• เว็บไซต์ไอลอว์
  • ศูนย์ข้อมูลฯ
  • ENG
  • ไทย
Skip to main content
Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ
  • หน้าแรก
  • เสรีภาพการแสดงออก 101
    • เสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพของทุกคน
    • กฏหมายไทยที่ใช้จำกัดเสรีภาพการแสดงออก
    • สถานการณ์ปัจจุบัน
    • 10 คำถาม-คำตอบน่ารู้เกี่ยวกับมาตรา 112
    • การเก็บข้อมูลเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ
    • นิยามศัพท์
  • ฐานข้อมูลคดี
    • เรียงตามคดีที่เกิดขึ้นใหม่
    • เรียงตามคดีที่มีความเคลื่อนไหวล่าสุด
    • ปฏิทินคดี
  • บทความ
    • มาตรา 112 (หมวดความผิดต่อพระมหากษัตริย์และราชวงศ์)
    • มาตรา 116 (ฐานยุยงปลุกปั่น)
    • กฏหมายชุมนุมสาธารณะ
    • กฏหมายหมิ่นประมาททางอาญา
    • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
    • ศาลทหาร
    • 112 the series
    • #Attitude adjusted?
    • อื่นๆ
  • รายงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานประจำเดือน
    • รายงานพิเศษ
  • มีส่วนร่วมกับเรา
    • ติดตามข่าวสารของเรา
    • อาสาสมัคร
    • ฝึกงาน
หน้าแรก » เสรีภาพการแสดงออก 101 » นิยามศัพท์

นิยามศัพท์

หลักการเผยแพร่ข้อมูล

 

1. เพื่อเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ถูกกล่าวหาในคดีความต่างๆเราเห็นว่า การเผยแพร่นามสกุลของผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้ให้ประโยชน์ในการทำความเข้าใจการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อครอบครัว หรือผู้ที่ใช้นามสกุลเดียวกับผู้ถูกกล่าวหา ดังนั้น ข้อมูลในฐานข้อมูลจะไม่ระบุนามสกุลของผู้ถูกกล่าวหา ยกเว้น กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นบุคคลสาธารณะ เช่น นักการเมืองที่มีชื่อเสียง หรือกรณีที่บุคคลนั้นให้ความยินยอมโดยตรง

 

2. เพื่อเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ถูกกล่าวหาในคดีความบางประเภทที่มีความอ่อนไหว เช่น คดีฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ยินยอมให้เปิดเผยชื่อต่อสาธารณะ ในฐานข้อมูลจะไม่ระบุชื่อที่แท้จริงของผู้ถูกกล่าวหา แต่จะตั้งชื่อสมมติขึ้นมาสำหรับใช้เรียกบุคคลนั้นทุกครั้งที่จะกล่าวถึงในฐานข้อมูล โดยชื่อที่เป็นชื่อสมมติจะใส่เครื่องหมาย “....” กำกับชื่อไว้ทุกครั้งที่กล่าวถึง

 

3. เพื่อเคารพสิทธิในความหลากหลายทางเพศ เนื่องจากกฎหมายในปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้บุคคลเลือกเพศตามความต้องการ และไม่มีคำนำหน้านามสำหรับบุคคลที่ไม่ต้องการใช้ นาย นาง หรือนางสาว เราเห็นว่า การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นคำนำหน้านาม ไม่ได้ให้ประโยชน์ในการทำความเข้าใจการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ดังนั้น ในฐานข้อมูลจะไม่ระบุคำนำหน้านามของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าในสถานะใด

 

คำย่อเฉพาะ

 

ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ จะมีการใช้คำย่อสำหรับการกล่าวถึงกฎหมายฉบับต่างๆ ดังนี้

- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ย่อมาจาก ฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

- พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551

- พ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551

- พ.ร.บ.กสทช.ฯ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553

- กฎอัยการศึก ย่อมาจาก พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457

- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ย่อมาจาก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

- พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2550

- พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558

- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

- พ.ร.บ.ประชามติฯ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559

 

คำอธิบายศัพท์ทางกฎหมาย

 

หมายเลขคดีดำ หมายเลขคดีที่ศาลออกให้เมื่อรับฟ้องคดี ในแต่ละชั้นศาลหมายเลขคดีดำจะต่างกัน

