1154 1665 1765 1803 1081 1763 1409 1813 1005 1197 1760 1004 1698 1935 1621 1545 1948 1136 1089 1072 1568 1650 1318 1570 1437 1826 1003 1767 1269 1255 1704 1667 1009 1364 1741 1270 1270 1287 1382 1913 1624 1014 1567 1328 1483 1727 1384 1838 1196 1492 1638 1246 1682 1497 1390 1882 1147 1641 1679 1551 1553 1348 1672 1331 1388 1805 1585 1935 1585 1330 1841 1989 1109 1702 1599 1950 1531 1090 1485 1070 1244 1900 1928 1096 1265 1487 1640 1094 1105 1536 1049 1858 1784 1784 1369 1142 1731 1443 1876 ข้อเท็จจริงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ข้อเท็จจริงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565

 
การใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 บริเวณถนนดินสอ เป็นการใช้อำนาจนอกกฎหมายที่ชัดเจน และเป็นอีกครั้งที่ตอกย้ำว่า รัฐไทยไม่เคยเคารพ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และพร้อมละเมิดทุกกฎกติกาในยามที่ตัดสินใจแล้วว่าจะปฏิบัติการใช้กำลัง
 
31 คนคือตัวเลขอย่างน้อยของผู้ที่บาดเจ็บในการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 หนึ่งในนั้นต้องสูญเสียดวงตาขวาถาวร การชุมนุมดังกล่าวเป็นการแสดงจุดยืนคัดค้านการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่มีอายุ และเดินทางมาจากต่างจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่ทำงานรวมกับภาคประชาสังคมในประเด็นที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกับผู้ชุมนุมแนวร่วมราษฎร
 
2727
 
ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ฝ่ายผู้ชุมนุมไม่ได้คาดหมายและไม่ได้เตรียมการรับมือมาก่อน เนื่องจากข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเคยเป็นประเด็นที่อ่อนไหวมาก ทั้งผู้ชุมนุมแจ้งการชุมนุม ตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ และเจรจาแจ้งแผนการกับตำรวจมาโดยตลอด
 

ใช้อำนาจฉุกเฉินจนเคยตัว หลงลืมขั้นตอนพ.ร.บ.ชุมนุมฯ

 
2735
 
นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 การชุมนุมสาธารณะในประเทศไทยกลับมาอยู่ภายใต้พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558 (พ.ร.บ.ชุมนุมฯ) อีกครั้ง หลังใช้กฎหมายพิเศษ คือ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) มาสองปีครึ่ง และควบคุมการชุนนุมด้วยข้อกำหนดและประกาศเพื่อควบคุมโรคระบาด ซึ่งเปิดช่องให้ฝ่ายตำรวจโดยกว้างขวางสั่งห้ามชุมนุมทุกที่ทุกเวลาโดยอ้างการควบคุมโรค และดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมไปกว่า 1,400 คน
 
เมื่อกลับมาใช้เงื่อนไขการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ อีกครั้ง ผู้ชุมนุมจึงมีหน้าที่ในรายละเอียดมากขึ้น ขณะที่เงื่อนไขการใช้อำนาจของตำรวจก็ถูกจำกัดด้วยเช่นกัน ในการชุมนุมของกลุ่ม “ราษฎรหยุด APEC2022” จึงเป็นความท้าทายสำหรับทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม และตำรวจ ที่จะต้องเอากฎกติกาเดิมมาปัดฝุ่น และใช้ให้ถูกต้อง
 
  • ผู้ชุมนุม - การแจ้งการชุมนุม
 
วันที่ 21 ตุลาคม 2565 ตัวแทนแทนสมัชชาคนจนแจ้งการชุมนุมสาธารณะบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ศาลฎีกาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อผู้กำกับการสถานีตำรวจท้องที่สามแห่งคือ สน.สำราญราษฎร์ นางเลิ้งและชนะสงคราม ต่อมาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ตัวแทนอีกคนหนึ่งทำหนังสือแจ้งใช้สถานที่จัดการชุมนุมสาธารณะต่อผู้อำนวยการเขตพระนครเป็นเวลาสามวัน ตั้งแต่วันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 บริเวณลานคนเมืองหลังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยไม่มีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายสถานที่ชุมนุม วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ตัวแทนสมัชชาคนจนส่งอีเมล์ถึงสน.สำราญราษฎร์ แจ้งรายละเอียดการชุมนุมเพิ่มเติมจากที่เคยแจ้งไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะมีการเดินขบวนจากลานคนเมืองไปยังศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ดังนั้น พื้นที่ที่ผู้ชุมนุมใช้ในการชุมนุมแบบปักหลักแบ่งเป็นสองส่วน คือ ลานคนเมือง แจ้งต่อสำนักงานเขตพระนคร และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ศาลฎีกาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งชุมนุมต่อผู้กำกับการสน.สำราญราษฎร์ นางเลิ้งและชนะสงคราม และส่วนที่สองคือ การเคลื่อนขบวนจากลานคนเมืองไปศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
 
  • ตำรวจ - ห้ามการเดินขบวน
จากปากคำของผู้ที่เกี่ยวข้องระบุว่า ในระหว่างการชุมนุมที่ลานคนเมืองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ตำรวจเข้ามาสืบสวนหาข่าวเกี่ยวกับการเคลื่อนขบวนในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ผู้ชุมนุมจึงแจ้งว่า แจ้งการชุมนุมเพิ่มเติมพร้อมกับเส้นทางการเดินไปแล้ว ตำรวจจึงตอบอีเมล์กลับว่า ไม่อนุญาตให้เคลื่อนขบวนในช่วงเวลาประมาณ 2.00 น. ของวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 วันเกิดเหตุช่วงเช้าผู้ชุมนุมยังคงยืนยันที่จะเคลื่อนขบวนทางถนนดินสอต่อไป ระหว่างการเริ่มเดินผู้กำกับการสน.สำราญราษฎร์อ่านประกาศต่อผู้ชุมนุมอ้างว่า ตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 15 และ 16 ไม่อนุญาตให้เดินไปยังศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ชุมนุมและเพื่อภาพลักษณ์ของประเทศ และขอให้แก้ไขภายในเวลา 9.00 น. ซึ่งมาตรา 15 และ 16 ก็เป็นเพียงมาตราที่กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุมเท่านั้น และไม่มีข้อเท็จจริงใดเป็นเหตุให้สลายการชุมนุมได้ ดังนี้
 
2725
 
การรับผิดชอบให้การชุมนุมเป็นโดยสงบและปราศจากอาวุธภายใต้ขอบเขตรัฐธรรมนูญ
 
พฤติการณ์ก่อนหน้าวันเกิดเหตุผู้ชุมนุมรวมตัวกันอย่างสงบและทำกิจกรรมบริเวณลานคนเมือง เช่น การปราศรัยมีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อตกลงในการประชุมเอเปค การชุมนุมวันแรกเมื่อตำรวจจากสน.สำราญราษฎร์ขอเข้าตั้งจุดตรวจอาวุธบริเวณทางเข้า ผู้ชุมนุมยินยอมให้ตั้งจุดตรวจได้ แต่ขอไม่ให้ตำรวจเข้ามาในพื้นที่การชุมนุม
 
การขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้พื้นที่สาธารณะ
 
การเคลื่อนขบวนของผู้ชุมนุมมีเป้าหมายจะไปถึงศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในเวลา 12.00 น. มีการใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อควบคุมขบวนการชุมนุมและการจัดการ์ดรักษาความปลอดภัย ดังนั้นการกระทำของผู้ชุมนุมจึงมีการวางแผนที่ป้องกันความเดือดร้อนของประชาชนทั่วไป ยังไม่ปรากฏว่าพื้นที่สาธารณะบริเวณใดจะถูกกัดขวางเกินสมควร
 
2736
 
ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ
 
หลังการสลายการชุมนุมตำรวจเปิดเผยในที่ประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนว่า ต้องดูแลเส้นทางเนื่องจากช่วงสายจะมีแขกวีไอพีต่างชาติ และเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินฯ โดยไม่ได้แจ้งกับผู้ชุมนุมเป็นเหตุผลหลักที่ไม่ให้เดินขบวน ทั้งที่ที่ผ่านมามีแนวปฏิบัติที่ดีที่ตำรวจเคยกระทำได้มาก่อนในการรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพการชุมนุมและความปลอดภัยของพระบรมวงศานุวงศ์ คือ การชุมนุมวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ผลคือ การชุมนุมยังคงดำเนินต่อไปได้และการเสด็จพระราชดำเนินฯ ไม่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น จึงไม่อาจสรุปได้ว่าผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่งของตำรวจที่ออกมาโดยระบุเหตุผลถูกต้องแล้ว
 
  • ตำรวจ - การสลายการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
พ.ร.บ.ชุมนุมฯ กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติของตำรวจไว้ว่า หากผู้ชุมนุมไม่ทำตามเงื่อนไขของมาตรา 15 และ 16 ตำรวจจะใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมโดยทันทีไม่ได้ แต่ต้องร้องขอต่อศาลแพ่งก่อน ให้ศาลแพ่งไต่สวนและสั่งให้เลิกการชุมนุมเท่านั้นจึงจะใช้กำลังเข้าจับกุมผู้ชุมนุมได้ การใช้กำลังตำรวจควบคุมฝูงชนและอาวุธเข้าปฏิบัติต่อผู้ชุมนุม โดยไม่มีเหตุที่การชุมนุมจะผิดกฎหมายตามมาตรา 15 และมาตรา 16 และไม่มีการเปิดไต่สวนในศาลแพ่งจึงเป็นการสลายการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 การใช้กำลังเกิดขึ้นสองระลอก คือ ช่วงเวลาประมาณ 10.00 น. ใช้กำลังจับกุมในลักษณะปรามให้ผู้ชุมนุมไม่เดินขบวนฝ่าแนวสิ่งกีดขวางของตำรวจที่ถนนดินสอไป และช่วงเวลาประมาณ 12.30 น. ที่ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรง ทำร้ายร่างกายผู้ชุมนุม กระทืบผู้สื่อข่าวและจับกุมแกนนำ ขณะที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่กำลังนั่งพักกินข้าวอยู่
 
2730
 
2737
 
ในการประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ตัวแทนตำรวจระบุว่า วันดังกล่าวตำรวจไม่ได้สลายการชุมนุม แต่จับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้า และตำรวจไปขอศาลแพ่งให้เปิดการไต่สวนเพื่อพิจารณาว่า จะมีคำสั่งให้เลิกการชุมนุมหรือไม่ ตามขั้นตอนพ.ร.บ.ชุมนุมฯ แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด ศาลนัดหมายในวันถัดไปซึ่งการชุมนุมจบแล้ว ความผิดซึ่งหน้าที่ตำรวจอ้างถึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเช่น มาตรา 215 และ 216 สภาพการบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้ยิ่งตอกย้ำว่า ตำรวจไม่ได้เคารพพ.ร.บ.ชุมนุมฯในฐานะกฎหมายบทหลักในการประกันสิทธิและเสรีภาพของผู้ชุมนุม แต่กลับตีความกฎหมายโดยอำเภอใจเพื่อจะเลือกใช้ความรุนแรงเมื่อใดก็ได้
 
สะท้อนให้เห็นว่า พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ที่สภาแต่งตั้งของคสช.นำโดยพลเอกประยุทธ์ร่างมาเองกับมือเมื่อปี 2558 ไม่อาจนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในทางคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุมตามที่กล่าวอ้างได้เลย
 

ใช้ความรุนแรงต่อร่างกาย ไม่สนหลักสิทธิมนุษยชนสากล

 
แผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะในปัจจุบันถูกปรับปรุงในปี 2563 บทที่หกว่าด้วยการใช้กำลัง เครื่องมือ อุปกรณ์และอาวุธ ระบุว่า ต้องใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นและเหมาะสมกับความรุนแรงของสถานการณ์ ในเบื้องต้นให้ใช้การเจรจา และ ก่อนการใช้กำลัง มาตรการ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ ให้ใช้การเจรจากับผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุมและแจ้งเตือนก่อน “หากสามารถกระทำได้และไม่เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่น” ในหลักพื้นฐานของการควบคุมฝูงชน การใช้รถฉีดน้ำ, กระสุนยางและอาวุธปืนจะต้องแจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบก่อนทุกครั้งก่อนการใช้ และต้องใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก แม้จะมีหลักเกณฑ์ภายในกำกับ แต่ช่วงเวลานับแต่มีแผนฉบับนี้กลับกลายเป็นช่วงแห่งการบ่มเพาะความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมและประชาชน
 
การชุมนุมวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เป็นอีกครั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้กระสุนยางในระดับศีรษะและยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมทั่วไป โดยไม่ได้เลือกเป้าหมายเฉพาะที่ทำอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำในการบังคับใช้กฎหมาย และปืนยิงกระสุนยางถูกหยิบขึ้นมาใช้ทันที โดยอุปกรณ์ที่ความร้ายแรงน้อยกว่าอย่างการฉีดน้ำยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จึงเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ได้ใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอจำนวนมากเป็นหลักฐานที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ตำรวจพยายามใช้อาวุธให้ถูกต้องตามหลักการสากลได้เลย และเป็นอีกครั้งที่กระสุนยางได้สร้างความสูญเสียแก่ผู้ชุมนุม ดังนี้
 
การใช้กำลังระลอกเวลา 10.00 น.
 
เหตุการณ์เริ่มจากผู้ชุมนุมใช้สลิงดึงรถกระบะตำรวจเพื่อเปิดทางเดินต่อสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ทำการแจ้งชุมนุมไว้แล้ว จังหวะนั้นตำรวจผลักดันเข้ามา ใช้โล่และกระสุนยางต่อผู้ชุมนุมโดยไม่แจ้งเตือนก่อน มีผู้บาดเจ็บจากกระสุนยางอย่างน้อยสองคน คือ ผู้ชุมนุมชายถูกยิงที่หลัง และผู้ชุมนุมหญิงที่พยายามยื้อผู้ชุมนุมอีกคนไว้เพื่อไม่ให้ถูกตำรวจดึงถูกยิงเฉี่ยวบริเวณหัวคิ้วด้านซ้าย ช่วงเวลาดังกล่าวมีคลิปวิดีโอยืนยันว่า มีตำรวจอย่างน้อยสามนายใช้ปืนลูกซอง นายแรกจ่อยิงไปทางผู้ชุมนุมที่ล้มลงแต่นึกขึ้นได้ จึงยกปืนขึ้นฟ้าและอีกสองนายประทับปืนที่บ่า แนวระนาบกับพื้นในระดับศีรษะ ขณะที่วิทยา ไชยคำหล้า คณะก่อการล้านนาใหม่ ผู้ถูกจับกุมในช่วงเวลานี้ระบุว่า เขาวิ่งเข้าไปช่วยผู้ชุมนุม ตำรวจนายหนึ่งถือปืนเล็งในระดับศีรษะ ปลายปืนระยะห่างจากศีรษะเขาประมาณสามสี่เมตรและได้ยินเสียงยิงดัง “แป๊ก” แต่กระสุนไม่ออก
 
2728
 
การสลายการชุมนุมระลอกเวลา 12.30 น.
 
เหตุการณ์เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ชุมนุมประกาศพักกินข้าวกลางวัน ระหว่างนี้มีผู้ชุมนุมบางส่วนทำกิจกรรมเผาพริกเผาเกลือในเตาอั้งโล่และวางบนกระโปรงรถกระบะตำรวจ ตำรวจอ้างว่า เป็นการวางเพลิงและมีการขว้างปาสิ่งของใส่กัน ปากคำผู้สังเกตการณ์เห็นว่า ผู้ชุมนุมปาขวดน้ำเข้าไปทางตำรวจ ด้านตำรวจควบคุมฝูงชนปาขวดแก้วสปอนเซอร์และไม้หน้าสาม รวมถึงขวดน้ำกลับมาอย่างต่อเนื่อง ตามด้วยการบุกเข้าสลายการชุมนุมโดยไม่มีการแจ้งเตือน ระบุเพียงว่า จับหน้าแนว ซึ่งเวลานั้นแทบไม่มีกิจกรรมหรือผู้ชุมนุมอยู่หน้าแนวแล้ว
 
2734
 
ตำรวจวิ่งเป็นกลุ่มๆ กระจายเข้าหาผู้ชุมนุมที่กินข้าวกันอยู่ การยิงกระสุนยางเป็นลักษณะการยิงเปิดทาง ยกปืนในระดับศีรษะ มีการปาพลุแฟลร์ ที่บดบังทัศนวิสัยด้วย จึงมีข้อสงสัยถึงความถูกต้องและชัดเจนของเป้าหมายของการยิงกระสุนยาง นอกจากนี้แม้การ์ดผู้ชุมนุมจะยกมือแสดงว่า ยอมแพ้ ตั้งแนวกั้นและขอให้ตำรวจหยุด แต่ตำรวจยังคงเดินหน้าใช้กำลังต่อผู้ชุมนุมเป็นรายบุคคล ตัวอย่างเช่น
 
๐ ณตฤณ ฉอ้อนศรี หรือ เปา จากสมัชชาคนจน เป็นหนึ่งในทีมการ์ดจากสมัชชาคนจนสวมผ้าพันคอสีเขียว สมาชิกการ์ดชุดนี้เป็นผู้ชุมนุมที่มีอายุมากแล้ว หลังตำรวจบุกเข้ามาเปาและการ์ดสมัชชาคนจนยืนตั้งแนวและยกมือโบกให้ตำรวจหยุด ตำรวจยังคงประทับปืนเล็งยิงไปในระดับศีรษะ จากนั้นเดินหน้าเข้าหาทำให้กลุ่มการ์ดแตกแนว เหลือเปาที่ถูกทำร้ายจนล้มลงและถูกจ่อยิงด้วยกระสุนยางที่ช่องท้องเหนือเอว เป็นรอยแผลขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ตำรวจใช้กระบองฟาดที่หน้าของการ์ดสูงอายุของสมัชชาคนจน ทั้งนี้จากการตรวจสอบภาพถ่ายพบว่า ตำรวจที่วิ่งเข้าทำร้ายผู้ชุมนุมบางส่วนใช้ดิ้ว หรือกระบองเหล็กยืดหดได้ ไม่ใช่กระบองยางอย่างที่เคยใช้ในการชุมนุมครั้งก่อนๆ
 
2733
 
๐ พายุ บุญโสภณ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน พายุเป็นหนึ่งในทีมการ์ดกลางของผู้ชุมนุม การ์ดกลุ่มนี้อยู่แถวหน้าสุด ไม่มีผ้าพันคอสีเขียว สมาชิกการ์ดชุดนี้เป็นผู้ชุมนุมรุ่นหนุ่มสาว จากการตรวจสอบภาพและวิดีโอ พายุถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่ตาขวาตั้งแต่นาทีแรกที่ตำรวจเดินหน้าสลายการชุมนุม หลังจากการปฐมพยาบาลในที่ชุมนุมแล้วพายุถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ ปัจจุบันจักษุแพทย์ลงความเห็นว่า ตาด้านขวาของพายุไม่สามารถมองเห็นได้อีก
 
2726
 
๐ ผู้ชุมนุมชายจากฝ่ายกิจกรรม ทำหน้าที่ตีกลอง ถูกยิงด้วยกระสุนยางที่แขนขวาด้านหลังระหว่างวิ่งหลบการใช้กำลังของตำรวจควบคุมฝูงชน เขาเล่าว่า “จังหวะที่มันเกิดการสลาย คือเจ้าหน้าที่วิ่งเข้ามา เราเห็น...ไม่ได้เห็นชัดมาก วิ่งออกมาพักหนึ่ง น่าจะใกล้บริเวณรถ เจ้าหน้าที่น่าจะมาอยู่ด้านหน้าของรถแล้ว แล้วก็มีขวดสปอนเซอร์ปาออกมาจากฝั่งนู้น [ตำรวจ] ความรู้สึกตอนนั้นเหมือนเราได้ยินเสียงกระสุน แต่เราไม่แน่ใจว่า มันมาทางไหน แต่ว่า รู้สึกได้ว่า มีแรงกระแทกที่ถัง จังหวะนั้นเราถือไว้ประมาณนี้ [ระดับศีรษะ] รู้สึกไม่ปลอดภัยมาก จังหวะนั้นรู้สึก เห้ย! มันจะฆ่ากูป่ะวะ ก็เลยหันวิ่ง ถังอยู่ในมือ รู้สึกได้ว่า โดนแล้ว แต่ไม่เจ็บมากเพราะคิดว่า น่าจะตื่นเต้นอยู่ หลังจากนั้นมาดูเป็นรอยสะเก็ด น่าจะเป็นรอยระเบิดที่กระทบพอดี จังหวะนั้นตำรวจอยู่หน้ารถไม่ไกลจากที่เรายืนอยู่”
 
2729
 
เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ระหว่างปี 2563-2564 มีรายงานตำรวจใช้กระสุนยางเพื่อสลายการชุมนุมจนเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมและประชาชนบาดเจ็บอย่างน้อย 106 กรณี มีผู้สูญเสียการมองเห็นคือ ธนกร ผ่านพินิจ และมีคนต้องเสียชีวิตหลังจากนอนติดเตียงกว่าครึ่งปีจากกระสุนยางคือ มานะ หงษ์ทอง ยังไม่นับรวมกรณีของธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือ ลูกนัทถูกสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพยานระบุว่า เป็นการถูกกระแทกจาหตัวนำแก๊สน้ำตาแบบโลหะ
 

“พวกกูนี่ ของจริง” คุมสติไม่อยู่ ชวนตีนักข่าว

 
การใช้กำลังในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ทั้งสองระลอกตำรวจจัดกำลังต่างกัน คือ ระลอกเวลาประมาณ 10.00 น. ใช้ตำรวจนครบาลชุดที่เกณฑ์กำลังพลมาจากสถานีตำรวจต่างๆ และระลอกเวลาประมาณ 12.30 น. ใช้กำลังจากกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนที่เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาสำหรับการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ และการควบคุมฝูงชน ซึ่งคาดหมายได้ว่า กองกำลังที่มีภารกิจเฉพาะน่าจะผ่านการฝึกอบรมขั้นตอนปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างเป็นมืออาชีพมากกว่า แต่สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า ตำรวจระดับปฏิบัติจากทั้งสองหน่วยงานมีแนวทางปฏิบัติและการควบคุมอารมณ์ที่ไม่ต่างกัน มีการขว้างปาสิ่งของราวกับเป็นกองกำลังขั้วตรงข้ามกับผู้ชุมนุม และใช้อาวุธโดยไม่คำนึงถึงหลักสากล การปฏิบัติอต่อผู้สื่อข่าวในพื้นที่การชุมนุม ตำรวจยังมีพฤติการณ์ยั่วยุ ทำร้ายร่างกายผู้สื่อข่าว อ้างตัวเป็น “ของจริง” แต่ไม่เปิดเผยอัตลักษณ์ ในเหตุการณ์วันดังกล่าวมีผู้ทำงานสื่อได้รับบาดเจ็บจากการใช้กำลังของตำรวจอย่างน้อยห้าคน
 
2732
 
จากปากคำช่างภาพของ The Matter เล่าว่า ช่วงเวลา 10.08 น. เขาข้ามไปยังฟุตบาทฝั่งบ้านดินสอ บริเวณนี้มีสื่อมวลชนรวมกันประมาณสี่คน จู่ๆ ตำรวจบริเวณนี้เข้ามาใช้กระบองตีที่สื่อสามคน คือ ที่หมวกของแอดมินนินจาเพจ Live Real ที่แว่นและกล้องของผู้สื่อข่าว Top news และตีเฉี่ยวแขนของช่างภาพ Spacebar จากนั้นจึงตีเข้าที่ต้นแขนและมือของเขา ทั้งพยายามดึงมือเขา มีท่าทีจะลากเข้าไปในแนวตำรวจ แต่มีช่างภาพคนอื่นเห็นจึงช่วยดึงออกมา ประกอบปากคำของช่างภาพ Spacebar เล่าว่า หลังจากนั้นเขาและช่างภาพ The Matter ถอยไปอยู่รวมกับกลุ่มสื่อบริเวณหน้าแนวตำรวจ แต่ตำรวจนายดังกล่าวยังชี้หน้าและกวักมือเรียกมายังบริเวณที่สื่อยืนอยู่อีกหลายครั้ง พร้อมตะโกนท้าทาย ด้วยถ้อยคำ เช่น “มึงเข้ามาดิ” “มึงมาเอากับกูดิ” จนผู้บังคับบัญชาเข้ามาห้าม ทั้งสองรับว่า ไม่ได้ใส่ปลอกแขนสื่อหรือห้อยป้าย โดยถือกล้องที่ใช้สำหรับการทำงานอย่างชัดเจน แต่สังเกตเห็นสื่อช่อง Top news ใส่ปลอกแขนและมีป้ายครบ
 
ระหว่างการสลายการชุมนุมเวลาประมาณ 12.30 น. สุทธิพัฒน์ กนิษฐ์กุล ผู้สื่อข่าว The Matter ถ่ายไลฟ์สถานการณ์และเห็นว่า การ์ดสมัชชาคนจนนอนอยู่ในวงล้อมของตำรวจควบคุมฝูงชนจึงพยายามเข้าไปถ่ายภาพใกล้ๆ จากนั้นตำรวจควบคุมฝูงชนเดินเข้ามาหาเขา ผู้สื่อข่าวพยายามแจ้งว่า เขาเป็นสื่อ แต่ตำรวจยังคงถือเขาประชิดตัวเขา จากนั้นผู้สื่อข่าวล้มลงและมีการเตะซ้ำๆ ผู้สื่อข่าวขอว่า พอแล้ว มีเสียงว่า “....พวกกูนี่ของจริง มึงจำไว้ บอกเพื่อนพี่น้องมึง...มึงจำไว้” ภาพเวลานั้นเป็นมุมจากพื้นที่ที่มีตำรวจเดินข้ามกล้องโทรศัพท์ที่กำลังไลฟ์อยู่ไปมา เขาโพสต์เฟซบุ๊กอธิบายเหตุการณ์ว่า เขาล้มลงเนื่องจากถูกกระบองยางฟาดจากมุมอับสายตาบริเวณกกหูด้านขวา เมื่อล้มลงมีการกระทืบเข้าที่ศีรษะไม่น้อยกว่าสิบครั้งระหว่างนี้เขาแจ้งตลอดว่า เขาเป็นสื่อที่มีปลอกแขนสื่อชัดเจน
 
เวลาไล่เลี่ยกันมีเหตุการณ์การทำร้ายร่างกายวรัญญู คงสถิตย์ธรรม ผู้สื่อข่าวจาก The Isaan Record ตำรวจดึงผู้สื่อข่าวออกจากทางเท้า จากนั้นตำรวจประมาณ 4-5 นายเข้ามารุมเตะนานกว่าสิบวินาที มีการเตะที่ชายโครง ตีศีรษะจนศีรษะแตก ล็อคคอจนหายใจไม่ออก และใช้เท้ากระทืบแว่นสายตาจนเสียหาย จากนั้นล็อคแขนและกดศีรษะลงกับพื้น ลากไปตามถนนจนถึงรถคุมขัง ระหว่างการสลายการชุมนุมตำรวจพยายามสกัดไม่ให้ผู้สื่อข่าวหรือผู้ชุมนุมเก็บภาพเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วย
 

ผู้บาดเจ็บระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565

 
จากการสังเกตการณ์และการสืบสวนข้อเท็จจริงพิ่มเติมมีผู้ชุมนุมอย่างน้อย 31 คนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เท่าที่ทราบมีหกคนถูกยิงด้วยกระสุนยาง ไม่ได้เป็นผู้ใช้ความรุนแรงหรือก่อภยันตรายต่อตำรวจ อีกหลายคนถูกกระทืบ ใช้กำลังและกระบองตี
 
ต่อมาพล.ต.ท.สราวุฒิ การพานิช ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวระหว่างการพูดคุยกับตัวแทนผู้ชุมนุมจากทะลุฟ้าเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ว่า ขณะนี้ไม่ใช่เฉพาะผู้ชุมนุมสูญเสีย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้รับบาดเจ็บ 14 นาย และก็มีอีกหนึ่งนายได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาเหมือนกัน โดยระบุว่า ถูกน้ำมันก๊าดจากผู้ชุมนุมสาดเข้าตา และกล่าวทำนองว่า เหตุการณ์ที่ลุกลามเป็นเหตุให้สลายการชุมนุม เป็นเหตุจากการที่ผู้ชุมนุมไม่เดินตามเส้นทางที่ตกลงไว้ ซึ่งข้อเท็จจริงจากผู้ชุมนุมแย้งว่า ไม่เคยตกลงเคลื่อนขบวนผ่านถนนบำรุงเมือง แต่เป็นการเสนอของตำรวจที่พยายามจะให้ผู้ชุมนุมเดินไปทางดังกล่าวเท่านั้น
 
อย่างไรก็ตามการอ้างว่า การที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บไม่ใช่เป็นเหตุของใช้กำลังสลายการชุมนุม การปฏิบัติที่ขัดกับหลักการใช้กำลังและนำมาใช้เหมารวมกระทำความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมที่ชุมนุมอย่างสงบได้ ซึ่งเป็นไปตามตามข้อ 17 ของความเห็นทั่วไปฉบับที่ 37 ของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งอธิบายความโดยละเอียดของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ระบุว่า การกระทำรุนแรงเฉพาะตัวของผู้ชุมนุมบางคนไม่สมควรจะถูกนำไปเหมารวมเป็นการกระทำของผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ ของผู้จัดการชุมนุม หรือของการชุมนุมโดยรวม
 
การบาดเจ็บของผู้ชุมนุมและผู้สื่อข่าว
 
  1. ไนซ์ ผู้ชุมนุมหญิงถูกตีที่ศีรษะและขา

    รายงานจากประชาไทระบุว่า ไนซ์ เยาวชนอายุ 17 ปี จากกลุ่มราษฎร ‘โขงชีมูน’ และทำหน้าที่การ์ดของขบวน เธอระบุว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นตอนที่การ์ดพยายามเข้าไปผลักรถเคลื่อนที่เร็วที่ขวางอยู่ จากนั้นตำรวจควบคุมฝูงชนบุกเข้ามา และทำให้แถวของการ์ดแตกจนเสียหลักล้มลง ตำรวจฉุดประชาชนคนไหนได้ก็ไปฉุด “ก็มีการฉุดเราไป และก็มีการกระทืบตรงหัวด้านขวา กระทืบแบบทั่ว และพยายามให้เราหันหน้าขึ้นมา ก็เห็นตีนประมาณเจ็ด แปดคู่ กำลังกระทืบอยู่ แล้วเขาก็อยู่ๆ เขาก็ตะโกน เฮ้ย ผู้หญิงนี่หว่า ไม่จับผู้หญิง ไม่เอาๆ และทีนี้เขาก็เขี่ยเราออกมา ใช้เท้าเขี่ยเราออกมา ตอนนั้นเสื้อมันขาดจนมันเห็นหน้าอก เขาก็แบบไม่เอาผู้หญิง”

  2. เป้ ผู้ชุมนุมถูกปาด้วยก้อนหิน

    รายงานจากประชาไทระบุว่า เขาเป็นการ์ดโดยยืนอยู่บริเวณด้านขวาหน้าขบวน จากนั้น เกิดเหตุการณ์การ์ดมีการปะทะคารมกับตำรวจควบคุมฝูงชนเป้เลยปาถุงฉี่ที่เตรียมไปใส่ตำรวจ แต่ตำรวจกลับปาหินจำนวนมากใส่ทางประชาชน

     

  3. ผู้ชุมนุมชายถูกยิงด้วยกระสุนยาง

     

  4. ผู้ชุมนุมชายเป็นลม

     

  5. นักกิจกรรมถูกยิงด้วยกระสุนยางบริเวณหัวคิ้วซ้าย

     

  6. ผู้สื่อข่าวประชาไทถูกตีนิ้วแตก

  7. ช่างภาพ Matter ถูกตำรวจตีที่ต้นแขนและมือ

  8. ช่างภาพ Spacebar ถูกตำรวจตีเฉี่ยวแขน

     

ข้อเท็จจริงของผู้บาดเจ็บลำดับที่ 7 และ 8

จากปากคำช่างภาพ The Matter เล่าว่า ช่วงเวลา 10.08 น. เขาข้ามไปยังฟุตบาทฝั่งบ้านดินสอ บริเวณนี้มีสื่อมวลชนรวมกันประมาณสี่คน จู่ ๆ ตำรวจบริเวณนี้เข้ามาใช้กระบองตีที่สื่อสามคน คือ ที่หมวกของแอดมินนินจา ที่แว่นและกล้องของ Top news และตีเฉี่ยวแขนของช่างภาพ Spacebar จากนั้นจึงตีเข้าที่ต้นแขนและมือของเขา จากนั้นตำรวจพยายามดึงมือเขา มีท่าทีจะลากเข้าไปในแนวตำรวจ แต่มีช่างภาพคนอื่นเห็นจึงช่วยดึงออกมา  ประกอบปากคำของช่างภาพ Spacebar เล่าว่า หลังจากนั้นเขาและช่างภาพ The Matter เลยถอยไปอยู่รวมกับกลุ่มสื่อบริเวณหน้าแนวตำรวจ แต่ตำรวจนายดังกล่าวยังชี้หน้าและกวักมือเรียกยังบริเวณสื่อหลายครั้ง พร้อมตะโกนท้าทาย ถ้อยคำเช่น “มึงเข้ามาดิ”  “มึงมาเอากับกูดิ” จนหัวหน้าคฝ.เข้ามาห้ามเจ้าหน้าที่คนนั้น  ทั้งสองรับว่า ไม่ได้ใส่ปลอกแขนสื่อหรือห้อยป้าย แต่สังเกตเห็นสื่อช่อง Top news ใส่ปลอกแขนและมีป้ายครบ

หมายเหตุ ไม่นับรวมเป็นบาดเจ็บอีกสองคน คือ แอดมินนินจาถูกตำรวจควบคุมฝูงชนตีที่หมวกและผู้สื่อข่าว Top news ถูกตีที่แว่นและกล้อง

  1. พระรูปหนึ่งถูกตำรวจเตะเข้าที่ลำตัวหลายครั้ง

     

  2. พายุ บุญโสภณถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่ตาขวา

     

  3. ชาลินี ถิระสุภะ ช่างภาพรอยเตอร์ถูกสะเก็ดขวดแก้วจากแนวตำรวจเข้าที่ตาด้านขวา

  4. สุทธิพัฒน์ กนิษฐ์กุล ผู้สื่อข่าว The Matter ถูกตำรวจทำร้ายร่างกายระหว่างการทำข่าวช่วงการสลายการชุมนุม ผู้สื่อข่าว The Matter ถูกทำร้ายระหว่างการไลฟ์ ระหว่างการสลายการชุมนุมเวลา 12.30 น. ผู้สื่อข่าวไลฟ์สถานการณ์และเห็นว่า เปา สมัชชาคนจนนอนอยู่ในวงล้อมของตำรวจควบคุมฝูงชนจึงพยายามเข้าไปไลฟ์ จากนั้นตำรวจควบคุมฝูงชนเดินเข้ามาหาเขา ผู้สื่อข่าวพยายามแจ้งว่า เขาเป็นสื่อ แต่ตำรวจยังคงถือเขาประชิดตัวเขา จากนั้นผู้สื่อข่าวล้มลงและมีการเตะซ้ำๆ ผู้สื่อข่าวขอว่า พอแล้ว มีเสียงว่า “....พวกกูนี่ของจริง มึงจำไว้ บอกเพื่อนพี่น้องมึง...มึงจำไว้” ภาพเวลานั้นเป็นมุมจากพื้นที่มีตำรวจเดินข้ามกล้องโทรศัพท์ที่กำลังไลฟ์อยู่ไปมา เขาโพสต์เฟซบุ๊กอธิบายเหตุการณ์ว่า เขาล้มลงเนื่องจากถูกกระบองยางฟาดจากมุมอับสายตาบริเวณกกหูด้านขวา เมื่อล้มลงมีการกระทืบเข้าที่ศีรษะไม่น้อยกว่าสิบครั้งระหว่างนี้เขาแจ้งตลอดว่า เขาเป็นสื่อที่มีปลอกแขนสื่อชัดเจน

  5. วรัญญู คงสถิตย์ธรรม ผู้สื่อข่าวจาก The Isaan Record ถูกทำร้าย

  6. ‘ฟลัวร์’ เขาเล่าว่า ตอนที่ตำรวจควบคุมฝูงชนจับกุมจะใช้ประมาณ “สิบคนต่อผู้ชุมนุมหนึ่งคน” ตำรวจจะลากให้ล้มและรุมกระทืบเรา “ตัวเราก็งอเพราะโดนพวกไม้กระบองฟาด โชคดีที่ตัวผมไม่มีแผลเพราะสะพายกระเป๋าไว้ โดนตีแต่ไม่ช้ำ แต่ก็ปวดและเจ็บลำตัวส่วนที่โดนเตะ แต่ส่วนที่หนักสุดคือบริเวณใบหน้า เขาเตะเข้าหน้าผมจนล้มแล้วก็ลากไป กระทืบหน้า แล้วก็พูดแบบเหมือนเกลียดชังเหมือนจะฆ่าเราได้” คำพูดที่แสดงความเป็นปฏิปักษ์เช่น “มึงเก๋านักหรอ” “อยากตายนักใช่ไหม” และ “มาดิๆ มึงโดนแล้วนี่ไง”

     

  7. คิม เขาเล่าว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาประมาณ 10.00 น. หลังมีการใช้สลิงดึงรถกระบะเคลื่อนที่เร็วของตำรวจ ตอนนั้นเขายืนอยู่ฝั่งโรงแรมดินสอมนต์และได้ยินเสียงตำรวจประกาศว่า ให้จับได้เลย จากนั้นมีตำรวจควบคุมฝูงชนมาจับกุมและทำร้ายด้วยกระบองยางและการกระทืบ ตอนแรกเขาจะหนี ทำทีบอกว่า ผมเจ็บขาผมลุกไม่ได้ จากนั้นตำรวจหน่วยที่ถือปืนถือมาจ่อหัวผม ผมก็บอกว่า “พี่...ยอมแล้ว ผมพอแล้ว” ผมนอนอยู่กับพื้นแล้วมันก็เล็งมาด้านล่าง แล้วผมก็โดนอุ้มไป เขาบอกว่า “ระหว่างทางที่อุ้มไปที่รถคุมขังก็มีหลายคนวิ่งมาจอยเนอะ คือ คฝ.วิ่งมาตีก็ได้ยินทำนองว่า ‘มึงแจ๋วเหรอ มึงปากเก่งเหรอ?’ มีตำรวจที่คุมผมไป แล้วก็มีพวกที่ไม่ได้คุมผมวิ่งมาต่อยนะ มีกระบองด้วย ใครถนัดอันไหนตอนวิ่งผ่านก็ใช้อันนั้นแหละ”

  8. วิทยา ไชยคำหล้า

  9. ณตฤณ ฉอ้อนศรี สมัชชาคนจนถูกเตะที่หว่างขาและจ่อยิงด้วยกระสุนยางที่ช่องท้องส่วนบน

  10. ผู้ชุมนุมชายบาดเจ็บที่กกหู

  11. ผู้ชุมนุมชายถูกยิงด้วยกระสุนยางที่ต้นแขนด้านขวา ขณะพยายามวิ่งหลบสิ่งของที่ตำรวจปามาระหว่างการสลายการชุมนุมรอบที่สอง

     

  12. ผู้ชุมนุมหญิงถูกบุคคลไม่ทราบฝ่ายผลักล้ม จนเข่ากระแทกพื้นอย่างแรง

     

  13. ผู้ชุมนุมชายถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่สะโพก

     

  14. ผู้ชุมนุมหญิงถูกสารเคมีแสบร้อนที่หลัง

     

  15. - 30. ผู้ถูกจับกุมรายอื่นๆ

  1.  

    ผู้สังเกตการณ์พบหญิงเป็นลมที่บริเวณร้านหนังสือริมขอบฟ้า ต่อมา The Reporters รายงานว่า เป็นประชาชนที่อาศัยในละแวกนี้