1690 1475 1187 1368 1589 1069 1423 1067 1272 1626 1331 1874 1318 1746 1914 1797 1947 1397 1358 1699 1058 1059 1966 1621 1840 1880 1086 1223 1358 1354 1833 1875 1421 1913 1037 1727 1378 1579 1914 1582 1446 1923 1214 1938 1115 1845 1441 1727 1991 1642 1249 1125 1155 1972 1903 1822 1015 1882 1891 1803 1111 1954 1365 1415 1319 1385 1426 1196 1213 1650 1723 1466 1216 1968 1168 1113 1416 1832 1747 1138 1304 1634 1033 1311 2000 1364 1432 1459 1178 1757 1196 1625 1936 1394 1703 1748 1056 1737 1211 ฟ้องด้วยภาพ "แคปไลน์" กลั่นแกล้งได้หรือไม่? คดีม.112 ของสุริยศักดิ์ มรดกตกค้างยุคศาลทหาร | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ฟ้องด้วยภาพ "แคปไลน์" กลั่นแกล้งได้หรือไม่? คดีม.112 ของสุริยศักดิ์ มรดกตกค้างยุคศาลทหาร

 

25 สิงหาคม 2565 ศาลอาญาสืบพยานคดีมาตรา 112 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของสุริยศักดิ์ อดีตแกนนำนปช.สุรินทร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 5 ตุลาคม 2565 โดยคดีนี้ฝ่ายโจทก์มีหลักฐานเป็นเพียงกระดาษหนึ่งใบที่พิมพ์ภาพถ่ายจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ เป็นภาพแชทไลน์ โดยเป็นภาพผู้ใช้ไลน์บัญชีที่ตั้งชื่อว่า “Suriyasak” ส่งข้อความคุยกันและมีข้อความกล่าวถึง "ระบอบกษัตริย์ที่ปกครองบ้านเมืองมาหลายร้อยปี" โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่น
 
 
 
2557
 
 
สุริยศักดิ์ถูกจับกุม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2560 เวลาประมาณ 06.00 น. ที่บ้านในจังหวัดสุรินทร์ โดยทหารในเครื่องแบบหลายหน่วย ขณะถูกจับเขาอายุ 49 ปี เขาและผู้ต้องหาคนอื่นรวม 9 คน ถูกจับพร้อมกันในข้อหาเกี่ยวกับการก่อการร้าย โดยสะสมอาวุธและเกี่ยวข้องกับการชุมนุมคนเสื้อแดงในปี 2553 ระหว่างการแถลงข่าว สุริยศักดิ์แสดงความคิดเห็นว่า ขอปฏิเสธความเกี่ยวพันกับอาวุธที่ตรวจยึดได้ทั้งหมด เพราะไม่ใช่แนวทางการเคลื่อนไหวของ นปช. เนื่องจาก นปช. เชื่อในแนวทางสงบสันติ ต่อมาในคดีเกี่ยวกับก่อการร้ายของผู้ต้องหาทุกคนอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ทำให้ทุกคนได้รับการปล่อยตัว 
 
แต่เมื่อได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 17 กรกฎาคม 2560 สุริยศักดิ์ถูกตำรวจมาอายัดตัวต่อเพื่อแจ้งข้อหาตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และส่งเขากลับเข้าไปในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ คดีของเขาอยู่ภายใต้ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 และถูกส่งไปขึ้นศาลทหาร ซึ่งที่ศาลทหารเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวและการพิจารณาคดีก็ล่าช้าไม่ต่อเนื่อง ทำให้เขาถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลานานกว่าสองปี จนกระทั่งได้ประกันตัวในวันที่ 12 มิถุนายน 2562 ซึ่งเป็นเวลาหลังจัดการเลือกตั้งทั่วไปและพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อแล้ว หลังจากนั้นคดีของเขาซึ่งตกค้างอยู่ในศาลทหารก็ถูกสั่งให้โอนกลับมาพิจารณาคดีต่อที่ศาลปกติ
 
ศาลอาญานัดสืบพยานฝ่ายโจทก์ในคดีนี้ในวันที่ 16-18 สิงหาคม 2565 โดยพล.อ.วิจารณ์ จดแตง นายทหารฝ่ายกฎหมายของคสช. ที่เป็นผู้กล่าวหาในคดีนี้ เบิกความว่า ได้รับเอกสารภาพถ่ายจากหน้าจอไลน์มาจากตำรวจสันติบาล ส่วนพล.ต.ท.สราวุฒิ การพาณิช ตำรวจสันติบาล ก็เบิกความว่า ได้รับภาพดังกล่าวมาจากสายลับที่เข้าไปตีสนิทกับสุริยศักดิ์ ส่วนพยานโจทก์ผู้ตรวจสอบโทรศัพท์ของจำเลยที่ยึดไปเบิกความว่า พบการติดตั้งแอพพลิเคชันไลน์ในโทรศัพท์มือถือ แต่ไม่พบบัญชีไลน์ที่ชื่อ “Suriyasak” ที่ส่งข้อความตามฟ้อง เนื่องจากบัญชีไลน์อาจถูกลบไปแล้ว โดยพยานโจทก์หลายคนก็เบิกความต่อศาลยอมรับว่า บัญชีไลน์ปลอมแปลงได้ง่าย อาจมีผู้ที่เอาภาพและชื่อของบุคคลอื่นไปตั้งบัญชีใหม่ได้ แต่สาเหตุที่ฟ้องจำเลยคดีนี้เพราะเห็นว่า รูปโปรไฟล์ในไลน์มีภาพรถยนต์ ซึ่งหมายเลขทะเบียนจดทะเบียนด้วยชื่อของจำเลย
 
ด้านจำเลยเบิกความในวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ว่า ไม่ได้เป็นผู้ส่งข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ก่อนถูกจับกุมไม่เคยใช้ไลน์เพราะไม่ถนัดเทคโนโลยี หลังได้ปล่อยตัวก็ใช้งานไลน์แล้วแต่สายตาไม่ดีจึงใช้ในแท็บเล็ต นอกจากนี้ยังมีเฟซบุ๊ก ซึ่งใช้ภาพตัวเองตั้งเป็นโปรไฟล์ในเฟซบุ๊ก เป็นภาพเดียวกับที่ปรากฏเป็นโปรไฟล์ไลน์ในคดีนี้ โดยเชื่อว่าการดำเนินคดีนี้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงเวลาที่ถูกจับกุม 
 
ในการทำคำพิพากษาคดีนี้ ศาลจึงต้องวินิจฉัยว่า ลำพังภาพถ่ายจากหน้าจอไลน์ว่า มีบัญชีชื่อและภาพคล้ายบุคคลหนึ่ง จะเพียงพอรับฟังว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ส่งข้อความเข้าไปในไลน์จริงหรือไม่ ติดตามผลคำพิพากษาได้ในวันที่ 5 ตุลาคม 2565 
 
 
 


ดูรายละเอียดคดีนี้เพิ่มเติมในฐานข้อมูล ได้ทาง https://freedom.ilaw.or.th/th/case/783#detail