หมายเลขคดีแดง หมายเลขคดีที่ศาลออกให้เมื่อมีคำพิพากษาคดีแล้ว ในแต่ละชั้นศาลหมายเลขคดีแดงจะต่างกัน

กรรม เป็นลักษณะนามใช้นับจำนวนการกระทำความผิดที่จำเลยอาจถูกลงโทษได้ เช่น หากจำเลยถูกฟ้อง 2 กรรม หากศาลตัดสินให้จำคุกกรรมละ 1 ปี จำเลยก็จะถูกจำคุกรวม 2 ปี

 

การนับการกระทำความผิดเป็นหน่วย “กรรม” อาจจะพิจารณาแบบหยาบๆ ได้ว่า มีการกระทำเกิดขึ้นกี่ครั้ง เช่น หากมีการโพสต์ข้อความหมิ่นประมาท 2 ข้อความ ศาลก็อาจพิจารณาเป็นความผิด 2 กรรม แต่บางครั้งการนับจำนวนกรรมอาจพิจารณาเพียงการกระทำกี่ครั้งไม่ได้เสมอไป เช่น มีการนำใบปลิวที่มีข้อความเหมือนกันไปติดบนบอร์ด 2 แห่ง ซึ่งการติดเกิดขึ้น 2 ครั้ง โดยเมื่อติดแผ่นแรกเสร็จก็เดินต่อไปติดแผ่นที่สองทันทีต่อเนื่องกัน ศาลอาจพิจารณาได้ว่า การกระทำของจำเลยเกิดขึ้นโดยเจตนาอันเดียวกัน ถือเป็นการกระทำกรรมเดียวทั้งที่มีการกระทำเกิดขึ้น 2 ครั้ง ก็ได้

 

การกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เป็นหลักการของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ในกรณีที่จำเลยทำความผิดนับเป็นกรรมเดียวแต่เข้าข่ายผิดกฎหมายหลายบท จำเลยจะถูกลงโทษโดยกฎหมายที่มีโทษสูงสุดเพียงบทเดียว จะไม่นำกฎหมายบทอื่นๆ มาลงโทษจำเลยซ้ำให้ได้รับโทษหนักขึ้น ตัวอย่างเช่น การโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ 1 ครั้ง เป็นความผิดตามกฎหมายอย่างน้อย 2 บท คือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีโทษจำคุก 3-15 ปี และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ในกรณีนี้ศาลจะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพียงบทเดียว เพราะเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักกว่า

 

คำอธิบายสถานะผู้ต้องหา

 

รอลงอาญา หรือ รอการลงโทษ คือ กรณีที่จำเลยถูกศาลพิพากษาให้จำคุก แต่ยังไม่ต้องรับโทษจำคุกจริงๆ เพียงแต่ให้รอไว้ก่อน หากภายในกำหนดระยะเวลาการรอลงอาญาจำเลยไม่ได้กระทำความผิดซ้ำอีก โทษจำคุกนั้นก็ไม่ต้องรับจริงๆ แต่หากจำเลยไปกระทำความผิดซ้ำอีก โทษที่รอการลงอาญาไว้จะถูกนำมาบวกเพิ่มกับโทษในคดีใหม่

 

พักโทษ คือ เงื่อนไขประเภทหนึ่งในการปล่อยตัวนักโทษ ในกรณีที่นักโทษรับโทษจำคุกมาจำนวนหนึ่งแล้ว และมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่เรือนจำกำหนดไว้ ให้ปล่อยตัวนักโทษกลับไปรับโทษต่อที่บ้านได้ และกำหนดให้ต้องมามารายงานตัวเป็นระยะๆแทน

 

คำอธิบายสถานะคดี

 

ตำรวจสั่งไม่ฟ้อง คดีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า ไม่มีมูลเพียงพอจึงไม่ฟ้องคดีต่ออัยการ

ตำรวจสั่งฟ้อง คดีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า มีมูลและส่งสำนวนฟ้องต่ออัยการ

อัยการสั่งไม่ฟ้อง คดีที่อัยการเห็นว่า ไม่มีมูลจึงไม่ฟ้องคดีต่อศาล

อัยการสั่งฟ้อง คดีที่อัยการเห็นว่า มีมูลจึงสั่งฟ้องต่อศาล

ศาลไม่รับฟ้อง คดีที่ศาลเห็นว่า ไม่มีมูลและไม่รับฟ้อง

 

คำอธิบายขั้นตอนการพิจารณาคดีในชั้นศาล

 

ไต่สวนมูลฟ้อง ในคดีที่ประชาชนเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเองโดยไม่ผ่านตำรวจและอัยการ ศาลจะให้นำพยานหลักฐานมาไต่สวนก่อนเพื่อดูว่าคดีมีมูลพอจะรับฟ้องหรือไม่ เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งฟ้องเป็นคดีความกัน

 

นัดสอบคำให้การ เป็นขั้นตอนแรกสุดของการพิจารณาคดีในชั้นศาล โดยคู่ความทุกฝ่ายจะมาศาล และศาลจะถามจำเลยในคดีว่า จะรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธอย่างไร และหากปฏิเสธจะอ้างเหตุผลว่าอะไร

 

นัดสมานฉันท์ เป็นกระบวนการพิจารณาคดีแบบพิเศษสำหรับคดีอาญา ที่ศาลจะมาคุยกับจำเลยในลักษณะนั่งประชุมกัน โดยศาลจะชี้แจงสิทธิของจำเลยว่า หากจำเลยประสงค์ต่อสู้คดีจะต้องมีกระบวนการอย่างไร และหากประสงค์จะรับสารภาพจะได้รับประโยชน์ คือ การลดโทษอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าจำเลยเข้าใจกระบวนการและตัดสินใจให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธบนพื้นฐานของความเข้าใจสิทธิของตนเอง ซึ่งหากจำเลยตัดสินใจรับสารภาพในวันนัดสมานฉันท์ ศาลก็อาจจะมีคำพิพากษาได้ทันที

 

นัดพร้อม เป็นกระบวนการที่ศาลนัดคู่ความทุกฝ่ายมาเพื่อตรวจสอบว่า พร้อมสำหรับดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีหรือไม่ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้แล้วแต่คดี ส่วนใหญ่การนัดพร้อมจะใช้ในคดีที่มีรายละเอียดและขั้นตอนมาก เช่น หากโจทก์ต้องการสืบพยานจำนวนมาก แต่ยังติดตามตัวพยานได้ไม่ครบ ศาลอาจกำหนดวันนัดพร้อมขึ้นวันหนึ่งก่อนวันสืบพยาน เพื่อมาสอบถามความพร้อมว่า ฝ่ายโจทก์สามารถติดตามตัวพยานได้ครบหรือไม่ หากไม่ครบยังขาดพยานปากใด

 

นัดตรวจพยานหลักฐาน เป็นขั้นตอนหนึ่งในการพิจารณาคดี ที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยจะมาศาลเพื่อนำหลักฐานทั้งหมดมาเปิดให้อีกฝ่ายตรวจดู และนำเสนอบัญชีรายชื่อพยานที่จะนำมาเบิกความ โดยศาลจะตกลงกับทั้งสองฝ่ายเพื่อกำหนดประเด็นที่จะต่อสู้กัน และกำหนดว่าพยานปากใดจะมาเบิกความในประเด็นใด นัดตรวจพยานหลักฐานมีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายใดใช้เทคนิค “จู่โจม” นำเสนอพยานหลักฐานโดยไม่ให้อีกฝ่ายตั้งตัว

Skip to Top
เสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพของทุกคน
กฏหมายไทยที่ใช้จำกัดเสรีภาพการแสดงออก
สถานการณ์ปัจจุบัน
10 คำถาม-คำตอบน่ารู้เกี่ยวกับมาตรา 112
การเก็บข้อมูลเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ
นิยามศัพท์

Primary links

  • หน้าแรก
  • เสรีภาพการแสดงออก 101
  • ฐานข้อมูลคดี
  • บทความ
  • รายงาน
  • ปฏิทินคดี
  • เกี่ยวกับเรา
  • นโยบายเกี่ยวกับคุกกี้
  • มีส่วนร่วมกับเรา
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดย ไอลอว์
ผลงานนี้ ใช้ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 3.0 ต้นฉบับ.

create common  

 

  • facebook
  • twitter
  • Instagram iLawClub
  • @iLawClub
  • Flickr iLawClub
  • rss feed