1442 1052 1034 1337 1260 1695 1030 1014 1521 1641 1639 1465 1288 1547 1271 1300 1674 1155 1446 1780 1438 1288 1754 1943 1446 1226 1151 1145 1408 1846 1798 1392 1499 1179 1039 1651 1435 1947 1241 1463 1473 1773 1380 1064 1610 1467 1056 1879 1406 1499 1016 1924 1089 1640 1759 1017 1792 1857 1708 1960 1831 1724 1285 1442 1660 1137 1091 1128 1931 1511 1871 1922 1318 1834 1699 1343 1219 1417 1669 1196 1800 1005 1394 1071 1902 1014 1110 1434 1715 1455 1061 1944 1865 1785 1220 1863 1314 1911 1001 โครงการ 112WATCH: 1 ปีที่ผ่านมา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

โครงการ 112WATCH: 1 ปีที่ผ่านมา

 
 
112Watch คือการรวมตัวของผู้คนและองค์กรที่ให้คุณค่าต่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย 112Watch มีจุดมุ่งหมายในการเรียกร้องให้มีการยุติการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของไทยเพื่อเป็นการลงโทษหรือปิดปากประชาชน
 
 
2558
 
ระหว่างการรัฐประหาร 2557 มีประชาชนไม่ต่ำกว่า 98 คนถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายอาญามาตรา 112 และมีการใช้กฎหมายนี้มีเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี 2563-2564 ที่มีการประท้วงในไทย แกนนำผู้ประท้วงหลายคนถูกคุกคามทางด้านกฎหมาย บางคนต้องถูกนำเข้ากระบวนการยุติธรรมนับครั้งไม่ถ้วนและบางคนอาจต้องถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลากว่า 100 ปี สถานการณ์ต่างๆเหล่านี้แย่ลงเรื่อยๆ
 
ในเดือนกันยายน 2564 ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ รองศาสตราจารย์แห่งศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้เริ่มโครงการใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายในการรวบรวมกลุ่มคน/องค์กรที่มีความคิดใกล้เคียงกัน ที่เห็นพ้องว่า ประมวลกฎหมายมาตรา 112 จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปหรือยกเลิก โดยปวินเองก็ถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพราะเขาวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ภายหลังจากการทำรัฐประหารในปี 2557 คณะรัฐประหารได้เรียกตัวปวินไปเพื่อ “ปรับทัศนคติ” ซึ่งเขาได้ปฏิเสธ โดยผลที่ตามมาก็คือ เขาได้รับหมายจับและในที่สุดหนังสือเดินทางของเขาก็ถูกยกเลิก ทำให้เขาต้องร้องขอสถานะผู้ลี้ภัยจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งปวินนั้นยังได้ถูกฟ้องร้องด้วยมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯสาเหตุจากการที่เขาได้สร้างกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลสในเฟซบุ๊กที่กลายมาเป็นพื้นที่การถกเถียงเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผย โดยกลุ่มนี้ถูกสร้างขึ้นในเดือนกันยายน 2563 และปัจจุบันมีสมาชิกเกือบ 2.4 ล้านคน (สถานะเดือนธันวาคม 2564) ในความเป็นจริง ปวินได้จัดตั้งกลุ่มนี้ครั้งแรก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 โดยหลังจากก่อตั้งได้สี่เดือนและมีสมาชิกกว่าหนึ่งล้านคน รัฐบาลไทยได้สร้างแรงกดดันต่อเฟซบุ๊กให้สกัดการเข้าถึงกลุ่มนี้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลให้บริษัทเฟซบุ๊กทำตามที่รัฐบาลไทยร้องขอ
 

มาตรา 112 ละเมิดเสรีภาพในการพูด

 
หลังรัฐประหารปี 2549 ที่โค่นล้มรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จำนวนคดีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก อีกทั้งกฎหมายดังกล่าวยังกลายเป็นอาวุธทางเลือกในการทำร้ายผู้เห็นต่างทางการเมือง แต่เมื่อวิกฤตการเมืองของไทยรุนแรงขึ้น ก็มีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถี่มากขึ้น และกลายเป็นประเด็นถกเถียงมากขึ้นเช่นเดียวกัน
 
ในปี 2554 ปวินได้ออกแคมเปญทั่วประเทศเพื่อปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112 อันเป็นผลมาจากการที่รัฐไทยดำเนิน “คดีอากง” และถึงแม้เวลาจะผ่านไปสิบปีแล้ว สถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็ยังไม่ดีขึ้นแม้แต่น้อย อีกทั้งการรัฐประหารในปี 2557 ที่โค่นล้มรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณ ชินวัตรกลับยิ่งทำให้สถานการณ์ทางการเมืองแย่ลงไปอีก ถึงแม้ในช่วงต้นรัชกาลที่ 10 แนวโน้มการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะลดลง แต่อย่างที่ทุกคนเห็นได้ชัด มีการนำกฎหมายดังกล่าวกลับมาใช้ในปลายปี 2563 โดยมีความจงใจที่จะใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยรัฐไทย เพื่อปิดปากกลุ่มคนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ การกลั่นแกล้งประชาชนโดยการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ยังคงไม่สิ้นสุด ซึ่งมีกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ขณะนี้ได้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศ จัดการกับปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112 ในประเทศไทยอย่างจริงจัง
 
ด้วยเหตุผลดังกล่าว โครงการ 112WATCH จึงถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่ในการสร้างความตื่นตัว โดยจะพุ่งเป้าไปที่ชุมชนทางการทูตระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรสหประชาชาติ (UN) ณ นครนิวยอร์ค ประชาคมสหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ในเจนีวา เพื่อสร้างฉันทามติในการจัดการกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
 
วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อสร้างแนวร่วมสนับสนุนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายในเชิงบวกเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในประเทศไทย เป้าหมายคือการสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรต่างๆ ในระดับนานาชาติ ที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพในการพูด โดยการสร้างเครือข่ายนั้นมีความสำคัญ ในการหาค้นหาบุคคลหรือองค์กรที่เห็นด้วยกับโครงการ 112WATCH ที่ให้ความสำคัญในการแก้ ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนภายใต้กรอบขององค์การสหประชาชาติ/สหภาพยุโรป
 
การสร้างเครือข่ายดังกล่าวจะช่วยให้เราสามารถค้นหาบุคคลหรือองค์กรที่เห็นความสำคัญในการการแก้ไข กฎหมายอาญามาตรา 112 ของประเทศไทย และการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มคนหรือองค์กรเหล่านั้นยังหมายถึงความพยายามในการ "ทำความรู้จัก" กับ sponsors/champions เหล่านั้น ในการสร้างความไว้วางใจ แบ่งปันความรู้ความเข้าใจ รวมถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ส่งผลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
 
ภารกิจนี้คือการทำงานร่วมกับ sponsors/champions ทางด้านสิทธิมนุษยชน ทำให้พวกเขาตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหากฎหมายอาญามาตรา 112 ในประเทศไทย การงานร่วมกันเช่นนี้ จะช่วยผลักดันให้ปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ภายใต้ภายการจับตามองจากทั่วโลก โดยเป้าหมายก็คือ การหาแนวร่วมสนับสนุนจาก sponsors/champions เหล่านี้ ในการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย
 
ในขณะที่สังคมโลกได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มากเกินไป โดยสะท้อนให้เห็นจาก คำแถลงของที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ นาย Jake Sullivan (ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564) แต่ก็ยังมีการดำเนินการเพียงเล็กน้อยจากสหรัฐฯ เพื่อปรับปรุงให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยดีขึ้น แต่ในทางตรงข้าม รัฐบาลไทยกลับประสบความสำเร็จในการอธิบายความจำเป็นในการรักษา/ปกป้องกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยอ้างว่าเป็นการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ นั่นหมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย
 
กระบวนการนี้เรียกว่า “การสร้างพันธมิตร (แนวร่วม)” เพื่อค้นหาฉันทามติของความจำเป็นเร่งด่วน ในการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยฉันทามตินี้ เกิดมาจากความเห็นที่ตรงกันที่ว่ากฎหมายอาญามาตรา 112  ถูกใช้ให้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างอำเภอใจ และส่งผลกระทบร้ายแรงต่อหลักนิติธรรมในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนการแสดงออกขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112  ทั้งนี้ sponsors/champions เหล่านี้ทั้งที่อยู่ในกรอบของ UN/EU จะต้องได้รับแจ้งถึงข้อมูลที่ถูกต้องถึงสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 กลยุทธ์การดำเนินคดีของรัฐไทย และความร่วมมือระหว่างรัฐไทยกับโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ขัดขวางเสรีภาพในการพูด
 
องค์กรที่มีศักยภาพในการเข้าร่วมกับโครงการ 112WATCH อาทิ
 
1. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิทธิมนุษยชนในกรอบองค์การสหประชาชาติ ได้แก่ :
 
  • Special Rapporteur ด้านการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
  • Special Rapporteur ด้านสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบและสันติภาพ
  • คณะทำงานเกี่ยวกับการการกักขังอย่างพลการ
  • Special Rapporteur ด้านสถานการณ์การปกป้องนักสิทธิมนุษยชน
  • สมาชิกของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
  • คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
  • เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ (OHCHR)
2. ประเทศที่ส่งข้อแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนในไทยในระหว่างการพิจารณา UPR รอบที่สอง รวมถึงเอกอัครราชทูตถาวรแห่งองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ที่แนะนำให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112
3. คณะผู้แทนสหภาพยุโรปเพื่อความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) รวมถึงสมาชิกรัฐสภายุโรป 51 ประเทศ
4. องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ สถาบันการศึกษา และสื่อต่างประเทศ     
 
ในการประสานงานอย่างแข็งขันกับ sponsors/champions เรามุ่งมั่นที่จะสร้างเครือข่ายที่ ส่งเสริมการพบปะกับพวกเขาอย่างสม่ำเสมอ จัดงานสัมมนา และเข้าร่วมในการประชุมด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้กรอบของสหประชาชาติและสหภาพยุโรป ในขณะนี้ 112Watch กำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การ Destination Justice ในปารีส และกับองค์การภาคประชาสังคมที่ส่งเสริมให้มีการแก้ไข/ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 อาทิ iLaw และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
 

เป้าหมาย

 
ในการสร้างเครือข่าย แนวร่วม และสร้างฉันทามติต่อประเด็นปัญหากฎหมายอาญามาตรา 112 ในระดับองค์กรระหว่างประเทศ ของโปรเจคนี้ มีผลลัพธ์ที่คาดหวังหนึ่งอย่างคือ: การสร้างข้อตกลงระหว่างกับองค์กรต่างๆ เพื่อค้นหาความร่วมมือต่อกันหากเป็นไปได้ และนำไปสู่การสนับสนุนในประเด็นปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112  ที่จริงจังมากขึ้น ในระดับสากลดังกล่าวผ่านเครือข่ายที่มีอยู่ โดยจุดมุ่งหมายของโปรเจคนี้ คือการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ภายในกรอบการทำงานของสหประชาชาติและสหภาพยุโรป เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึง ความรุนแรงของกฎหมายอาญามาตรา 112 เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเพื่อพิจารณาทบทวนและนำแผน/กลยุทธ์ มาใช้เพื่อแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
 
โปรเจคนี้เริ่มขึ้นเป็นเวลา 1 ปีแล้ว และนี่คือสิ่งที่เราประสบความสำเร็จ 
 
  • การสร้างเครือข่ายและหาองค์กรแนวร่วม
  • การเข้าร่วมเวทีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นครเจนีวา
  • การจัดสัมมนาร่วมกับองค์กรแนวร่วมในอนาคต
โดยหลักการแล้ว เป้าหมายโปรเจคนี้คือการทำให้การเรียนรู้ (เกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112) นั้นง่ายขึ้น และเพื่อได้รับการสนับสนุนจากองค์กรแนวร่วม ท้ายที่สุด เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะกดดันรัฐบาลไทยให้ดำเนินการปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112
 

หากสนใจหรือต้องการเป็นอาสาสมัครติดต่อที่นี่ www.112watch.org