1364 1453 1065 1209 1634 1426 1273 1298 1016 1696 1238 1427 1011 1838 1695 1191 1987 1662 1476 1531 1983 1492 1979 1865 1022 1448 1053 1818 1692 1230 1847 1446 1067 1885 1979 1653 1374 1217 1935 1348 1642 1218 1672 1760 1692 1750 1413 1371 1303 1023 1672 1242 1821 1398 1542 1713 1542 1880 1968 1577 1630 1196 1524 1523 1824 1108 1223 1542 1812 1800 1686 1538 1444 1442 1057 1071 1347 1731 1836 1698 1801 1155 1158 1068 1636 1324 1380 1551 1279 1237 1012 1024 1576 1230 1009 1071 1735 1835 1923 ปรสิตติดโทรศัพท์ : การส่งเพกาซัสติดตามนักการเมืองก้าวหน้า-ก้าวไกล | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ปรสิตติดโทรศัพท์ : การส่งเพกาซัสติดตามนักการเมืองก้าวหน้า-ก้าวไกล

 

2521

 

วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.พรรคก้าวไกลอภิปรายถึงข้อค้นพบการใช้สปายแวร์เพกาซัสกับนักกิจกรรมทางการเมือง, นักวิชาการ และคนทำงานในภาคประชาสังคมจำนวน 30 คน (อ่านรายงานเพิ่มเติม

 

ระหว่างการอภิปราย พิจารณ์เปิดเผยข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า มีนักการเมืองในสังกัดพรรคก้าวไกลสามคนและคณะก้าวหน้าสองคน รวมอย่างน้อยห้าคนตกเป็นเหยื่อของเพกาซัส รวมทั้ง ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้าและเบญจา แสงจันทร์ ส.ส.พรรคก้าวไกล การค้นพบครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสืบสวนที่กำลังดำเนินไปเรื่อยๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้สปายแวร์เพกาซัสในประเทศไทย

 

วิธีการสืบสวนหาเหยื่อที่ถูกโจมตีจากเพกาซัส

 

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 พรรณิการ์ วาณิช โฆษกคณะก้าวหน้าทวีตว่า เธอได้รับอีเมล์แจ้งเตือนจาก Apple ในช่วงเดียวกันกับนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกหลายว่า ไอโฟนของพวกเขาอาจถูกเจาะโดยผู้โจมตีที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ (State-sponsored attackers may be targeting your iPhone) จึงติดต่อมาหา DigitalReach ข้อมูลของหลายคนถูกส่งต่อให้ Citizen Lab เพื่อตรวจทางวิทยาศาสตร์และยืนยันการถูกเจาะของไอโฟนแต่ละเครื่อง 

 

2502 พรรณิการ์ วาณิชระหว่างการพูดคุยเรื่องการปฏิรูปกองทัพเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563

 

ข้อมูลของผู้ถูกเพกาซัสเจาะเบื้องต้นถูกส่งต่อให้ iLaw เพื่อทำการลงพื้นที่หาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นเวลาสี่เดือนระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2565 เพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มว่า มีใครที่อาจตกเป็นเหยื่ออีกบ้าง นอกจากคนที่ได้รับอีเมล์จาก Apple แล้ว การทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์จากคนที่มีความเสี่ยงเพราะแสดงออกในประเด็นทางการเมืองที่อ่อนไหว ซึ่งรวมทั้งนักการเมืองฝ่ายค้าน, ประเด็นที่นักการเมืองแต่ละคนนำเสนอ และความสัมพันธ์กับผู้ที่ตรวจพบว่าถูกเจาะไปก่อนหน้านั้น

 

ที่มาที่ไป

 

ปี 2561 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และปิยบุตร แสงกนกกุล พร้อมด้วยผู้ร่วมก่อตั้งเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่ เป็นการรวมตัวของคนรุ่นใหม่หัวก้าวหน้าหลายคนเคยมีบทบาทรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 พรรคอนาคตใหม่สามารถกวาดที่นั่งในสภาได้ทั้งหมด 81 ที่นั่งและเข้าร่วมเป็นฝ่ายค้านต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร วันที่ 11 ธันวาคม 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคอนาคตใหม่กรณีกู้ยืมเงินจากธนาธรซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2562 ธนาธรนำประชาชนทำกิจกรรมแฟลชม็อบ “ไม่ถอยไม่ทน” ที่สกายวอล์คหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพียงพริบตาเดียวผู้คนจำนวนมากออกมารวมตัวที่สกายวอล์คจนเต็มพื้นที่ นับเป็นหนึ่งการเคลื่อนไหว ซึ่งปลุกกระแสการชุมนุมที่ซึมเซาไปตั้งแต่การรัฐประหาร 2557 ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

 

2503 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจทักทายผู้ชุมนุมแฟลชม็อบ "ไม่ถอยไม่ทน" เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2562

 

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี โดยอ้างว่าเงินกู้ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำนั้นเป็นการให้ผลประโยชน์กับพรรคการเมืองเกิน 10 ล้านบาท เป็นผลให้ธนาธร หัวหน้าพรรค, ปิยบุตร เลขาธิการพรรคและกรรมการบริหารพรรคอีกจำนวนหนึ่งถูกตัดสิทธิตามคำสั่งศาล ค่ำวันดังกล่าวประชาชนออกมารวมตัวแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับคำสั่งที่หน้าที่ทำการพรรคอนาตใหม่ วันถัดมา (22 กุมภาพันธ์ 2563) สหภาพนักเรียน นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยนำโดยจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพในเวลานั้นนัดชุมนุม “ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และตามด้วยการชุมนุมอีกจำนวนมากกระจายตัวในพื้นที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ระหว่างนี้เองที่ผู้ชุมนุมพัฒนาความไม่พอใจจากการยุบพรรคอนาคตใหม่เป็นข้อเรียกร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

 

2504 ตัวแทนอ่านแถลงการณ์ในการชุมนุม "ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม"

 

2505 การชุมนุมหลังยุบพรรคอนาคตใหม่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

2506 การชุมนุมหลังยุบพรรคอนาคตใหม่ที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563

 

การยุบพรรคเป็นผลให้นักการเมืองพรรคอนาคตใหม่เดิมย้ายไปเข้าสังกัดพรรคก้าวไกล โดยมีพิธา ลิ้มเจริญรัตน์เป็นหัวหน้าพรรค ด้านกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองก่อตั้งคณะก้าวหน้า (Progressive movement) มีธนาธร เป็นประธาน, ปิยบุตรเป็นเลขาธิการและพรรณิการ์ วาณิช เป็นโฆษก ต่อมาวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เยาวชนปลดแอกนัดชุมนุมใหญ่ครั้งแรกมีข้อเรียกร้องสามข้อ ได้แก่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การยุบสภาและขอให้รัฐหยุดคุกคามประชาชน หลังจากนั้นในเดือนสิงหาคม 2563 ผู้ชุมนุมเริ่มผลักดันข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ พรรคก้าวไกลสนับสนุนญัตติด่วนให้สภาเปิดรับฟังความคิดเห็นจากนักศึกษาและประชาชนและเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน ส.ส. ของพรรคเคยลงมติ “งดออกเสียง” ในร่างพ.ร.บ.ที่ให้โอนอัตรากำลังพลของทหารไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ และเคยอภิปรายตั้งคำถามถึงการจัดสรรงบประมาณแก่สถาบันกษัตริย์อีกด้วย ลักษณะเช่นนี้ทำให้สถานภาพของพรรคก้าวไกลกลายเป็นสะพานเชื่อมข้อเรียกร้องของประชาชนบนท้องถนนเข้าสู่กลไกรัฐสภา 

 

2507 การชุมนุมเยาวชนปลดแอกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563

 

2508 ผู้ชุมนุมชูป้ายข้อความเรียกร้องรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนระหว่างการชุมนุมเยาวชนปลดแอกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563

 

นอกจากบทบาทในการผลักดันวาระสำคัญที่พรรคเห็นร่วมกับผู้ชุมนุมแล้ว ผู้แทนพรรคก้าวไกลยังเป็นนายประกันให้แก่นักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดี เช่น วันที่ 8 สิงหาคม 2563 ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ใช้ตำแหน่งส.ส.ประกันตัวภาณุพงศ์ จาดนอกคดีชุมนุมเยาวชนปลดแอก และวันที่ 14 ตุลาคม 2563 เบญจา แสงจันทร์ ใช้ตำแหน่งส.ส.ประกันตัวจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา คดีชุมนุมคณะราษฎรอีสาน รวมทั้งส.ส.ยังเคยปรากฏตัวในการชุมนุมทางการเมืองเป้าประสงค์เพื่อสังเกตการณ์สถานการณ์ เช่น รังสิมันต์ โรม, เบญจา แสงจันทร์ และพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์  ในการชุมนุม “19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร” เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2563 ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

 

2509 ธนาธรและพรรณิการ์ระหว่างการชุมนุม "19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร" เมื่อปี 2563

 

ด้านคณะก้าวหน้าถอยทัพออกมายืนในบทบาทคลังสมอง (Think tank) แต่ยังมีการการเคลื่อนไหวในสภา เช่น กรณีของปิยบุตร ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 นำเสนอข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อปลดล็อกท้องถิ่น และยกเลิก ส.ว. และมีการให้ความเห็นถึงประเด็นการเคลื่อนไหวชุมนุมอย่างต่อเนื่องในแง่มุมต่างๆ เช่น การกวาดจับนักกิจกรรมในเดือนตุลาคม 2563

 

ต้นปี 2564 ระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด 19 คณะก้าวหน้าเปิดประเด็นเรื่องวัคซีนโควิด 19 และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ วันที่ 18 มกราคม 2564 ธนาธรไลฟ์หัวข้อเรื่อง “วัคซีนพระราชทาน : ใครได้ใครเสีย?” ตั้งคำถามต่อ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ (Siam Bioscience) ผู้ผลิตวัคซีนแอสตราเซเนกา ซึ่งมีรัชกาลที่สิบเป็นผู้ถือหุ้น วันที่ 19 มกราคม 2564 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยื่นคำร้องขอศาลอาญาขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการเผยแพร่คลิปดังกล่าว ศาลมีคำสั่งระงับการเผยแพร่ในวันเดียวกัน หากแต่ธนาธรยื่นคำร้องคัดค้านและขอให้เพิกถอนคำสั่ง ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลไต่สวนคำร้องของธนาธรและมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งระงับเดิมไป ระบุว่า “ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่า เป็นการกล่าวหาหรือติเตียน หรือกล่าวให้สงสัยในความสุจริต” ของรัชกาลที่สิบ

 

2516 พริษฐ์ ชิวารักษ์และเบนจา อะปัญทำกิจกรรม "กระขากหน้ากากไอโอไซน์" เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564

 

ประเด็นวัคซีนพระราชทานถูกนำมาเรียกร้องในพื้นที่สาธารณะ เช่น วันที่ 19 มกราคม 2564 เบนจา อะปัญ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมชูป้ายข้อความ “วัคซีนพระราชทาน” ที่ไอคอนสยาม และวันที่ 25 มกราคม 2564 เบนจาและพริษฐ์ ชิวารักษ์ทำกิจกรรมปราศรัยวิจารณ์เรื่องการจัดหาวัคซีนที่หน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ ที่ทำการของสยามไบโอไซเอนซ์ (Siam Bioscience)  ด้าน ปิยบุตรก็ให้ความเห็น ต่อข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่นำเสนอโดยแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมอ่านประกาศแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ สิบข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563

 

จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมา จึงเห็นถึงความเชื่อมโยงต่อกันระหว่างนักการเมืองของพรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้า กับนักกิจกรรมฝ่ายประชาธิปไตยที่มีจุดเกาะเกี่ยว คือ อุดมการณ์ประชาธิปไตยและข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ 

 

ข้อค้นพบ

 

จนถึงเวลานี้พบว่า มีนักการเมืองอย่างน้อยห้าคนที่ถูกเจาะโดยเพกาซัส การเจาะทั้งหมดเกิดขึ้นในระหว่างปี 2563-2564 และผู้ที่ตกเป้าหมายของสปายแวร์ คือ นักการเมืองจากพรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้า การเจาะครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 และครั้งสุดท้ายวันที่ 17 กันยายน 2564 ผู้ที่ถูกเจาะมากที่สุด คือ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า จำนวน 8 ครั้งระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2564 รองลงมา คือ เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.พรรคก้าวไกล สามครั้ง คือ ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายนถึงช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 อย่างไรก็ตามการตรวจสอบไอโฟนของนักการเมืองพรรคก้าวไกลมีข้อจำกัด เช่น กรณีของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ไอโฟนเครื่องที่เขาเคยใช้ระหว่างปี 2563-2564 ตกน้ำได้รับความเสียหายจึงไม่สามารถทำการตรวจสอบเพื่อค้นหาร่องรอยการโจมตีได้ หรือกรณีของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลที่ใช้เครื่องแอนดรอยด์เป็นหลัก และยังไม่สามารถระบุผลการตรวจสอบได้

 

ทั้งนี้การสอบสวนยังทำในหมู่นักการเมือง และคนทำงานในพรรคเพื่อไทยด้วย แต่ไม่พบร่องรอยการโจมตีจากเพกาซัส ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยมีบทบาทในการเรียกร้องเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง เช่น กรณีการสลายการชุมนุมคณะราษฎรเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 , การปราบปรามผู้ชุมนุมที่แยกดินแดงในเดือนสิงหาคม 2564 และการเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังเคยเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมทางการเมืองในปี 2564  ส่วนข้อเรียกร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยมีมติเห็นด้วยกับร่างที่มาจากการเข้าชื่อเสนอโดยประชาชนทุกฉบับ แต่มีจุดยืนไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไปและหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยไม่ได้มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างเด่นชัด 

 

2512 ขบวนเสด็จผ่านม็อบคณะราษฎร หนึ่งในมูลเหตุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563

 

2513 การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวันเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563

 

เมื่อเปรียบเทียบแล้วบทบาทและแนวนโยบายของพรรคเพื่อไทยมีระยะห่างกับผู้ชุมนุมในช่วงระหว่างปี 2563-2564 มากกว่าเพื่อนฝ่ายค้านอย่างพรรคก้าวไกล จึงพอจะสรุปรูปแบบการโจมตีของเพกาซัสต่อนักการเมืองได้ว่า เหยื่อมีจุดยืนเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และ/หรือมีความสัมพันธ์กับนักกิจกรรมทางการเมืองที่ตกเป็นเหยื่อของเพกาซัสทางใดทางหนึ่ง

 

รายชื่อนักการเมืองและวันที่ถูกเจาะ

ลำดับ

ชื่อและนามสกุล

สังกัด

ประมาณวันที่ที่ถูกเจาะ

(ปี-เดือน-วัน)

1

ปิยบุตร แสงกนกกุล

คณะก้าวหน้า

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2020-12-03 

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-02-07 

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-02-27 

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-03-17 

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-03-24 

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-04-07 

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-06-20 

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-07-04

2

พรรณิการ์ วาณิช

คณะก้าวหน้า

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-02-07

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-02-08

3

ชัยธวัช ตุลาธน

 พรรคก้าวไกล

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2020-12-20

4

เบญจา แสงจันทร์

พรรคก้าวไกล

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-06-14

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-06-24

ช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่าง 2021-06-24-2021-07-15

5

ปกรณ์ อารีกุล

พรรคก้าวไกล

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-07-07 

ในวันที่หรือช่วงวันที่ 2021-08-17

 

กรณีของปิยบุตร แสงกนกกุล การค้นหาความสัมพันธ์กับนักกิจกรรม

 

ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสมาชิกคณะนิติราษฎร์ ปี 2554 คณาจารย์จากคณะนิติราษฎร์เคยเสนอให้ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักรและกำหนดให้ไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ รวมทั้งเพิ่มเหตุยกเว้นความผิดกรณีกระทำโดยสุจริต ต่อมาเขาได้เข้าทำงานเป็น ส.ส. เป็นเวลาไม่ถึงหนึ่งปี หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ ปิยบุตร ในฐานะเลขาธิการคณะก้าวหน้ายังคงทำงานรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ระหว่างการชุมนุมปี 2563-2564 เขาให้ความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และวิพากษ์วิจารณ์การปราบปรามการชุมนุมของรัฐ รวมทั้งปรากฏตัวในฐานะผู้เข้าร่วมการชุมนุมหลายครั้ง

 

2515

 

การแสดงความเห็นของปิยบุตรทำให้เขาถูกติดตามและคุกคามหลายระดับ เช่น การดำเนินคดีด้วยข้อหาในหมวดความมั่นคงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และมาตรา 112 , การติดตามระหว่างที่เขาลงพื้นที่ทำกิจกรรม และยังเคยมีความพยายามของตำรวจในการเพิกถอนหนังสือเดินทางของเขา รวมถึงธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้าและพรรณิการ์ วาณิช โฆษกคณะก้าวหน้าด้วย เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2563ตำรวจบุกค้นคณะก้าวหน้าระหว่างการแถลงข่าวกรณีการใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง

 

แม้ปิยบุตรจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดชุมนุมทางการเมืองแต่น่าสนใจว่า ห้าจากแปดครั้งของการโจมตีเกิดขึ้นใกล้เคียงหรือตรงกับวันที่มีการชุมนุมทางการเมืองหรือมีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับกลุ่มที่จัดชุมนุมดังนี้

 

2514 การชุมนุมเพื่อตอบโต้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563

 

วันที่ 3 ธันวาคม 2563 การเจาะเกิดขึ้นหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเรื่องบ้านพักหลวงของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ซึ่งวันเดียวกันนั้นราษฎรนัดหมายชุมนุมที่ห้าแยกลาดพร้าวตอบโต้คำวินิจฉัยดังกล่าว ผู้ที่ถูกโจมตีในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ได้แก่ วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw และวันที่ 3 ธันวาคม 2563 อานนท์ นำภา แกนนำราษฎร  วันที่ปิยบุตรถูกเจาะเขาโพสต์ข้อความเชิญชวนประชาชนให้แสดงออกต่อกฎหมายกับคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรม และในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันเขาแสดงความเห็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกหมวดทุกมาตรา

 

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นการเจาะก่อนหน้าวันนัดหมายชุมนุม “28กุมภาบุกรังขี้ข้าปรสิต” ของรีเด็ม หลังจากนั้นปิยบุตรรณรงค์เรื่องรัฐธรรมนูญและการปล่อยตัวนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี การเจาะตีครั้งถัดมาวันที่17 มีนาคม 2564 ตรงกับวันที่ปิยบุตรมีนัดหมายพูดคุยในหัวข้อ “ราชทัณฑ์อยุติธรรม : ว่าด้วยปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยกับคดีทางการเมือง” ที่แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมจัดผ่านคลับเฮาส์ โดยก่อนหน้านี้หนึ่งวันนิราภร อ่อนขาว สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมถูกเจาะโดยเพกาซัสด้วยเช่นกัน

 

วันที่ 24 มีนาคม 2564 การเจาะเกิดขึ้นตรงกับวันนัดหมายชุมนุม “ประเทศนี้เป็นของราษฎร” ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และหนึ่งวันให้หลังจากที่ปิยบุตรเดินทางไปบรรยายหัวข้อ “แก้รัฐธรรมนูญไทยสู่ประชาธิปไตยหรือเสริมแกร่งเผด็จการ” ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งระหว่างนั้นมีกลุ่มขอนแก่นปกป้องสถาบันฯเข้ามากล่าวหาว่า เขาเป็นคนล้มเจ้า และอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564 ก่อนหน้าการชุมนุมครบรอบ 89 ปีอภิวัฒน์สยาม การชุมนุมใหญ่ครั้งแรกหลังจากเว้นว่างไปจากเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 และคลื่นการคุมขังนักกิจกรรมระหว่างพิจารณาคดี ปิยบุตรเป็นหนึ่งในเจ็ดคนที่ถูกเจาะในช่วงเวลานี้ วันที่เขาถูกเจาะยังมีการเจาะนิราภร อ่อนขาว, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลและยิ่งชีพ อัชฌานนท์

 

การโจมตีปิยบุตรพอจะสะท้อนให้เห็นรูปแบบที่ผู้โจมตีพยายามเสาะแสวงหาความสัมพันธ์และความเป็นไปได้ว่า เขาเกี่ยวข้องกับการนัดหมายจัดชุมนุมทางการเมืองของบรรดานักกิจกรรมคนรุ่นใหม่หรือไม่ 

 

กรณีของเบญจา แสงจันทร์ การค้นหาข้อมูลหลังของบสถาบันฯ โปร่งใส

 

2501 เบญจา แสงจันทร์ระหว่างการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่หน้าอาคารรัฐสภาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563

 

เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล บทบาทในสภาช่วงแรงของเธอเป็นการนำเสนอปัญหาเรื่องที่ดินและการตั้งนิคมอุตสาหกรรม ระหว่างการชุมนุมปี 2563-2564 เธอเข้าร่วมสังเกตการณ์การชุมนุมหลายครั้งและใช้ตำแหน่ง ส.ส. เป็นนายประกันให้นักกิจกรรมทางการเมือง ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2564  ระหว่างการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ พ.ศ. 2565) วาระหนึ่ง เบญจาอภิปรายเสนอให้จัดระเบียบโครงสร้างบประมาณสถาบันกษัตริย์ ลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มความโปร่งใสตรวจสอบได้ ในตอนท้ายเธอระบุว่า สิ่งที่เสนอนั้นจะยิ่งทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดำรงอยู่อย่างมั่นคงสถาพรในรัฐสมัยใหม่ โดยไม่ถูกนำมาใช้แอบอ้างให้เสื่อมเสียพระเกียรติมากยิ่งขึ้น 

 

ประเด็นดังกล่าวสังคมให้ความสนใจอย่างมาก มาตรวัดอย่างหนึ่ง คือ เทรนด์ของทวิตเตอร์ หลังจากการอภิปรายครั้งนั้น เบญจาให้สัมภาษณ์สื่อถึงเรื่องงบประมาณสถาบันกษัตริย์ต่อเนื่อง วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เบญจาถูกเจาะเป็นครั้งแรกและครั้งต่อมาวันที่ 24 มิถุนายน 2564 วันดังกล่าวราษฎรจัดชุมนุมเพื่อรำลึก 89 ปีการอภิวัฒน์สยาม โดยเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปรัฐสภา ตัวแทนราษฎรนำโดยปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลและจตุภัทร์ บุญภัทรรักษายื่นหนังสือให้แก่ตัวแทนพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน เบญจากับชัยธวัช ตุลาธนเลขาธิการพรรคก้าวไกลก็เป็นตัวแทนออกไปรับหนังสือด้วย อย่างไรก็ตามการโจมตีครั้งที่สามยังไม่สามารถระบุวันที่ได้อย่างแน่ชัดแต่เป็นช่วงระหว่างการอภิปรายงบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์วันที่ 24 มิถุนายนถึง 15 กรกฎาคม 2564 

 

2500 เบญจา แสงจันทร์รับหนังสือจากตัวแทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564

 

แม้จะมีหนึ่งครั้งที่เบญจาถูกเจาะในวันตรงกับวันที่มีนัดหมายชุมนุม แต่ยังไม่มีหลักฐานแวดล้อมเพียงพอให้ระบุได้ว่า การโจมตีเป็นไปเพื่อแสวงหาความเชื่อมโยงกับนักกิจกรรมเนื่องจากก่อนหน้านี้เธอมีการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมมาอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่เคยถูกโจมตีมาก่อน จนกระทั่งเธออภิปรายเรื่องงบประมาณสถาบันกษัตริย์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ทั้งนี้ไม่ปรากฏการโจมตีเบญจาในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2565) ในวาระสอง ระหว่างวันที่ 18 – 21 สิงหาคม 2564 ครั้งนี้เบญจายังคงอภิปรายเรื่องงบประมาณของที่พักอาศัยข้าราชบริพารในพระองค์ 

 

อย่างไรก็ตามวันที่ 17 สิงหาคม 2564 ปกรณ์ อารีกุล ถูกเจาะ ปกรณ์เป็นผู้ช่วยของรังสิมันต์ โรม ส.ส. ที่มักจะอภิปรายในประเด็นสำคัญ เช่น มูลนิธิป่ารอยต่อ, เส้นสายแต่งตั้งตำรวจ (ตั๋วช้าง) หรือเปิดโปงขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งเวลาดังกล่าวพอจะสันนิษฐานได้ว่า รังสิมันต์อาจจะอภิปรายเรื่องงบประมาณด้วย เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบโทรศัพท์ของรังสิมันต์ โรมได้  ดังนั้นจึงพอคาดการณ์ได้เพียงว่า การโจมตีปกรณ์เป็นการโจมตีเพื่อมุ่งค้นหาข้อมูลระหว่างการเตรียมอภิปรายของรังสิมันต์ 

 

นอกจากนี้จากการตรวจสอบ ส.ส. บางคนที่ก็เคยมีบทบาทการอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของพรรคก้าวไกลไม่พบว่า ถูกโจมตีจากเพกาซัส ได้แก่  วันที่ 26 ตุลาคม 2563 สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส. ที่เคยอภิปรายเรื่องขบวนเสด็จผ่านการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 และพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส. ที่เคยอภิปรายเสนอให้ตัดงบส่วนราชการในพระองค์ 

 

จากข้อค้นพบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นรูปแบบการโจมตีว่า ผู้โจมตีเลือกเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นไม่ใช่การมุ่งโจมตีสอดส่องหรือเสาะแสวงหาข้อมูลแบบเป็นการทั่วไป (Mass Surveillance)

ประเภทรายงาน: