1592 1131 1720 1736 1082 1505 1577 1476 1294 1320 1788 1365 1910 1024 1345 1587 1058 1213 1945 1807 1934 1969 1440 1774 1737 1205 1752 1541 1510 1926 1281 1793 1231 1117 1955 1202 1236 1398 1617 1410 1265 1879 1187 1678 1986 1552 1116 1607 1349 1523 1649 1191 1896 1561 1762 1866 1588 1044 1163 1471 1325 1416 1367 1790 1748 1020 1036 1282 1802 1445 1815 1590 1055 1177 1357 1368 1672 1124 1808 1755 1226 1952 1986 1195 1077 1350 1952 1294 1575 1226 1119 1614 1379 1829 1653 1741 1358 1141 1928 UN ออกรายงาน เตือนสปายแวร์ “เพกาซัส” เป็นภัยต่อสิทธิมนุษยชน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

UN ออกรายงาน เตือนสปายแวร์ “เพกาซัส” เป็นภัยต่อสิทธิมนุษยชน

2590
 
ในขณะที่เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่กลับถูกผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสนำไปหาประโยชน์โดยไม่ชอบ ซึ่งในหลายครั้งก็กลายเป็นต้นตอของการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง ความน่ากังวลของ “สปายแวร์” ก็เป็นหนึ่งในปัญหาของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปจนกฎเกณฑ์ทางสังคมตามไม่ทัน ในวันที่ 4 สิงหาคม 2565 สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights - OHCHR) จึงได้ออกรายงานยื่นต่อ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council - UNHRC) เกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล เพื่อระบุถึงความท้าทายจากการละเมิดสิทธิในทางไซเบอร์ และให้คำแนะนำต่อรัฐสมาชิกในการรักษาสิทธิมนุษยชนท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
 
รายงานของ OHCHR ให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็น คือ การใช้เครื่องมือเจาะระบบหรือสปายแวร์โดยรัฐ บทบาทของการเข้ารหัส (encryption) ในการปกป้องสิทธิมนุษยชนในโลกออนไลน์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสอดส่องพื้นที่สาธารณะ
 
ในด้านของสปายแวร์นั้น รายงานของ OHCHR กล่าวถึงความอันตรายของใช้เทคโนโลยีเจาะระบบ โดยใช้ “เพกาซัส” เป็นตัวอย่างที่สำคัญ เพกาซัสเป็นสปายแวร์ที่มีศักยภาพสูงในการเจาะระบบโทรศัพท์โดยที่เป้าหมายไม่รู้ตัว โดยเพกาซัสถูกเปิดโปงหลังจากมีเบอร์โทรศัพท์กว่า 50,000 หมายเลขที่คาดว่าเป็นของเป้าหมายที่เพกาซัสโจมตีหลุดออกมา รายงานระบุต่อว่ามีอย่างน้อย 60 รัฐบาลใน 45 ประเทศที่มีเพกาซัสในครอบครอง และมีการใช้สปายแวร์กับเหยื่อที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน แทนที่จะใช้กับอาชญากรหรือผู้ก่อการร้ายอย่างที่ควรจะเป็น
 
การเจาะระบบอุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวนั้นเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวอย่างร้ายแรง และยังเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย หากข้อมูลในโทรศัพท์ถูกสปายแวร์ขโมยไป ก็อาจเป็นการเปิดประตูให้กับผู้ไม่หวังดีในการล่วงรู้ถึงความคิดของเหยื่อ อันเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงเป็นการสร้างผลกระทบทางจิตใจให้กับเจ้าของโทรศัพท์ที่ถูกเจาะระบบ นอกจากนี้ สปายแวร์ยังมีผลกระทบด้านลบต่อเสรีภาพสื่อเนื่องจากเป็นการสร้าง chilling effect ให้คนไม่กล้าที่จะใช้สิทธิของตนเอง ความเสี่ยงนี้ยังกระจายไปถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมที่อาจตกอยู่ในอันตรายหากอุปกรณ์สื่อสารนั้นถูกปรับแต่งข้อมูลจนกลายเป็นหลักฐานปลอมหรือการแบล็คเมล
 
อีกประเด็นหนึ่งที่หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติให้ความสนใจคือการเข้ารหัส ซึ่งได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ การเข้ารหัสทำให้ผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกสอดส่องโดยเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตาม มีรัฐบาลจำนวนหนึ่งที่พยายามจำกัดการเข้าถึงการเข้ารหัสด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงและการปราบปรามอาชญากรรมบางประเภท เช่น การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก แต่หลักฐานที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่ารัฐเหล่านี้ไม่ได้ปฏิบัติอย่างมีเหตุโดยชอบ หรือได้สัดส่วนกับความผิดที่เกิดขึ้น ในทางกลับกัน การจำกัดการเข้าถึงการเข้ารหัสจะเป็นอันตรายต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
ประเด็นสุดท้ายคือการสอดแนมในพื้นที่สาธารณะซึ่งรวมถึงทั้งในพื้นที่ออนไลน์และโลกความเป็นจริง ในปัจจุบัน การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ ใบหน้า ความสนใจ ผ่านเครื่องมือใหม่ ๆ ทำให้การระบุตัวตนสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้มีผลโดยตรงต่อสิทธิมนุษยชนด้านความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออก เนื่องจากทำให้การสอดส่องโดยรัฐทำได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น และมีหลายครั้งที่นำไปสู่การคุกคามหรือจับกุมประชาชนทั้งที่ไม่มีหลักฐานอย่างเพียงพอ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบหลักก็มักจะเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มคนชายขอบ
 
รายงานของ OHCHR ปิดด้วยคำแนะนำต่อรัฐสมาชิกให้ออกมาตรการที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชนท่ามกลางเทคโนโลยีที่กำลังรุดหน้า เช่น รัฐควรจะมีการทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นกับเทคโนโลยีสอดส่องอย่างเป็นระบบ ซึ่งรวมถึงความจำเป็นและความได้สัดส่วนของเทคโนโลยี การฉวยโอกาสนำเทคโนโลยีบางอย่างไปใช้โดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบ นอกจากนี้ รัฐยังควรสร้างความโปร่งใสให้การใช้เทคโนโลยีสอดส่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผ่านองค์กรที่เป็นอิสระ ตรวจสอบได้ และปฏิบัติการกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล และหากมีผู้เสียหายเกิดขึ้น ก็ต้องมีการชดเชยให้อย่างเหมาะสม อีกทั้งต้องมีข้อตกลงห้ามการซื้อขายเทคโนโลยีสอดส่องไม่ว่าจะทั้งในตลาดในประเทศหรือระหว่างประเทศ จนกว่าจะมีการบังคับใช้มาตรการปกป้องสิทธิมนุษยชน
 
หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุเพิ่มเติมว่าการเจาะระบบโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้นควรเป็นหนทางสุดท้าย (last resort) และใช้กับความเสี่ยงร้ายแรงต่อความมั่นคงหรืออาชาญากรรมเท่านั้น โดยจำเป็นต้องมีหน่วยงานอิสระที่คอยควบคุม และต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานตุลาการก่อน
 
รักษาการข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน นาดา อัลนาชีฟ (Nada Al-Nashif) กล่าวในการเสนอรายงานว่า “เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลต่อสังคม แต่การสอดส่องอย่างกว้างขวางก็ต้องแลกมาด้วยการลิดรอนสิทธิและการขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยที่เปี่ยมไปด้วยความหลากหลายและพลวัต กล่าวโดยสรุปแล้ว สิทธิในความเป็นส่วนตัวกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน นั่นจึงเป็นเหตุว่าทำไมเราจึงต้องลงมือทำในตอนนี้”
ชนิดบทความ: