1013 1471 1464 1246 1544 1507 1812 1889 1854 1168 1243 1851 1389 1022 1446 1649 1957 1220 1974 1418 1504 1837 1295 1099 1660 1569 1725 1166 1392 1641 1880 1297 1409 1257 1984 1901 1600 1803 1462 1043 1169 1024 1032 1008 1379 1261 1939 1095 1075 1730 1027 1547 1368 1522 1251 1952 1178 1315 1166 1635 1973 1804 1455 1257 1251 1590 1618 1906 1486 1816 1994 1158 1743 1383 1797 1454 1915 1679 1156 1901 1924 1686 1628 1527 1020 1852 1108 1186 1483 1760 1588 1048 1471 1873 1665 1034 1265 1129 1313 8 ปีคสช. คดีจากศาลทหารไปศาลพลเรือนยังไม่จบ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

8 ปีคสช. คดีจากศาลทหารไปศาลพลเรือนยังไม่จบ



การออกประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหารเกิดขึ้นในวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 สามวันหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคสช. จากนั้นในปี 2559 พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคสช.ออกคำสั่งยุติการนำคดีที่เกิดใหม่ขึ้นศาลทหารในเดือนกันยายน 2559 ก่อนที่ในเดือนกรกฎาคม 2562 พล..ประยุทธ์จะออกคำสั่งให้โอนคดีพลเรือนทั้งหมดที่ตกค้างในศาลทหารไปพิจารณาต่อในศาลยุติธรรมตามปกติ 

 

หลังการโอนย้ายคดี ศาลยุติธรรมได้ทยอยพิจารณาและพิพากษาคดีที่ได้รับมาจากศาลทหารจนแล้วเสร็จไปหลายคดี ทว่ายังมี "คดีสองศาล" อีกจำนวนหนึ่งที่ยังตกค้างพิจารณาไม่แล้วเสร็จและยังไม่มีความชัดเจนว่าคดีเหล่านั้นจะต้องใช้เวลาพิจารณาต่อไปอีกนานเท่าใด  

หลังการรัฐประหาร 2557 คสช.ออกประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557, 38/2557 และ 50/2557 กำหนดให้พลเรือนที่ทำความผิดบางประเภท ได้แก่  

 

  • คดีความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107-112
  • คดีความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 113-118 โดยเฉพาะความผิด ยุยงปลุกปั่นตามาตรา 116 
  • คดีความผิดตามประกาศ และคำสั่ง คสช. ทุกฉบับ
  • คดีความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พุทธศักราช 2490

2389

 

 

ทั้งนี้คดีของจำเลยที่เหตุเกิดก่อนการยกเลิกประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 1 เมษายน 2558 จำเลยจะมีโอกาสต่อสู้คดีในศาลเพียงชั้นเดียว ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา วันที่ 9 กรกฎาคม 2562  หลังการจัดตั้งรัฐบาล #คสช2 จากการเลือกตั้งสำเร็จแล้ว ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 9/2562 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บางฉบับที่หมดความจำเป็น  หนึ่งในนั้นคือการยกเลิกประกาศการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารเป็นผลให้ศาลทหารและอัยการศาลทหารไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีพลเรือนได้อีก เท่าที่ทราบศาลทหารกรุงเทพต้องโอนคดีที่ยังไม่เสร็จสิ้นกลับไปสู่ศาลพลเรือนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 60 คดี 

 

หลังจากนั้นคดีพลเรือนที่โอนย้ายกลับมาที่ศาลพลเรือนทยอยพิจารณาและมีคำพิพากษาแล้วหลายคดี เช่น คดีมาตรา 112 ของหฤษฎ์ มหาทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้อง, สิรภพ กวีการเมืองเจ้าของนามปากกา รุ่งศิลา ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกสองกรรม รวมหกปี มีเหตุบรรเทาโทษลดเหลือสี่ปี่หกเดือน คดีนี้ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์วันที่ 30 มิถุนายน 2565 และคดีของอัญชัญที่ศาลอาญาสั่งจำคุกรวม 87 ปีจากการแชร์คลิปเครือข่ายบรรพต ขณะเดียวกันยังมีคดีพลเรือนที่ถูกโอนมาจากศาลทหารและยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นต้นอยู่ ตัวอย่างดังนี้
 

คดีขอนแก่นโมเดล

คดีขอนแก่นโมเดลเป็นคดีมหากาพย์ที่มีจำเลยรวม 26 คน ส่วนใหญ่ถูกจับกุมไม่กี่วันหลังการเข้ายึดอำนาจของ คสช. จากการประชุมร่วมกัน พวกเขาถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน นอกจากนั้นยังถูกตั้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาวุธด้วย จำเลยในคดีนี้ถูกควบคุมตัวในเรือนจำนานหลายเดือน ก่อนทยอยได้ประกันตัวทีละคนในช่วงปลายปี 2557 จนครบทุกคน จำเลยปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยหลายคนบอกว่า ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่ได้ทำอะไรเป็นขบวนการเดียวกัน

คดีนี้พิจารณาที่ศาลทหารขอนแก่น ฝ่ายโจทก์ขอสืบพยาน 90 ปาก แต่การพิจารณาเป็นไปอย่างเชื่องช้า จนกระทั่ง คสช. หมดอำนาจไปก็ยังสืบพยานได้ไม่กี่ปาก และคดีโอนกลับไปพิจารณาที่ศาลจังหวัดขอนแก่น คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณามีนัดหมายในเดือนสิงหาคม 2565
 


คดียุยงปลุกปั่นของแปดแอดมินเพจเรารักพลเอกประยุทธ์

27 เมษายน 2559 ผู้ต้องหาแปดคนถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจนำกำลังบุกจับที่บ้านของแต่ละคนในเวลาไล่เลี่ยกัน  ทั้งแปดถูกควบคุมตัวที่ค่ายทหารเป็นเวลาหนึ่งคืนก่อนจะถูกนำตัวมาที่กองบังคับการปราบปรามในช่วงเย็นวันที่ 28 เมษายน 2559 ในการแถลงข่าวผู้ต้องหาทั้งแปดถูกกล่าวหาว่าทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และความผิดตามพ...คอมพิวเตอร์ฯจากการทำเพจเฟซบุ๊ก "เรารักพล..ประยุทธ"

ในวันที่ 29 เมษายน 2559 ผู้ต้องหาทั้งแปดถูกนำตัวไปขออำนาจศาลทหารฝากขังและถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพและทัณฑสถานหญิงกลางเป็นเวลา 12 วันหลังศาลทหารมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวเพราะพฤติการณ์แห่งคดีมีความร้ายแรงและทำเป็นขบวนการ ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ศาลทหารก็อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งแปดคน

คดีดำเนินไปอย่างล่าช้าซึ่งเหตุหนึ่งเป็นเพราะศาลทหารกรุงเทพนัดพิจารณาคดีแบบไม่ต่อเนื่อง ทำให้การสืบพยานโจทก์ยังคงค้างอยู่ที่ปากที่หนึ่งคือ พล..วิจารณ์ จดแตง นายทหารพระธรรมนูญ ต่อมาคดีถูกโอนย้ายมาที่ศาลอาญา ศาลนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในปี 2564 แต่ยังไม่สามารถดำเนินกระบวนได้ด้วยเหตุการแพร่ระบาดของโควิด 19 จึงกำหนดสืบพยานใหม่แบบไม่ต่อเนื่องตั้งแต่วันที 21 กันยายน 2565 จนถึงวันที่ 17 มีนาคม 2566


คดี 112 ของสุริยศักดิ์จากการส่งข้อความทางไลน์


18 มีนาคม 2560 สุริยศักดิ์ แกนนำนปช.สุรินทร์ ถูกจับกุมร่วมกับผู้ต้องหาอีกแปดคนโดยถูกกล่าวหาว่าเป็นเครือข่ายโกตี๋ สุริยศักดิ์ถูกตั้งข้อกล่าวหาก่อการร้ายจากการชุมนุมในปี 2553 และข้อกล่าวหาตามมาตรา 112จากการส่งข้อความทางไลน์ ขณะที่ผู้ต้องหาอีกแปดคนถูกตั้งข้อกล่าวหาครอบครองอาวุธและก่อการร้าย

ในเวลาต่อมาผู้ต้องหาคนอื่นๆถูกปล่อยตัวไปยกเว้นสุริยศักดิ์ที่ถูกควบคุมตัวต่อไป คดีของเขาดำเนินไปอย่างล่าช้า จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2562 คดีนี้ศาลอาญานัดสืบพยานอีกครั้งวันที่ 25 สิงหาคม 2565

คดีอาเดมถูกกล่าวหาว่า วางระเบิดราชประสงค์


17 สิงหาคม 2558 เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณศาลพระพรหมเอราวัณ ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2558 ตำรวจจับกุมตัวอาเดม คาราดัก (บิลาล มูฮัมหมัด) และคดีนี้ยังมีผู้ต้องหาร่วมอีกคือ ยูซูฟู เมียไรลี ทั้งสองเป็นชาวอุยกูร์ เพียงไม่นานหลังจากที่ทั้งสองถูกจับกุมคุมขังที่เรือนจำพิเศษภายในค่าย มทบ.11 ตามอำนาจของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ก็ปรากฏข่าวจากทางฝั่งเจ้าหน้าที่ของไทยว่า ทั้งสองให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน เนื่องจากคดีนี้เป็นความผิดที่เกี่ยวกับอาวุธตามประกาศคสช.ฉบับที่ 50/2557 ทำให้เบื้องต้นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหารกรุงเทพ 

อัยการทหาร ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน แสดงความจำนงต้องการสืบพยานทั้งสิ้น 447 ปาก ช่วงปี 2560 ศาลทหารเริ่มสืบพยานโจทก์ แต่ด้วยอุปสรรคเรื่องภาษาและนัดไม่ต่อเนื่อง ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้เบื้องต้นทนายจำเลยคาดว่าคดีนี้น่าจะพิจารณาแล้วเสร็จในปี 2565 

 

ในปี 2562 คดีของอาเดมและบิลาลถูกโอนจากศาลทหารกรุงเทพไปที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ เบื้องต้นศาลนัดสืบพยานโจทก์ 10 วันระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2565

ชนิดบทความ: