง
 
1 (http://www.newworldencyclopedia.org/entry/Freedom_of_Speech)
 
2 https://freedomhouse.org/issues/freedom-expression
 
3 http://www.globalethicsnetwork.org/profiles/blogs/bill-of-rights-1688 
 
4 https://www.law.cornell.edu/constitution/first_amendment
 
5 http://avalon.law.yale.edu/18th_century/rightsof.asp

 

Skip to Top
เสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพของทุกคน
กฏหมายไทยที่ใช้จำกัดเสรีภาพการแสดงออก
สถานการณ์ปัจจุบัน
10 คำถาม-คำตอบน่ารู้เกี่ยวกับมาตรา 112
การเก็บข้อมูลเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ
นิยามศัพท์

Primary links

  • หน้าแรก
  • เสรีภาพการแสดงออก 101
  • ฐานข้อมูลคดี
  • บทความ
  • รายงาน
  • ปฏิทินคดี
  • เกี่ยวกับเรา
  • นโยบายเกี่ยวกับคุกกี้
  • มีส่วนร่วมกับเรา
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดย ไอลอว์
ผลงานนี้ ใช้ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 3.0 ต้นฉบับ.

create common  

 

  • facebook
  • twitter
  • Instagram iLawClub
  • @iLawClub
  • Flickr iLawClub
  • rss feed