1238 1812 1492 1373 1624 1690 1567 1714 1148 1871 1031 1305 1166 1122 1955 1203 1073 1699 1961 1387 1010 1037 1159 1629 1276 1076 1039 1611 1999 1626 1394 1145 1845 1032 1918 1389 1497 1505 1178 1964 1633 1761 1422 1878 1105 1373 1333 1967 1363 1984 1419 1207 1799 1573 1847 1430 1577 1152 1563 1420 1534 1167 1311 1045 1133 1955 1400 1469 1875 1175 1579 1201 1797 1155 1384 1027 1368 1786 1329 1354 1859 1014 1470 1457 1526 1066 1237 1260 1622 1393 1991 1925 1615 1038 1540 1406 1701 1658 1906 112 The Series | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

112 The Series

 
112 The Series 
 
คือเรื่องเล่าเกี่ยวกับผู้ที่ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายหมายอาญามาตรา 112 หรือ กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ในมุมมองที่สังคมยังไม่ค่อยรู้จัก ซึ่งสื่อมวลชนมักนำเสนอแต่เรื่องราวของคดีความจนละเลยข้อเท็จจริงส่วนนี้ไป 
 
งานชุดนี้ เป็นการร้อยเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของผู้ถูกดำเนินคดีนี้ เพื่อที่จะสะท้อนมุมมองที่หลากหลายต่อผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ในฐานะที่เป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง และให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบของการถูกดำเนินคดีต่อชีวิตของพวกเขา ที่มากไปกว่าการสูญเสียอิสรภาพในเรือนจำ โดยไม่เพ่งเล็งจะหาคำตอบว่าพวกเขาเหล่านั้นกระทำความผิดต่อกฎหมายจริงหรือไม่ 
 
งานชุดนี้ เขียนขึ้นโดยทีมงานและอาสาสมัครของ iLaw ที่ทำหน้าที่สังเกตการณ์การพิจารณาคดี และให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมต่อผู้ถูกดำเนินคดีจากการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 
 
สำหรับชื่อของเจ้าของเรื่องเล่า จะเปิดเผยผู้ที่เต็มใจให้สังคมรับรู้เท่านั้น ผู้ที่ขอสงวนชื่อจริง เราจะตั้งชื่อของเขาใหม่ในเครื่องหมาย "...."
 
 

 

"ธเนศ": เสียงกระซิบที่ข้างหู 

คดีมาตรา 112 ของ "ธเนศ" (นามสมมติ) ไม่ใช่คดีการเมืองใหญ่โตและไม่เป็นที่รู้จักมากนัก "ธเนศ" เป็นคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ทางสังคม หรือมีสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์นัก

"ธเนศ" ถูกจับอย่างเงียบๆ โดยไม่มีใครรู้จัก ครอบครัวทราบว่าเขาถูกจับ แต่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายและคดีความ จึงไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร เมื่อ "ธเนศ" ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ นักโทษคดีมาตรา 112 ที่อยู่ในนั้นก่อนแล้วพบกับเขา และบอกเล่าเรื่องราวของเขาออกมาข้างนอกเพื่อให้มีคนเข้าไปช่วยเหลือ

"ธเนศ" บอกกับทุกคนว่าได้ยินเสียงแว่วอยู่ในหูตลอดช่วงเวลา 20-30 ปีในชีวิตของเขา เขาถูกกลั่นแกล้งโดยข้าราชบริพารของราชสำนักมาโดยตลอด เช่น เมื่อขี่จักรยานไปที่ไหนก็จะมีคนเอาก้อนหินมาวางขวางทาง หรือเมื่อย้ายที่พักข้างห้องก็จะเคาะฝาห้องเสียงดัง หรือเมื่อย้ายที่ทำงานก็จะถูกยุแหย่ให้คนที่ทำงานไม่ชอบหน้า หรือเคยถูกคนขโมยของ และรู้สึกเหมือนถูกจับจ้องมอง ถูกคิดร้ายอยู่ตลอดเวลา

"ธเนศ" ไม่เคยเข้ารับการตรวจอาการทางจิต ไม่เคยยอมไปหาหมอ เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นกับเขาจริงๆ

 

 

"ซัลมาน" : คำพิพากษาและการลาจาก 

ผมได้พบ "ซัลมาน" ครั้งแรกช่วงเดือนกันยายน 2556 ที่ห้องเยี่ยมของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะนั้น "ซัลมาน" เพิ่งเข้าเรือนจำได้ไม่นาน หลังศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำคุกเขาด้วยมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะไปโพสต์ข่าวลือไม่เป็นมงคลในเว็บบอร์ดของบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง ครั้งแรกที่พบกัน ผมเห็นหน้า "ซัลมาน" ไม่ชัดนัก เพราะเขาสวมหน้ากากเพราะกำลังป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ เท่าที่รู้คือเขาเป็นชายร่างสูง ผิวคล้ำ และตากลมโตสไตล์ชาวอาหรับ ส่วนผมบนศีรษะก็สั้นเกรียนเหมือนผู้ต้องขังคนอื่นๆ 

โดยปกติ "ซัลมาน" ไม่ใช่คนที่สนใจการเมือง และ ไม่เคยไปร่วมชุมนุมทางการเมืองไม่ว่ากับกลุ่มใด อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเผยแพร่ข่าวลืออันไม่เป็นมงคลในโลกออนไลน์ช่วงปลายปี 2553 ซึ่งร้ายแรงพอที่จะทำให้หุ้นตกกว่า 10% ในวันเดียว "ซัลมาน" ในฐานะนักลงทุนที่เกือบหมดตัว จึงต้องเช็คข่าวจากเว็บไซต์ต่างประเทศรวมทั้งวิกิลีกส์อย่างกระวนกระวายเพราะกลัวการลงทุนผิดพลาด 
 
ภรรยาของเขาเล่าให้ผมฟังว่า เธอรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องตลกร้ายที่ "ซัลมาน" ผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันเบื้องสูงมาโดยตลอด ต้องถูกดำเนินคดีหมิ่นสถาบัน ก่อนหน้านี้ "ซัลมาน" เคยพาภรรยาและลูกน้อยเดินทางจากบ้านในภาคเหนือลงมาถวายพระพรที่โรงพยาบาลศิริราช และเคยส่งโปสการ์ดไปถวายพระพรเนื่องในวันพระราชสมภพด้วย ภรรยาของ "ซัลมาน" ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า แม้คนไทยจะรักสถาบัน แต่ก็คงมีคนจำนวนไม่มากนัก ที่จะเดินทางมาถวายพระพรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะคนที่อยู่ไกลๆ
 
ถึงวันนี้ก็เป็นเวลาเกินครึ่งปีแล้วที่ครอบครัว "ซัลมาน" ต้องพลัดพรากจากกัน ผมแอบหวังว่าครอบครัวของเขาจะได้กลับมาอยู่กันพร้อมหน้าในเร็ววัน พร้อมๆกับนึกเสียดายว่าผมน่าจะตอบรับคำเชิญไปทานข้าวกับเขาในการพบกันครั้งสุดท้าย เพราะนั่นคงจะทำให้ผมได้รู้จักกับชายชื่อ "ซัลมาน" มากขึ้น
 
 

 

จารุวรรณ: ที่เสียไปไม่ใช่แค่ 85 วัน

คดีหมิ่นเบื้องสูงของ จารุวรรณ กลายเป็นข่าวดังกลางเดือนพฤศจิกายน หลังจากนายทหารพระธรรมนูญเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ตำรวจดำเนินคดี กับ "เฟซบุ๊คหมิ่นฯ" ที่โลกออนไลน์แชร์ต่อกันเกือบหมื่นครั้ง และ 2-3 วันให้หลัง ก็มีข่าวจับกุมเพื่อนชายที่เกี่ยวข้องกับคดีเพิ่มอีก 2 คน 

9 กุมภาพันธ์ 2558 อัยการทหารสั่งไม่ฟ้องจารุวรรณและเพื่อนอีก 2 คน น่ายินดีกับทั้งสามคนืที่ไม่ต้องถูกจองจำไร้ซึ่งอิสรภาพอีกต่อไป แต่กว่าจะมาถึงวันที่ถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำ พวกเขาต้องถูก "ควบคุมตัวระหว่างการสอบสวน" เป็นเวลาถึง 85 วัน
 
โดยที่ทั้งสามคนก็ยังไม่รู้ว่าใครเป็นคนโพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูงที่เป็นต้นเหตุให้พวกเขาต้องถูกกักขัง และกลายเป็นที่กังวลใจให้กับครอบครัวของทั้งสาม
 
 

 

สิรภพ: บทกวีที่ถูกตามล่า

คงไม่มีใครคาดคิดว่า เพียงแค่การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือการเขียนกาพย์กลอนการเมืองจะเป็นเหตุให้ต้องถูกเจ้าหน้าที่ทหารตามไล่ล่า หรือทำให้ครอบครัวต้องตกอยู่ในสภาวะหวาดกลัว แต่มันคือความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย เมื่อ คสช. เริ่มประกาศรายชื่อคนผ่านทางโทรทัศน์ ว่าใครบ้างจะต้องมารายงานตัวที่ค่ายทหารเพื่อ "ปรับทัศนคติ" 

ติดตามข้อมูลคดีของ 'สิรภพ' ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่

 


 

ภรณ์ทิพย์: กลุ่มละครกับความฝัน

"เราคิดเรื่องกฎหมายกันก่อนแสดง และพูดกันหลังเวทีก่อนขึ้นแสดงด้วยซ้ำ เราคิดว่ามันเหมือนกับละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ฉายกันตอนเช้าทางโทรทัศน์ ซึ่งมีเรื่องเจ้าอยู่ด้วย แล้วเราก็คิดว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะมาดำเนินคดีกับละคร ซึ่งเป็นเรื่องไร้สาระมาก"

ทีมงานละคร "เจ้าสาวหมาป่า" คนหนึ่งเล่าให้ฟัง หลังจากที่กอล์ฟ-ภรณ์ทิพย์ ถูกจับกุมและดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ในฐานะผู้กำกับละคร
 
 

 

ณัฐ : เหตการณ์เดิมๆ กับสถานที่แห่งเดิม

เพราะความสนใจและความตื่นตัวทางการเมือง ณัฐเริ่มเขียนอีเมลโต้ตอบกับชาวต่างชาติคนหนึ่ง ที่เขาไม่เคยเจอตัวมาก่อน ท้ายที่สุดเขาก็ถูกจับเพราะส่งอีเมลโต้ตอบกับชาวต่างชาติซึ่งเป็นคนที่ทางการไทยจับตามองอย่างใกล้ชิด อีเมล์ของเขาถูกมองว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญามาตรา112

ติดตามข้อมูลคดีของ 'ณัฐ' ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่

 


 

โอภาส:  An old man and his love.

โอภาสชายวัย 67 รูปลักษณ์ภายนอก ผมขาวสีดอกเลา กับท่าทางดูใจดี พร้อมมิตรไมตรีจากรอยยิ้ม เมื่อเข้าไปกล่าวทักทายและเอ่ยปากชวนคุย เราทั้งสามคนก็เข้าไปท่องอยู่ในบทสนทนาหลากหลายเรื่องราว ภาษา วรรณกรรม ลงเอยด้วยดนตรี สิ่งที่เราต่างก็สนใจเหมือนๆ กัน กระทั่งการจับเจ่าอยู่กับข่าวสารการเมืองเกินไป เกิดเป็นความเครียดต้องการหาที่ระบาย ลงเอยด้วยโอภาสไปเขียนบนฝาผนังห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า ข้อความที่เขาเขียนถูกมองว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญามาตรา 112

ติดตามข้อมูลคดีของ 'โอภาส' ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่

 


 

ใหญ่ แดงเดือด: ในฤดูร้อนที่ไม่เป็นเช่นเคย

สายวันหนึ่งในช่วงปลายมีนาคม 2558  ฤดูร้อนที่เปลวแดดยังแผดแรง ที่อาคารกรมพระธรรมนูญ หรือที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพฯ ครอบครัวหนึ่งอาศัยรถตู้โดยสาร เดินทางจากนครปฐมเพื่อมานัดตามหมายศาล ด้วยความหวังว่าจะได้พบกับคนที่พลัดพราก และจะได้อยู่ร่วม วันชี้ชะตากรรมในเวลาที่เหลืออยู่ข้างหน้า พวกเขามาเฝ้ารอลุ้นจำนวนปีที่คนคนหนึ่งจะต้องถูกคุมขังอันเป็นโทษทัณฑ์ของการโพสต์เฟซบุ๊ก 

ติดตามข้อมูลคดีของ 'ใหญ่ แดงเดือด' ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่

 


 

ปากคำและความฝันของ "บรรพต" : "ผมไม่เคยคิดล้มเจ้าเลย ระบบกษัตริย์มีความงดงาม"

เมื่อพูดถึงชื่อของ "บรรพต" นักจัดรายการวิทยุเรื่องการเมือง และ "ด่าเจ้า" ทางอินเทอร์เน็ต หลายคนอาจจะรู้สึก "ยี้" คนที่ไม่ชอบบรรพตไม่ได้มีแค่คนที่รู้สึกรับไม่ได้กับวิธีที่เขาพูดถึงในหลวงเท่านั้น นักวิชาการหรือนักเคลื่อนไหวทางการเมืองจำนวนไม่น้อยไม่ชอบบุคคลเบื้องหลังชื่อ "บรรพต" เพราะมองว่าเขาวิเคราะห์การเมือง "มั่ว" ไม่รู้ไปเอาข้อมูลมาจากไหน 9 กุมภาพันธ์ 2558 มีข่าวการจับกุมเจ้าของเสียง "บรรพต" 

ติดตามข้อมูลคดีของ 'บรรพต' ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่

 


 

ศศิวิมล:  วันแม่ ที่ไม่มีแม่อยู่

ศศิวิมล พนักงานของโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กชื่อ  “รุ่งนภา คำภิชัย” โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ รวม 6 ข้อความ ศศิวิมลถูกจับกุม หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานให้ไปพบที่สภ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อเซ็นหมายศาล แต่ปรากฎว่าเมื่อไปถึงก็ถูกจับกุมดำเนินคดี ทั้งนี้ศศิวิมล มีบุตรสาว 2 คน อายุ 5  และ7 ปี เมื่อ ศศิวิมล ถูกคุมขังหว่างพิจารณาคดี มารดาของเธอเป็นผู้ดูแลลูกสาวทั้ง 2
 
 
ด้วยสภาพการทำงานที่บังคับให้ต้องนั่งอยู่ในห้องโดยสารแคบๆคนเดียวทั้งวัน คนขับแท็กซี่หลายๆคน จึงมักจะชวนผู้โดยสารคุย เพื่อคลายความเหงา บทสนทนาของคนขับแท็กซี่กับผู้โดยสารก็มักเป็นเรื่องทั่วๆไป อย่างลมฟ้าอากาศ กีฬา เรื่องปากท้อง ไปจนถึงเรื่องการเมือง บทสนทนาระหว่างผู้โดยสารกับคนขับแท็กซี่คงไม่ใช่เรื่องพิเศษหรือมีอะไรน่าจดจำ ถึงที่หมายจ่ายค่าโดยสารก็ลืมกันไป ยุทธศักดิ์เองก็คงหวังให้บทสนทนาเรื่องการเมืองระหว่างเขากับผู้โดยสารคนหนึ่งเป็นเช่นนั้น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจริง คือยุทธศักดิ์กำลังรับโทษจำคุกด้วยมาตรา 112 เพราะบทสนทนาที่ออกรสเกินไป       
 
 
หนึ่งปีก่อน เราได้รับโทรศัพท์ว่าเย็นวันนี้เขาจะออกจากเรือนจำแล้ว
“เฉลียว” คือชื่อที่เรารู้ และนั่นแทบเป็นข้อมูลทั้งหมดที่เรามี“112 น่ะ อัพโหลดคลิปเสียงบรรพตขึ้นโฟร์แชร์” ใครสักคนในห้องบอกไว้ก่อนฉันจะเก็บกระเป๋านั่งรถไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ปีถัดมา ฉันคอยลุ้นอยู่ที่บ้าน ภาวนาว่าให้ศาลไม่เปลี่ยนคำตัดสิน ตามคำอุทธรณ์ของอัยการ
และแล้วในห้อง “พิจารณาลับ” ทุกอย่างที่หวังไว้ก็กลับตาลปัตรไปหมด
 
 

 

แม้ในปี 2558 ชาญวิทย์ จะมีอายุ 60 ปีแล้ว แต่เขาก็ยังคงเป็นคนที่มีความตื่นตัวทางการเมือง ไม่ต่างจากสมัยหนุ่มๆที่เคยร่วมเคลื่อนไหวในเหตุการณ์เดือนตุลา ทั้งปี 2516 และ 2519 จนต้องสูญเสียอิสรภาพ ในครั้งนี้ (ปี2558) ชาญวิทย์ต้องสูญเสียอิสรภาพอีกครั้ง เมื่อใบปลิวที่เขาแจกในงานชุมนุมทางการเมืองที่ท่าน้ำนนท์ เมื่อปี 2550 ถูกมองว่าเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  
 
 

 
บรรยากาศฟ้าโปร่งในแดดช่วงสาย ถนนรัชดาฯ กุมภาพันธ์ปีนั้นผมจำได้ดี แม้จะอยู่ใกล้ฤดูสอบปลายภาค แต่ด้วยนัดสำคัญต้องมาพบเพื่อนคนหนึ่ง เขากำลังอดอาหาร 112 ชั่วโมงเพื่อเรียกร้องให้ศาลให้สิทธิประกันตัวแก่พ่อของเขา ผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีมาตั้งแต่เมษายนปีที่แล้ว (2554) บริเวณด้านหน้าศาลอาญาวันนั้นคราคร่ำไปด้วยสื่อมวลชน นักกิจกรรม และผู้มาให้กำลังใจลูกชายของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษคดี 112 จากการเป็นบรรณาธิการนิตยสารการเมืองฉบับหนึ่งที่มีบทความเผยแพร่เนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง
 
 

 

ปิยะ: ความหวังของพ่อ รอยยิ้มของปิยะ...ที่เลือนหายไป

“ผมรับไม่ได้ครับ ผมไม่ได้ทำ ผมไม่รู้เรื่องจริงๆ” ปิยะพูดด้วยนำเสียงที่หนักแน่นแต่สดใด น้ำเสียงที่เปี่ยมด้วยกำลังใจนี้เองที่ส่งให้การต่อสู้คดียืดยาวมาปีเศษ 

ปิยะเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างสูงใหญ่ บุคลิกเหมือนคนมีการศึกษาและมีฐานะ เวลาตอบคำถามก็พูดจาฉะฉานชัดเจนแสดงถึงความมั่นใจในตัวเอง วันที่ถูกจับปิยะอายุ 48 ปี เขาจบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยทำงานซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับธนาคารขนาดใหญ่ แต่เส้นทางธุรกิจของเขาผกผันต่อเนื่อง ก่อนถูกจับปิยะทำอาชีพอิสระเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมแอพลิเคชั่น
 

ติดตามข้อมูลคดีของ ปิยะ ในฐานข้อมูลของเราที่นี่ 

____________________________________________________________________________________________________________

ฉันพบ “อาทอม” กับพี่นันครั้งแรกเมื่อปลายปี 2558 ที่ศาลทหารกรุงเทพ วันนั้นเป็นนัดสืบพยานโจทก์ในคดีมาตรา 112 ที่อาทอมเป็นจำเลย ศาลทหารสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ อาทอมเข้าไปในห้องกับทนายความ อัยการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทหาร และองค์คณะตุลาการ ขณะที่พี่นัน ภรรยาได้แต่นั่งรออยู่หน้าห้อง คดีของอาทอมเต็มไปด้วยข้อเท็จจริงชวนพิศวง เขาถูกจับกุมครั้งแรก หลังรัฐประหารหนึ่งเดือนคือช่วง  มิถุนายน 2557 เนื่องจากการไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งของ คสช. ต่อมาทหารปล่อยให้เขากลับบ้าน และตามไปจับกุมเขาอีกครั้งในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากคลิปการปราศรัยบนเวทีเสื้อแดงในช่วง พฤศจิกายน 2556
 
____________________________________________________________________________________________________________
 "เวลาในเรือนจำของธาราเดินไปเรื่อยๆ ระหว่างนี้เราก็พบเจอกันบ่อยครั้งขึ้น การพูดคุยระหว่างเราจึงผ่อนคลายและเป็นกันเองมากขึ้นเรื่อยๆธารากล้าที่จะปลดปล่อยความเครียดและความกังวลให้เราได้รับรู้มากขึ้น เขาเล่าถึงสภาพที่กดดันและบีบคั้นในเรือนจำ อาทิการริบที่นอนที่ญาติซื้อให้ แล้วให้นักโทษแต่ละคนมีผ้าเพียงสามผืนสำหรับห่ม สำหรับปู และหนุนนอน ผ้าคุณภาพต่ำที่แสนคัน ผ้าเก่าเหม็นอับ การซักล้างก็ลำบากเพราะเรือนจำไม่ปล่อยน้ำประปาให้ใช้สอยมากนัก"
 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“ทิ้งไปแล้วโว้ยยยยยย”
เสียงชายผู้น้องแผดขึ้นพร้อมดวงตาระรื่นปนระอา เมื่อครั้งที่ “เสาร์” ทวงถามถึงสัญญา เขาเคยจดเบอร์อดีต
นักการเมืองคนสำคัญของประเทศให้กับน้องชาย ฝากฝังให้โทรไปถามเรื่องการจัดตั้งพรรคการเมือง และเสนอ
นโยบายของพรรค ชายผู้น้องได้แต่สั่นหัวยิกๆ รำพึงรำพันปนขำว่า นี่ต้องเสียค่าโทรทางไกลเท่าไหร่กัน กว่าจะ
ติดต่อถึงดูไบ โฟนอินเอาง่ายกว่าไหม 
เสาร์ ได้ยินดังนั้น เดาว่าแม้คงจะผิดหวังไปบ้าง แต่ตอบสนองกลับมาเพียงใบหน้าเรียบเฉย เขายิ้มน้อยๆ เศร้าๆพองาม
ไม่ได้เอ่ยถามอะไรต่อ..
 
 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
"ผมสงสัยมากเลยนะว่าพวกดวงดาว จักรวาลมันเกิดขึ้นมาได้ยังไง"
ลุงตั้งคำถามขึ้นมาอย่างที่ชอบทำ ตอนนั้นเราสี่คนนอนดูดาวกันที่เชียงดาวระหว่างที่ไปถ่ายทำสารคดี คืนนั้นเป็นคืนฟ้าเปิด เห็นดาววาววับมากมาย เราคุยกันไปเรื่อยเปื่อย
"ทฤษฎีบิ๊กแบงไงคะ" ฉันตอบ "ไอ้หนังสือพวกนั้นผมก็อ่านมาบ้าง แต่เข้าใจยากเกินไป  ผมอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้นะ เหมือนที่ผมสงสัยว่าพืชมันเจริญเติบโตขึ้นมาจากใต้ดินได้ยังไง คิดดูสิ ดินมันก็เป็นแค่ดิน แต่ดินเป็นที่มาของพืชทุกชนิด มันเป็นความมหัศจรรย์นะ"
คำถามซื่อๆ กระตุ้นให้ฉันคิดถึงหนังสือเล่มแรกของลุงที่ฉันอ่าน ในตอนจบลุงก็ลงท้ายด้วยคำถามแบบนี้เช่นกัน
 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
‘แม่ทิพย์’ : การโพสต์ภาพชุดดำกับชีวิตที่พังทลาย
ชีวิตของ "แม่ทิพย์" เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งก็เหมือนคนทำมาหากินทั่วไป แม้แม่ทิพย์จะสนใจการเมืองแต่ก็ไม่เคยไปร่วมการชุมนุมเพราะภาระทางครอบครัวไม่เอื้ออำนวย เธอได้แต่เพียงติดตามข่าวและใช้เฟซบุ๊กแชร์ข่าวหรือแสดงความเห็นทางการเมืองเท่านั้น ทว่าการโพสต์ภาพของเธอกับเพื่อนและข้อความที่เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีลักษณะเป็นการเสียดสีพระมหากษัตริย์ก็เพียงพอแล้วที่จำทำให้เธอต้องถูกจองจำเป็นเวลาเก้าเดือน ถึงแม้ว่าโทษจำคุกของเธอจะน้อยกว่าผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 อีกหลายคนแต่มันก็เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตของเธอพังทลายชนิดที่ยากจะซ่อมแซม
 
 
 
ชนิดบทความ: