1573 1699 1949 1030 1926 1603 1867 1985 1724 1821 1146 1212 1752 1280 1361 1674 1814 1054 1923 1986 1060 1546 1707 1796 1016 1863 1114 1494 1404 1542 1766 1699 1590 1341 1839 1360 1915 1826 1437 1051 1237 1617 1989 1218 1885 1157 1977 1228 1610 1078 1896 1347 1344 1431 1793 1234 1397 1381 1962 1779 1359 1495 1793 1902 1293 1852 1418 1999 1371 1544 1914 1193 1630 1697 1173 1436 1412 1869 1656 1608 1751 1137 1659 1932 1566 1193 1253 1790 1962 1474 1962 1668 1842 1578 1306 1446 1646 1226 1720 เปิดแนวคิด เบื้องลึกเบื้องหลังการระดมทุนสาธารณะเพื่อผู้ต้องขังคดีทางความคิด"เพราะคุณจะไม่ต้องเดินอย่างเดียวดาย" | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เปิดแนวคิด เบื้องลึกเบื้องหลังการระดมทุนสาธารณะเพื่อผู้ต้องขังคดีทางความคิด"เพราะคุณจะไม่ต้องเดินอย่างเดียวดาย"

การตั้งข้อกล่าวหาเป็นคดีอาญาต่อผู้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นหนึ่งในผลงานที่โดดเด่นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ส่งผลให้เกิดบรรยากาศแห่งความกลัวในสังคมไทย ตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ปี มีผู้ถูกตั้งข้อหาในความผิดฐานต่างๆ จากการแสดงออกทางการเมือง เช่น คดีมาตรา 112 อย่างน้อย 94 คน คดียุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ซึ่งเป็นกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคงซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึง 7 ปี อย่างน้อย 78 คน และความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขัดประกาศคสช.ฉบับ 7/2557 และคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 อีก อย่างน้อย 390 คน ซึ่งหากรวมเฉพาะสามข้อหานี้ก็จะมีผู้ถูกตั้งข้อหาคดีอาญาจากการแสดงออกลักษณะต่างๆในยุคคสช.สูงเกือบ 500 คนแล้ว 
 
สถิติอันน่าตกใจนี้เป็นผลโดยตรงจากการที่ คสช. และฝ่ายสถาบันศาลลดเพดานเสรีภาพในการแสดงออก ส่งผลให้ในช่วงตั้งแต่เดือนปลายเดือนพฤษภาคม 2557 จนถึงช่วงกลางปี 2559 น่าจะมีผู้ต้องขังคดีเมืองมากกว่า 100 คน (สถิตินี้ไม่นับรวมผู้ที่ถูกคสช.จับกุมและดำเนินคดีเกี่ยวกับการใช้อาวุธก่อเหตุรุนแรง) และค่อยๆ ลดลงหลังจากที่เริ่มมีการปล่อยตัวผู้ต้องขังที่ได้รับการลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษตามวาระต่างๆ
 
เมื่อคนๆหนึ่งถูกตั้งข้อกล่าวในคดีอาญา นอกจากการได้รับกำลังใจจากคนรอบข้างแล้ว ความช่วยเหลือในทางการเงินก็เป็นหนึ่งในความช่วยเหลือที่เขาต้องการ ทั้งค่าประกันตัว
ระหว่างการสู้คดี ซึ่งในข้อหาความผิดต่อคดีความมั่นคงมักต้องใช้เงินหลักแสน ค่าตอบแทนทนายความซึ่งแม้จะมีกลุ่มทนายด้านสิทธิมนุษยชน ให้ความช่วยเหลือโดยไม่คิดค่าตอบแทน แต่จำเลยเหล่านั้นก็ยังต้องแบกราคาอื่นๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าถ่ายเอกสารเกี่ยวกับคดี รวมถึงค่าเสียเวลาและโอกาสทำมาหากินในชีวิต ขณะเดียวกันจำเลยที่ต้องติดคุกเป็นเวลานานก็ยังต้องการ "เงินก้นถุง" สำหรับให้พอปรับตัวและใช้ชีวิตในโลกหลังรั้วลวดหนามที่ปราศจากอิสรภาพได้
 
เมื่อการแสดงออกทางการเมืองเป็นเรื่องสาธารณะ การที่คนบางส่วนต้องถูกดำเนินคดีหรือถูกจองจำเพราะการแสดงออกทางการเมืองย่อมเป็นประเด็นสาธารณะไปด้วย การที่หลายกลุ่ม หลายคนระดมทุนสาธารณะเพื่อช่วยจำเลยหรือนักโทษคดีการเมืองจึงเป็นหนึ่งในปรากฎการณืที่เกิดขึ้นในยุค คสช. ทั้งการระดมทุนในลักษณะเฉพาะกิจและการระดมทุนของกลุ่มคนที่มีการรวมตัวเป็นองค์กรที่ชัดเจน 
 
ในระหว่างที่ผู้ต้องและจำเลยคดีการชุมนุมของคนอยากเลือกตั้งทั้งที่หอศิลป์กรุงเทพ ราชดำเนิน กองบัญชาการกองทัพบก พัทยา และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำลังเข้าสู่กระบวนการศาลและอาจต้องเตรียมระดมทุนประกันตัวระลอกใหญ่กัน ไอลอว์ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ตัวแทนของกลุ่มคนที่มีส่วนร่วมในการระดมทุนสาธารณะเพื่อช่วยเหลือจำเลยและผู้ต้องขังคดีการเมืองสามกลุ่มได้แก่ สมาคมเพื่อเพื่อน กองทุนเพื่อการเข้าถึงความยุติธรรมของนักโทษการเมือง และอานนท์ นำภา เพื่อทำความเข้าใจถึงแนวเบื้องลึกเบื้องหลังในการระดุมทุนและเหตุผลว่าทำไมสาธารณะชนส่วนหนึ่งถึงต้องการเข้ามาร่วมแบ่งเบาภาระทางการเงินให้กับจำเลยและผู้ต้องขังคดีการเมืองที่กำลังแบกภาระทางกระบวนการยุติธรรมเหล่านี้
 
หมายเหตุ บทสัมภาษณ์ "Financial aid for political prisoners- Its role in fighting the deterrence against political dissent." นี้เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2560 แต่ในที่นี้จะแปลและเรียบเรียงเนื้อหาบางส่วนใหม่เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน  
 

สมาคมเพื่อเพื่อน: อุดช่องว่างในวันแรกเข้าและวันแรกแห่งอิสรภาพ  

 
เอกชัย หงส์กังวาน  อดีตผู้ต้องขังคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการของสมาคมเพื่อนสะท้อนถึงปัญหาในเรือนจำก่อนจะพูดถึงการก่อตั้งและการดำเนินงานของสมาคมว่า จากประสบการณ์ของเขา สิ่งที่เป็นปัญหาหลักสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำได้แก่การเข้าไม่ถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ความยากลำบากในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ รวมทั้งสภาพการนอนที่ไม่เอื้อให้ผู้ต้องขังพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ 
 
เอกชัยกล่าวต่อไปว่า แม้ผู้ต้องขังบางคนจะพอมีเงินติดตัวมาบ้างขณะที่ถูกจับกุม แต่ระเบียบของทางราชทัณฑ์ก็ทำให้ผู้ต้องขังเหล่านี้ประสบความยากลำบากในการเข้าถึงของใช้ที่จำเป็นเมื่อต้องเข้าเรือนจำในช่วงแรก เนื่องจากในเรือนจำไม่มีการใช้เงิน เจ้าหน้าที่เรือนจำจะนำเงินที่ผู้ต้องขังแต่ละคนขังมีติดตัวมาใส่ไว้ในบัญชีซึ่งผูกกับบัตรสมาร์ทการ์ด เวลาผู้ต้องขังจะซื้อของกินของใช้ก็จะจ่ายด้วยสมาร์ทการ์ดแทนเงิืนสด อย่างไรก็ตามการทำบัตรสมาร์ทการ์ดก็ต้องใช้เวลา ผู้ต้องขังที่ไม่มีญาติมาเยี่ยมในวันแรกๆหลังถูกส่งตัวมาที่เรือนจำจึงมักประสบปัญหาไม่สามารถเข้าของของใช้ที่จำเป็นได้ ซึ่งช่องว่างตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สมาคมเพื่อเพื่อนจะพยายามเข้ามาเติมเต็มให้ผู้ต้องขังคดีทางความคิดในเวลาต่อมา
 
สำหรับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสมาคม เอกชัยเล่าว่าสมาคมเพื่อเพื่อนถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2559 โดยนักกิจกรรมทางสังคมกลุ่มหนึ่งซึ่งมีปิยะรัฐ จงเทพ อดีตนักศึกษาที่ทำกิจกรรมคัดค้านระบบโซตัสในมหาวิทยาลัยและตัวเขารวมอยู่ด้วย สมาคมหาเงินมาทำกิจกรรมด้วยการระดมทุนสาธารณะโดยนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงเดือนสิงหาคม 2560 สมาคมจัดการระดมทุนสาธารณะมาสองครั้งแล้ว เท่าที่ผ่านมาเงินดังกล่าวถูกใช้ในการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีทางความคิดราว 80-90 คน ในสองเรือนจำ คือ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง
 
“พวกเราเน้นให้ความช่วยเหลือแก่นักโทษที่เพิ่งถูกคุมขัง เนื่องจากถูกริบเงินทั้งหมดก่อนที่จะเข้าเรือนจำ ทางสมาคมได้ให้ความช่วยเหลือในสัปดาห์แรกๆ เป็นเวลา 3-4 วันแรก เพราะพวกเขาไม่มีทาง
เข้าถึงเงินเก็บของพวกเขาได้” 
 
828
 
สำหรับรูปแบบการให้ความช่วยเหลือของสมาคมเพื่อเพื่อนต่อผู้ต้องขังคดีทางความคิด เอกชัยระบุว่าทางสมาคมจะเน้นไปที่ผู้ต้องขังใหม่ซึ่งพึ่งสูญเสียอิสรภาพ โดยคนของทางสมาคมจะไปเยี่ยมผู้ต้องขังในวันแรกๆที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำเพื่อซื้อของใช้ที่จำเป็น เช่น เสื้อผ้าและอุปกรณ์อาบน้ำ เพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างที่ผู้ต้องขังใหม่ที่ไม่มีญาติมาเยี่ยมยังไม่สามารถซื้อของใช้จำเป็นด้วยเงินของตัวเองได้เพราะต้องรอบัตรสมาร์ทการ์ด 
 
เอกชัยกล่าวต่อไปว่านอกจากการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ต้องขังคดีทางความคิดในช่วง "แรกเข้า" เรือนจำแล้ว การให้ความช่วยเหลือที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่งของทางสมาคม ได้แก่การให้ความช่วยเหลือต่ออดีตผู้ต้องขังที่พึ่งได้รับการปล่อยตัว ทั้งการปล่อยตัวเพราะได้รับการประกันตัวและการปล่อยตัวเพราะครบกำหนดโทษ โดยที่ผ่านมาทางสมาคมจะสนับสนุนเงินช่วยเหลือ 2000 บาท เพื่อให้อดีตผู้ต้องขังใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อกลับบ้านหรือซื้อของใช้จำเป็นหลังได้รับอิสรภาพ นอกจากนี้เพื่อให้อดีตผู้ต้องขังคดีทางความคิดที่สนใจสามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเองอย่างมีศักดิ์ศรี สมาชิกของสมาคมที่เป็นเจ้าของโรงงานก็เปิดโอกาสให้อดีตผู้ต้องขังบางส่วนเข้ามาทำงานในโรงงานด้วยเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวโดยเอกชัยระบุว่าการเลือกปฏิบัติคือหนึ่งในปัญหาสำคัญที่อดีตผู้ต้องขังทุกคนต้องเผชิญเมื่อจะกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังการพ้นโทษ

นอกจากการให้ความช่วยเหลือในลักษณะรายกรณีแล้ว เอกชัยระบุว่าทางสมาคมยังพยายามทำงานรณรงค์เชิงนโยบายด้วย โดยเคยเชิญชวนประชาชนร่วมลงชื่อใน change.org เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังในสี่เรื่องได้แก่ ให้อนุญาตให้ผู้ต้องขังเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ให้จัดให้มีเตียงและหมอนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการพักผ่อนของผู้ต้องขังซึ่งจะเป็นผลดีกับสุขภาพของผู้ต้องขัง ให้ลดข้อจำกัดการฝากเงินซึ่งปัจจุบันผู้ต้องขังแต่ละคนจะรับเงินฝากได้ไม่เกิน 9000 บาทต่อเดือนซึ่งทางสมาคมเห็นว่าไม่สะท้อนค่าครองชีพที่แท้จริงในปัจจุบันและสุดท้ายขอให้ยกเลิกข้อกำหนดห้ามผู้ไม่มีรายชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าเยี่ยมสิบคนเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังเพื่อเปิดโอกาสให้ญาติหรือเพื่อนของผู็ต้องที่อยู่ต่างจังหวัดไม่ได้มาเยี่ยมผู้ต้องขังเป็นประจำมีสิทธิเข้าเยี่ยมบ้าง
 

การระดมทุนสาธารณะเพื่อช่วยเหลือจำเลยคดีทางความคิดโดย อานนท์ นำภา

 
อานนท์ นำภา ทนายอาสาของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นการระดมทุนสาธารณะเพื่อประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีทางความคิดว่า ครั้งแรกเขาเปิดการระดมทุนบนเฟซบุ๊กส่วนตัวเพื่อหาเงินมาประกันคดีของเขากับเพื่อนอีกสามคน อานนท์และเพื่อนถูกแจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 7/2557 จากการทำกิจกรรม "เลือกตั้งที่(รัก)ลัก" ที่หอศิลป์กรุงเทพเพื่อรำลึกถึงการเลือกตั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งถูกประกาศให้เป็นโมฆะ โดยตัวของอานนท์ถูกตั้งข้อกล่าวหาตามพรบ.คอมพิวเตอร์ฯเพิ่มเติมอีกหนึ่งข้อหาด้วยจากกรณีที่เขาโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการทำกิจกรรมดังกล่าว เบื้องต้นศาลแจ้งว่าอานนท์และผู้ต้องหาอีกสามคนจะต้องใช้หลักทรัพย์เพื่อการประกันตัว 500000 บาท อานนท์จึงโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะรับบริจาคเงินเพื่อการประกันตัว ซึ่งปรากฎว่ามีคนโอนเงินด้วยจำนวนที่แตกต่างกันบ้างหลักร้อยบ้างหลักพันจนได้ยอดเงินประมาณเจ็ดถึงแปดแสนบาทในระยะเวลาอันรวดเร็ว
 
อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่ต้องวางเงินประกันจริงๆปรากฎว่าศาลเรียกเงินประกันต่ำกว่าอัตรา 500000 บาทที่แจ้งไว้เบื้องต้น อานนท์จึงตัดสินใจว่าจะนำเงินที่ระดมทุนมาได้ไว้ใช้วางเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมืองโดยสันติคดีอื่นๆ โดยหวังว่าการใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนสาธารณะมาประกันตัวจะไม่เพียงเป็นการให้ความช่วยเหลือจำเลยที่ขัดสนเงินทองให้ได้รับอิสรภาพเท่านั้นหากแต่ยังเป็นการส่งสานส์ทางการเมืองให้คสช.ได้รับทราบด้วยว่าสิ่งที่พวกเขาทำได้รับการสนับสนุนของคนกลุมใหญ่
 
“เป้าหมายของการระดมทุนไม่เพียงแค่เพื่อช่วยนักโทษทางการเมืองเท่านั้น แต่เราอยากส่งสารถึง คสช. ว่าการกระทำของเรามีประชาชนจำนวนมากให้การสนับสนุน” 
 
829

 

สำหรับลักษณะการดำเนินงานและการระดมทุน อานนท์ระบุว่ากองทุนของเขาเป็นการดำเนินงานแบบรายกรณีไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีโครงสร้าง เมื่อมีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกอานนท์และเพื่อนๆปรึกษาหารือกันว่ามีผู้ถูกดำเนินคดีที่เข้าเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือหรือไม่พิจารณาจากสถานะทางการเงินของผู้ถูกดำเนินคดีที่อาจไม่มีหลักทรัพย์เพียงพอและไม่มีบุคคลหรือหน่วยงานอื่นให้ความช่วยเหลือ หลังจากนั้นอานนท์จะประกาศขอความเห็นบนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขาว่าผู้ติดตามและผู้ที่ร่วมบริจาคเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้ความช่วยเหลือ หากมีผู้ติดตามและผู้ร่วมบริจาคส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างเป็นเอกฉันท์ ทางอานนท์และเพื่อนๆก็จะเริ่มดำเนินการให้ความช่วยเหลือ หากเงินในบัญชีเพียงพออยู่แล้วอานนท์ก็จะถอนเงินไปวางศาลเลยแต่หากเงินไม่พอก็จะมีการขอระดมทุนเพิ่มเติม
 
อานนท์กล่าวต่อไปว่าเพื่อความโปร่งใสในการบริหารจัดการทางการเงิน บัญชีที่ใช้รับบริจาคจะมีชื่อเจ้าของบัญชีสามคนคืออานนท์ วีรนันท์ ฮวดศรี ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนอีกคนหนึ่งและ ไอดา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา บรรณาธิการวารสารอ่านซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันผู้ต้องขังคดีทางความคิดหลายคนซึ่งการเบิกถอนเงินแต่ละครั้งจะต้องมีผู้ลงนามในใบถอนสองในสาม และเพื่อให้สาธารณะมั่นใจถึงความโปร่งใสในการใช้เงิน ทุกครั้งที่มีการเบิกจ่ายเงิน มีการระดมทุนใหม่ หรือได้รับเงินคืนจากศาลอานนท์จะถ่ายภาพยอดเงินล่าสุดโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขาเพื่อแจ้งต่อสาธารณะชน สำหรับเหตุผลของการคัดเลือกบุคคลทั้งสามเป็นผู้มีสิทธิเบิกถอนว่า อานนท์และวีรนันท์เป็นทนายที่ว่าความให้ผู้อยู่ในข่ายที่จะได้รับความช่วยเหลือ ส่วนไอดาก็เป็นผู้ค้ำประกันผู้ถูกดำเนินคดีทางความคิดหลายคนซึ่งต้องมาศาลเป็นประจำอยู่แล้ว 
 
อานนท์ระบุว่าที่ผ่านมาการระดมทุนสาธารณะของเขาให้การสนับสนุนเงินประกันกับจำเลยคดีทางความคิดสิบคดี เช่น คดีมาตรา 112 ของฐนกรผู้ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยงของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า คดียุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 รินดาผู้ถูกกล่าวหาว่าแชร์ข่าวลือเรื่องพล.อ.ประยุทธ์โอนเงินจำนวนมากไปต่างประเทศ เป็นต้น อานนท์ยอมรับว่าการระดมทุนสาธารณะของเขามีความท้าทายอยู่บ้าง จำนวนคดีเสรีภาพในการแสดงออกที่เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาคสช.อยู่ในอำนาจทำให้การระดมทุนสาธารณธบางครั้งได้เงินไม่มากนักเพราะผู้คนเกิดอาการ 'เหนื่อยหน่ายเกินจะเห็นใจ' อานนท์จึงมีการปรับกลยุทธ์การระดมทุนมาเป็นการกู้ยืมเงินจากประชาชนและจ่ายคืนเมื่อผู้ต้องขังได้เงินประกันคืนเมื่อคดีสิ้นสุด


กองทุนเพื่อการเข้าถึงความยุติธรรมของนักโทษการเมือง
 

กองทุนเพื่อการเข้าถึงความยุติธรรมของนักโทษการเมืองถูกก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสันติภาพที่รวมตัวกันสังเกตการณ์สถานการณ์ทางการเมืองหลังการรัฐประหาร 2557 ที่ตระหนักว่าผู้ต้องขังคดีทางความคิดหลายคนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการประกันตัวได้เพราะไม่มีทุนทรัพย์ ขณะเดียวกันครอบครัวของคนเหล่านี้ก็ได้รับผลกระทบเพราะผู้ต้องขังคดีทางความคิดหลายคนก็เป็นเสาหลักที่หาเลี้ยงครอบครัว เมื่อพวกเขาถูกคุมขังก็ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้
 

กองทุนเพื่อการเข้าถึงความยุติธรรมของนักโทษการเมืองมุ่งให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยเช่นเดียวกับการระดมทุนของอานนท์ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือนอกจากจะให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินประกัน ทางกองทุนยังให้การสนับสนุนครอบครัวของผู้ถูกคุมขังด้วยรวมทั้งทำการรณรงค์เรื่องสิทธิของผู้ต้องขังคดีทางความคิดกับสาธารณะด้วย เช่น สิทธิในการประกันตัว

830

ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างและลักษณะการให้ความช่วยเหลือของแต่ละกองทุน

สำหรับการบริหารจัดการให้มีความโปร่งใส ทางกองทุนจะมีการเผยแพร่บัญชีเงินรายรับร่ายจ่ายบนเฟซบุ๊กอยู่เป็นประจำทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวทางการเงินครั้งสำคัญ สำหรับกำลังคนที่ร่วมขับเคลื่อนการทำงาน ทางกองทุนมีเจ้าหน้าที่พาร์ทไทม์เพียงคนเดียวที่ทำงานบริหารจัดการภายใน ส่วนคนที่ร่วมทำงานในกองทุนที่เหลือจะทำงานในลักษณะอาสาสมัคร กองทุนยังพยายามสร้างความน่าเชื่อถือในการดำเนินงานโดยเชิญนักวิชาการและบุคคลที่สังคมให้ความยอมรับมาเป็นกรรมการของกองทุนด้วย ที่มาผ่านทางกองทุนได้ให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีทางความคิดอย่างน้อยสี่คน ข้อจำกัดที่ทำให้ทางกองทุนไม่สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาคดีทางความคิดได้ไม่มากเท่าที่ควรเป็นเพราะการนำเงินไปวางเพื่อประกันตัวแต่ละคราวต้องใช้เงินจำนวนมากเพราะเป็นคดีความมั่นคงและเงินดังกล่าวก็จะถูกทิ้งไว้ที่ศาลเป็นเวลานาน การหาเงินจำนวนมากมาหมุนเวียนจึงเป็นเรื่องยากและบางครั้งเมื่อไม่มีเงินที่ได้จากการบริจาคเพียงพอทางกองทุนก็จำเป็นต้องใช้วิธีไปหยิบยืมเงินจากคนที่พอมีฐานะและมีความเห็นใจผู้ต้องขังคดีทางความคิด  

 
การเกิดขึ้นของกองทุนทั้งสามและการสนับสนุนจากประชาชน แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนหนึ่งยังไม่ได้นิ่งเฉยและพร้อมที่จะให้การสนับสนุนประชาชนที่ถูกคสช.จำกัดสิทธิเสรีภาพ การระดมทุนสาธารณะที่เกิดขึ้นจึงไม่เพียงเป็นการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมหากแต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับคนในสังคมด้วยว่าการใช้กฎหมายมาปิดปากผู้ที่แสดงออกโดยสันติจะไม่ใช่วิธีการที่ได้ผลอีกต่อไป

 

 

 


 

.  

ชนิดบทความ: