รวม 8 สส. เข้าสภาพร้อมบ่วงคดี “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” เครื่องมือคุมม็อบในยุคโควิด-19

สถานการณ์ประเทศไทยในปี 2563 – 2565 ตกอยู่ภายใต้การระบาดของโรคโควิด 19 ที่กระทบไปทุกภาคส่วนทำให้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ถูกนำมาใช้เพื่อรับมือควบคุมภัยโรคระบาดร้ายแรงไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 ในขณะเดียวกันช่วงเวลาดังกล่าวยังเกิดการชุมนุมขับไล่รัฐบาลอย่างกว้างขวาง ทำให้กฎหมายนี้ถูกนำมาใช้กล่าวหาดำเนินคดีกับประชาชนที่ร่วมชุมนุมทางการเมืองด้วย แม้ต่อมาสถานการณ์โรคระบาดจะเริ่มควบคุมได้ แต่การดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมกลับไม่เบาตาม 
แม้ว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะถูกยกเลิกแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 แต่ไม่ได้เป็นผลให้การดำเนินคดีอาญาที่สืบเนื่องมาจากการฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโรคโควิดของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สิ้นสุดไปด้วย คดีของผู้ชุมนุมทางการเมืองยังคงเดินตามขั้นตอนต่อไปเรื่อยๆ จนถึงกลางปี 2566 ผู้ชุมนุมบางส่วนซึ่งเป็นที่รู้จักในวงกว้างและมีบทบาทออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนบทบาทเข้าสู่สนามการเมืองระดับประเทศสวมบทบาทใหม่กลายเป็น “ผู้แทนราษฎร” ชุดที่ 26 แต่ก็ยังพ่วงด้วยคดีในอดีตเหล่านี้อยู่ 
ชวนดูสถิติจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ชุดที่ 26 ที่เคยถูกดำเนินคดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในช่วงปี 2563 – 2565 ว่ามีใครกันบ้างและคดีความของพวกเขามีกี่คดีและเป็นอย่างไร
7 สส.พรรคก้าวไกลรวม 37 คดี สส.เพื่อไทยหนึ่งเดียวรับจบ 9 คดี เหตุร่วมชุมนุมไล่ประยุทธ์
 
น.พ.ทศพร เสรีรักษ์ สส.จังหวัดแพร่ พรรคเพื่อไทย นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ในช่วงการชุมนุมปี 2563 ปรากฎตัวในหลายบทบาททั้งในฐานะผู้สังเกตการณ์ร่วมกับคณะทำงานของพรรคเพื่อไทย ไปจนถึงเป็นหนึ่งในผู้ชุมนุม และผู้ที่คอยดูแลผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บในฐานะแพทย์อาสา โดยน.พ.ทศพร ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 9 คดี คดีสิ้นสุดแล้ว 4 คดี (ยกฟ้อง 1 คดี ลงโทษปรับ 2 คดี รอการกำหนดโทษ 1 คดี) คดีที่ปรากฎข้อมูล มีดังนี้
นอกจากจะมีคดีติดตัวหลายคดีแล้ว น.พ.ทศพร ยังเป็น “คนแรกๆ” ที่ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการทำกิจกรรมทางการเมือง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ก่อนที่ข้อหานี้จะกลายเป็นข้อหา “หว่านแห” สำหรับการชุมนุมต่อจากนั้นอีกหลายร้อยครั้ง
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ ความเคลื่อนไหวของคดี
คดีกิจกรรมรำลึกครบรอบ 10 ปี สลายการชุมนุมเสื้อแดง บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ
19 พฤษภาคม 2563 จัดกิจกรรมร่วมกับ  อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ (ฟอร์ด เส้นทางสีแดง) บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ  เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนเพราะโควิด
9 สิงหาคม 2565 ศาลแขวงปทุมวันพิพากษามีความผิด โดยเห็นว่าประกาศฯ ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกโดยชอบแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นความผิด แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดด้วยจึงให้รอการกำหนดโทษสองปี
คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากกรณีการชุมนุมที่แยกปทุมวัน 16 ตุลาคม 2563
ร่วมชุมนุมในฐานะแพทย์อาสา
19 ต.ค.2563 ศาลแขวงปทุมวันอนุญาตให้ประกันตัว โดยให้ทำสัญญาประกัน 20,000 บาท ว่าจะไม่กระทำการในลักษณะที่ถูกดำเนินคดีอีก และให้มารายงานตัวเมื่อถูกเรียก 
คดีชุมนุมที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2563 หรือ #ม็อบ17ตุลา
ร่วมชุมนุมและขึ้นปราศรัยบริเวณหน้ายูเนียนมอล์ 30 พฤศจิกายน 2563 น.พ.ทศพร รับทราบข้อกล่าวหา และยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด
คดีชุมนุมหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 #ม็อบ19ตุลา เข้าไปในที่ชุมนุมในฐานะแพทย์อาสา และสมาชิกคณะทำงานของ กมธ. ของสภาฯ โดยขึ้นกล่าวให้กำลังใจสั้นๆ และพูดถึงมาตรการป้องกันโควิด-19 บริเวณหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ศาลยกฟ้อง วินิจฉัยว่าการร่วมกลุ่มกันหน้าเรือนจำของจำเลยและประชาชนกว่า 300 คน เป็นเพียงการรอให้กำลังใจผู้ต้องขังคดีการเมืองเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติที่สามารถกระทำได้
คดีชุมนุม#ม็อบ19ตุลา บริเวณสี่แยกเกษตรศาสตร์ ปฏิบัติหน้าที่แพทย์อาสาที่บริเวณแยกเกษตรและให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนให้รายละเอียดเกี่ยวกับการชุมนุม  ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกคนละ 1 เดือน ปรับคนละ 14,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้
คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563  ร่วมชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเดินเท้ามุ่งหน้าไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่น “จดหมายลาออกของนายกฯ”  ศาลพิพากษาลงโทษปรับเนื่องจากให้การรับสารภาพ 
คดีกิจกรรม “อยู่เป็นเพื่อน ย้ำเตือนความยุติธรรม” เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564  ร่วมกิจกรรมชุมนุมเคาท์ดาวน์ “ปล่อยเพื่อนเรา” ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด
ชลธิชา แจ้งเร็ว สส.จังหวัดปทุมธานี พรรคก้าวไกล นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมร่วมก่อตั้งกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ยุคหลังรัฐประหาร 2557 ในช่วงการชุมนุมปี 2563 ชลธิชา ออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องหลากหลายบทบาททั้ง “ผู้อำนวยความสะดวก” ให้แก่ผู้ชุมนุม ควบคู่กับการรับบท “ผู้เจรจา” กับตำรวจเพื่อเปิดทาง-เปิดพื้นที่การชุมนุมประท้วง โดยชลธิชา ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 15 คดี สิ้นสุดไปแล้ว 11 คดี  (สั่งไม่ฟ้อง 2 คดี ยกฟ้อง 9 คดี) คดีที่ปรากฎข้อมูล มีดังนี้
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ ความเคลื่อนไหวของคดี
คดีชุมนุม “เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย” (ม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์) ที่บริเวณทางเท้าหน้าร้านแมคโดนัลด์ สาขาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 เป็นผู้จัดการชุมนุม  โดยเนื้อหาของการชุมนุมเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ได้แก่ หยุดคุกคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา  ศาลยกฟ้องข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ แต่ปรับคนละ 200 บาท ข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
#ม็อบประชาชนปลดแอก ที่บริเวนถนนราชดำเนินกลาง รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563  เป็นผู้จัดการชุมนุมและเจรจากับเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าร่วมชุมนุม โดยเนื้อหาของการชุมนุมมีหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจารณ์รัฐบาล การสืมทอดอำนาจคสช. และอื่นๆ  
ศาลยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา โดยเห็นว่าการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องเป็นไปเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 ไม่ใช่เพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมหรือการชุมนุมอย่างไร้เหตุผล โดยในระดับการป้องกันโควิด ในพื้นที่ชุมนุมขณะเกิดเหตุนั้น เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ยังไม่ถึงขนาดเสี่ยงต่อการแพร่โรค และสถานการณ์ติดเชื้อในขณะนั้นก็เป็นศูนย์
คดีจัดกิจกรรม “กวี ดนตรี ปลดแอกแหวกหาคนหาย” รำลึกถึงผู้สูญหายหน้าอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2563 
เป็นผู้แจ้งการชุมนุม ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มศิลปินกวีปลดแอก “กวี ดนตรี ปลดแอก แหวกหา คนหาย ร่วมรำลึกเหตุการณ์ทางการเมือง” ระหว่างการจัดกิจกรรม มีผู้ชุมนุมผลัดกันปราศรัยโจมตีรัฐบาล และสลับเล่นดนตรี 
ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าสถานที่ชุมนุมเป็นสถานที่แออัด การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่การทำกิจกรรม ชุมนุมมั่วสุม ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัด แต่ปรับ 200 บาท ข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
คดีม็อบ #ไปสภาไล่ขี้ข้าศักดินา บริเวณด้านหน้าของรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 เป็นผู้จัดการชุมนุมเรียกร้องให้สภาเปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในทุกหมวด, การลดอำนาจ สว. และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าสถานที่ชุมนุมเป็นสถานที่เปิดโล่ง ขณะนั้นสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่รุนแรง ไม่ปรากฎว่าจำเลยจัดชุมนุมที่มีลักษณะมั่วสุม หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือไม่
คดีชุมนุม “คณะราษฎรอีสาน” บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2563 เข้าร่วมชุมนุมโดยไม่ได้มีการปราศรัยใดๆ อัยการสั่งไม่ฟ้อง โดยเห็นว่า ไม่ปรากฏว่ามีผู้ชุมนุมอยู่หนาแน่นตลอดพื้นที่ อันเสี่ยงต่อการใกล้ชิดสัมผัสและแพร่เชื้อโรค ไม่มีความรุนแรง
คดีชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 63 หรือ #ม็อบ18ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย ร่วมชุมนุมและให้สัมภาษณ์สื่อเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำที่ถูกคุมขัง รวมทั้งยืนยันข้อเสนอ 3 ข้อของการเคลื่อนไหว ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าการเข้าร่วมชุมนุมและให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน เป็นการเข้าร่วมชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การชุมนุมมั่วสุม
คดีชุมนุม #ม็อบ14ตุลา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 63 ร่วมชุมนุม เพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ได้แก่ 1. ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก 2. เปิดประชุมวิสามัญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 4 มกราคม 2564 รับทราบข้อกล่าวหา และยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
คดีชุมนุมหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 #ม็อบ19ตุลา เป็นผู้จัดกิจกรรมและปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียงให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมทั้ง 19 คน และขอให้นายกรัฐมนตรีลาออก ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าการรวมกลุ่มกันหน้าเรือนจำของจำเลยและประชาชนกว่า 300 คน เป็นเพียงการรอให้กำลังใจผู้ต้องขังคดีการเมืองเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติที่สามารถกระทำได้
คดีม็อบ20ตุลา หน้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ร่วมชุมนุมและเคลื่อนขบวนไปยังหน้าทําเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์  ศาลยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา โดยเห็นว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินต้องไม่นำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องเป็นไปเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ไม่ใช่เพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมหรือการชุมนุมอย่างไร้เหตุผล และสถานที่เกิดเหตุเปิดโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก จึงไม่น่ามีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคระบาด
คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย  เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ร่วมชุมนุมเพื่อติดตามการพิจารณาลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ รวมถึงร่างฉบับประชาชน ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าเป็นการใช้สิทธิในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ ไม่ถึงขนาดฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 
คดี #ม็อบ17พฤศจิกา ที่หน้ารัฐสภา เกียกกาย  เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563  ร่วมชุมนุมเพื่อติดตามการพิจารณาลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ รวมถึงร่างฉบับประชาชน อัยการสั่งไม่ฟ้อง โดยเห็นว่าไม่ใช้ผู้จัดการชุมนุม และไม่ปรากฏว่ามีผู้ชุมนุมอยู่หนาแน่นตลอดพื้นที่ อันเสี่ยงต่อการใกล้ชิดสัมผัสและแพร่เชื้อโรค อีกทั้งไม่ปรากฎว่ายุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
คดีกิจกรรม #ขยะในพระปรมาภิไธย หรือ #ม็อบ6มีนา ในวันที่ 6 มีนาคม 2564 บริเวณหน้าศาลอาญา รัชดาฯ ร่วมชุมนุมทำกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยตัว4 แกนนำราษฎรซึ่งไม่ได้รับการประกันตัว  ศาลยกฟ้อง เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยเข้าร่วมชุมนุม
คดี #ม็อบ18กรกฎา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564  ร่วมชุมนุมปราศรัยและแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อไล่ พล.อ.ประยุทธ์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
คดีคาร์ม็อบ 11 กันยา ที่ด้านหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564  ร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบ (Car Mob) จากหน้าห้างฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ไปยังศาลจังหวัดธัญบุรี และปราศรัยย้ำข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และประเด็นงบประมาณของสถาบันกษัตริย์ฯ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
ปิยรัฐ จงเทพ สส.กรุงเทพมหานคร เขตที่ 23 นักกิจกรรมการเมืองและอดีตผอ.กองงานมวลชนอาสา (Wevolunteer) ในช่วงปี 2563 มักปรากฎตัวในฐานะแนวหน้า หัวหน้าการ์ดม็อบโดยปิยรัฐ ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 12 คดี สิ้นสุดไปแล้ว 3 คดี (ยกฟ้อง 1 ลงโทษปรับ 2 ) คดีที่ปรากฎข้อมูล มีดังนี้
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ  ความเคลื่อนไหวของคดี
คดี #ม็อบมุ้งมิ้ง ชุมนุมปราศรัยหน้ากองทัพบก เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563  ร่วมจัดการชุมนุมและปราศรัยตั้งคำถามกับการจัดสรรงบประมาณของกองทัพบก ศาลพิพากษาว่ามีความผิด โดยเห็นว่าการชุมนุมไม่ได้จัดให้มีจุดคัดกรอง ไม่มีการเว้นระยะห่าง ลงโทษปรับคนละ 20,000 บาท และ ปรับข้อหาใช้เครื่องเสียงคนละ 200 บาท รวมปรับคนละ 20,200 บาท แต่ลดโทษให้ 1/4 เหลือปรับคนละ 15,150 บาท  
คดีคาร์ม็อบ #ม็อบ1สิงหา64 (แยกราชประสงค์ และเคลื่อนขบวนไปทางประตูน้ำ สู่ถนนวิภาวดี)  ร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบ #ม็อบ1สิงหา เพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  13 กันยายน 2564 รับทราบข้อกล่าวหาและยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
คดีอั้งยี่-ซ่องโจร กลุ่มการ์ดวีโว่ ที่ห้างเมเจอร์รัชโยธิน  แกนนำกลุ่มมีพฤติการณ์ที่เป็นการชุมนุมมั่วสุมกัน ก่อน​​นัดหมายชุมนุม #ม็อบ6มีนา64 อยู่ระหว่างการดำเนินคดี
คดี #ม็อบ18กรกฎา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564  ร่วมชุมนุมปราศรัยและแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อไล่ พล.อ.ประยุทธ์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด
คดีชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย  เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ร่วมชุมนุมและเคลื่อนขบวนไปยังหน้าทําเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาลยกฟ้อง โดยเห็นว่าการชุมนุมเป็นไปโดยสันติไม่ถึงขั้นยุยงปลุกปั่น  การใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และไม่ปรากฎว่าเป็นผู้จัดการชุมนุม
คดีชุมนุมแต่งชุดไทยให้กำลังใจผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 บริเวณหน้าสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา เป็นผู้จัดกิจกรรมให้กำลังใจผู้ถูกดำเนินคดีทั้งสองคน บริเวณหน้าสน.ยานนาวา ศาลพิพากษาว่ามีความผิด แม้ไม่ได้ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่จำเลยถือเป็นผู้จัดการชุมนุม มีหน้าที่แจ้งการชุมนุม เมื่อไม่ได้แจ้ง จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ลงโทษปรับ 3,000 บาท จำเลยให้การเป็นประโยชน์ลดโทษลง 1 ใน 3 คงปรับ 2,000 บาท
คดีจัดกิจกรรม #ม็อบ1กุมภา หรือ #StandWithMyanmar บริเวณหน้าสถานเอกอัครทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564  เป็นผู้จัดกิจกรรมประกาศเชิญชวนให้มาชุมนุมและปราศรัยเพื่อต่อต้านการรัฐประหารของ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หลาย ในประเทศเมียนมา ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด  
ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สส.จังหวัดนนทบุรี พรรคก้าวไกล นักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านการรัฐประหารปี 2557 และในช่วงการชุมนุมปี 2563 ร่วมกลุ่มเครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี โดยปัญญารัตน์ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 3 คดี สิ้นสุดไปแล้ว 1 คดี (ลงโทษปรับ)
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ  ความเคลื่อนไหวของคดี
คดี #ม็อบ24มิถุนา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564  ไม่ปรากฎข้อมูลแน่ชัด 
ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแขวงดุสิตแล้ว คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
คดี ‘คาร์ม็อบไล่ประยุทธ์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564  ร่วมชุมนุมมีการใช้รถที่ติดตั้งเครื่องขยายเสียงอยู่บนรถส่งเสียงอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเรียกร้องให้พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 
ศาลพิพากษาว่ามีความผิด เนื่องจากจำเลยบางคนไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี และมีการถอดหน้ากากอนามัยคุยกันสร้างความเสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิด–19 และใช้เครื่องขยายเสียงลงโทษปรับ 6,000 บาท 
คดีคาร์ม็อบ 2 สิงหาคม 2564 ไม่ปรากฎข้อมูลแน่ชัด ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 

ธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กรุงเทพมหานคร เขต 2 พรรคก้าวไกล ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “รัฐธรรมนูญก้าวหน้า – CONLAB ที่เคยร่วมรณรงค์และรวบรวมรายชื่อของประชาชนเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเป็นแกนนำกลุ่ม Re-Solution เคลื่อนไหวการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2564  โดย ธิษะณาถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด 4 คดี

ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี รายละเอียดของคดีโดยย่อ ความเคลื่อนไหวของคดี 
คดีกิจกรรม #3ตุลามาไล่ประยุทธ์ ที่บริเวณลานกิจกรรมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564 ร่วมปราศรัยย้ำสามข้อเรียกร้อง ได้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ต้องลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และปฏิรูปสถาบันฯคดียังอยู่ในชั้นสอบสวนของตำรวจ
คดีชุมนุมทำกิจกรรมขับไล่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บริเวณสะพานผ่านฟ้าและเคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564ร่วมชุมนุมกับกลุ่มไทยไม่ทนรับทราบข้อกล่าวหา (ข้อมูลจากบัญชีแอป X Tisana Choonhavan – ธิษะณา ชุณหะวัณ@tisanachoonhav2) และยังไม่ปรากฎว่าคดีสิ้นสุด 
คดีเรียกร้องให้บริษัท Victoria’s Secret เยียวยาแรงงาน จากกรณีปิดโรงงานช่วงโควิด-19 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564ร่วมปราศรัยหน้ากระทรวงแรงงาน (ข้อมูลจากบัญชีแอป X Tisana Choonhavan – ธิษะณา ชุณหะวัณ@tisanachoonhav2)ยังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด 
คดีชุมนุม #ราษฎรประสงค์ยกเลิก112 ที่สี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564ร่วมปราศรัยโดยกล่าวถึงปัญหาของข้อกฎหมายมาตรา 112 การตีความกฎหมาย และฎีกาของศาลที่ผ่านมายังไม่มีความเคลื่อนไหวว่า คดีสิ้นสุด
เฉลิมพงศ์ แสงดี สส.จังหวัดภูเก็ต พรรคก้าวไกล โดยเฉลิมพงศ์ ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งหมด ทั้งหมด 1 คดี 
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ  ความเคลื่อนไหวของคดี 
คดีกิจกรรมคาร์ม็อบในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 สังเกตการณ์ในที่ชุมนุมและถูกกล่าวว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คเชิญชวนให้มาร่วมชุมนุม 25 สิงหาคม 2564 รับทราบข้อกล่าวหา และยังไม่ปรากฎว่าคดีสิ้นสุด
ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อดีตสส.บัญชีรายชื่อสัดส่วนภาคใต้ พรรคก้าวไกลชุดที่ 25 ในช่วงการชุมนุมปี 2564 เคยแสดงความเห็นประณามรัฐบาลกรณีการสลายชุมนุมกลุ่มม็อบจะนะรักษ์ถิ่น โดยประเสริฐพงษ์ ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 1 คดีซึ่งถูกยกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ  ความเคลื่อนไหวของคดี 
คดีคาร์ม็อบกระบี่ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ร่วมกิจกรรมคาร์ม็อบเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีคุณภาพ ศาลพิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าการชุมนุมจัดในที่แจ้ง มีอากาศถ่ายเท สวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง ไม่ถึงขนาดที่จะเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล การเลือกตั้งปี 2562 เคยลงเลือกตั้งแบบแบ่งเขตสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในช่วงการชุมนุมปี 2563 -2565 พริษฐ์เคลื่อนไหวทางการเมืองในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราภายใต้กลุ่ม Re-Solution โดยพริษฐ์ ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 1 คดี
ชื่อคดี/เหตุแห่งคดี  รายละเอียดของคดีโดยย่อ ความเคลื่อนไหวของคดี 
คดีกิจกรรม #ราษฎร์ธรรมนูญ ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 เข้าร่วมกิจกรรม “ราษฎร์ธรรมนูญ” ในฐานะวิทยากรเกี่ยวกับประเด็นรัฐธรรมนูญ รับทราบข้อกล่าวหา และคดียังอยู่ในชั้นสอบสวนของตำรวจ