1995 1239 1450 1122 1401 1633 1434 1661 1037 1770 1944 1245 1380 1945 1230 1227 1425 1871 1522 1997 1192 1643 1635 1155 1573 1170 1998 1898 1065 1420 1538 1521 1114 1839 1385 1560 1465 1205 1506 1773 1286 1595 1360 1662 1335 1721 1730 1837 1634 1481 1511 1597 1244 1077 1163 1829 1794 1734 1917 1579 1477 1124 1542 1051 1636 1194 1574 1124 1594 1569 1051 1207 1822 2000 1336 1989 1879 1020 1073 1597 1606 1858 1583 1999 1182 1935 1966 1078 1083 1525 1657 1233 1627 1958 1327 1410 1345 1113 1248 สิรภพ: บทกวีที่ถูกตามล่า | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สิรภพ: บทกวีที่ถูกตามล่า

 
คงไม่มีใครคาดคิดว่า เพียงแค่การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือการเขียนกาพย์กลอนการเมืองจะเป็นเหตุให้ต้องถูกเจ้าหน้าที่ทหารตามไล่ล่า หรือทำให้ครอบครัวต้องตกอยู่ในสภาวะหวาดกลัว แต่มันคือความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย เมื่อ คสช. เริ่มประกาศรายชื่อคนผ่านทางโทรทัศน์ ว่าใครบ้างจะต้องมารายงานตัวที่ค่ายทหารเพื่อ "ปรับทัศนคติ" 
 
1 มิถุนายน 2557 คสช. มีคำสั่งเรียกบุคคลให้ไปรายงานตัว โดยมีชื่อของสิรภพ ปรากฎอยู่บนจอทีวี ตัวตนของสิรภพในสังคมปกติคือ ชายผิวขาว ผมยาว ร่างใหญ่ อายุราวๆ 50 ปี อาชีพรับเหมาก่อสร้าง มีหน้าที่ต้องดูแลครอบครัวที่มีลูก 3 คนและหลานชายอีก 1 คน
 
สิรภพ เล่าว่า เขารับไม่ได้กับการทำรัฐประหารตั้งแต่ปี 2549 เพราะเป็นความอยุติธรรมที่คนกลุ่มหนึ่งที่กระทำต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ อีกทั้งทหารยังเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ความรุนแรงกับคนในชาติ จากกรณีสลายการชุมนุม จนมีคนเสียชีวิตนับร้อย บาดเจ็บนับพัน กลางเมืองหลวงของประเทศนี้
 
ในวินาทีที่รู้ว่ามีรายชื่อให้ไปรายงานตัวนั้น สิรภพรู้สึกว่า เขาจะไม่ยอมรับอำนาจของคณะรัฐประหารที่กระทำการอุกอาจ จึงตัดสินใจ “อารยะขัดขืน” ไม่เข้ารายงานตัว ตามคำสั่งเรียกของ คสช. และความตั้งใจของสิรภพ คือ ต้องการขอสถานะ “ผู้ลี้ภัยทางการเมือง” จาก UNHCR รวมถึงจัดการงานรับเหมาก่อสร้างที่สงขลาซึ่งยังค้างอยู่ให้เสร็จ
 
สิรภพมีความวิตกกังวลอย่างมาก เขาไม่ทราบเลยว่า คณะรัฐประหารเชื่อมโยงตัวเขา กับนามปากกา "รุ่งศิลา" ได้อย่างไร เพราะเขาค่อนข้างมั่นใจว่ามีเพียงเพื่อนสนิท 2 คนเท่านั้นที่รู้ตัวตนจริงๆ ของเขา จนถึงวันนี้คำตอบนั้นก็ยังไม่ถูกคลี่คลาย
 
ระหว่างที่เขาเดินทางเพื่อขอลี้ภัยทางการเมือง "สิรภพ" จำเป็นต้องจากลูกชายวัย 16 ปีของเขา และมอบหมายให้ควบคุมงานก่อสร้างแทน สิรภพติดต่อลูกๆ และสั่งงานรายวันกับคนงานผ่านทางสมาร์ทโฟนและต้องเปลี่ยนโทรศัพท์และซิมอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้เขายังต้องขอให้ลูกสาวอีก 2 คน ซึ่งคนโตเพิ่งจบการศึกษา และคนกลางที่กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 2 รีบบินจากกรุงเทพฯ มาอยู่เป็นเพื่อนน้องชายเพื่อความปลอดภัย 
 
ไม่กี่วันหลังการออกคำสั่งเรียกรายงานตัว ตำรวจในเครื่องแบบ 8-10 คน บุกเข้าตรวจค้น สถานที่ก่อสร้าง โดยแจ้งแก่เจ้าของบ้านและคนงานว่า มาตรวจหาแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายแล้วจึงกลับไป หลังจากนั้นไม่นานเจ้าหน้าที่ทหารในเครื่องแบบพร้อมอาวุธสงครามครบมือกว่า 30 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 10 นาย บุกจู่โจมเข้าตรวจค้นบ้านพัก ซึ่งมีเพียงลูกสาว 2 คน, ลูกชายคนเล็ก พร้อมหลานชายอายุ 10 เดือน อยู่ในบ้าน นาทีนั้นสิรภพไม่สามารถติดต่อกับลูกๆ ได้ จึงติดต่อไปยังผู้ที่จ้างเขารับเหมาก่อสร้าง และทราบว่า "ครอบครัวถูกจับไป"
 
สิรภพ เล่าว่า ในวันนั้นลูกสาวทั้งสองอุ้มหลานทำอะไรไม่ถูก ได้แต่กอดกันร้องไห้ มีเพียงลูกชายที่ยังพอควบคุมสติได้ เมื่อทหารบุกเข้ามา
 
หลังทหารตำรวจตรวจค้นทุกซอกทุกมุมของบ้านจนเป็นที่พอใจ ไม่พบอาวุธหรือสิ่งผิดกฎหมายใดๆ จึงยึดอุปกรณ์สื่อสารในบ้าน มี CPU คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง, external hard disk 1 TB 3 ชุด, โทรศัพท์มือถือ smartphone 5 เครื่องและโทรศัพท์มือถือธรรมดา 1 เครื่อง และควบคุมตัวทั้ง 4 คนไปที่ค่ายทหาร
 
"ช่วงเวลาที่ลูกๆ ถูกจับตัวไป ผมเครียดมาก และไม่สามารถทำอะไรได้ ได้แต่พลุ่งพล่านอยู่ข้างในอย่างสุดแสนทรมาน" สิรภพกล่าว 
 
เรื่องไม่ได้จบลงแค่นั้น ในวันที่ 25 มิถุนายน 2557 เวลา 22.30 น. ขณะกำลังเดินทางโดยรถยนต์มาถึงถนนแยกเข้าตัวเมืองกาฬสินธุ์ มุ่งหน้าไปยังจังหวัดอุดรธานี ในระหว่างที่รถยนต์ชะลอเข้าทางแยก มีรถยนต์ฟอร์จูนเนอร์ขับปาดหน้า ชายฉกรรจ์ 5 คนสวมโม่งพร้อมอาวุธหนักเปิดประตูวิ่งลงมา รถตู้อีกคันประชิดเข้ามาจอดปิดท้าย ชายฉกรรจ์อีก 7 คนวิ่งลงมารายล้อม หน้าตาถมึงทึง ในมือถืออาวุธสงครามพร้อมลั่นไก ตะโกนให้สั่งยอมแพ้ ห้ามต่อสู้ ให้ชูมือออกมาจากรถ แล้วบังคับให้ทุกคนนอนหมอบลงกับพื้นถนน ขณะฝนกำลังตกหนัก
 
ชายสวมโม่งเหล่านั้น แต่งกายนอกเครื่องแบบทะมัดทะแมงถืออาวุธปืนไรเฟิลจู่โจม ‘ทราโว’ คาดซองปืนพร้อมอาวุธปืนสั้น พกวิทยุสื่อสารที่หัวไหล่ พาตัวเขาไปควบคุมตัวที่ค่ายทหารเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงพาตัวมาที่กองบังคับการปราบปราม และถูกตั้งข้อหาไม่มารายงานตัวตามคำสั่ง ฝ่าฝืนประกาศคสช. ฉบับที่ 41/2557 
 
ศาลทหารอนุญาตให้ สิรภพ ได้ประกันตัวในคดีไม่มารายงานตัว แต่ก่อนที่จะได้รับอิสรภาพ เจ้าหน้าที่ตำรวจอายัดตัวเขาไปสอบสวนต่อในข้อหามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แม้การโพสต์ข้อความลงบนอินเทอร์เน็ตของสิรภพจะเกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร แต่คดีของเขาถูกตีความว่าข้อความบนอินเทอร์เน็ตยังปรากฏอยู่มาจนปัจจุบัน ถือว่าความผิดยังเกิดขึ้นอยู่ จึงเป็นคดีที่ต้องส่งให้ศาลทหารพิจารณา
 
ในคดี 112 สิรภพ ถูกฟ้องจากการเผยแพร่ 3 ข้อความ ซึ่งหมายถึงโทษสูงสุด 45 ปีในเรือนจำ สิรภพ รับสารภาพว่าเป็นเจ้าของนามปากก "รุ่งศิลา" และเป็นเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์และเฟซบุ๊กเพจจริง แต่กลอนที่เขาเขียนนั้นเป็นเรื่องการเมืองทั่วๆ ไป พูดถึงอำนาจที่ไม่เป็นธรรมในสังคมไทย ไม่มีความหมายถึงพระมหากษัตริย์ สิรภพยื่นขอประกันตัวด้วยเงินสด 400,000 บาท แต่ด้วยข้อหาที่หนักขึ้น ศาลทหารไม่อนุญาต 
 
 
149
 
แม้ตัวเขาจะถูกคุมขังเรื่อยมานับแต่วันที่กลุ่มชายสวมโม่งขับรถปาดหน้า เขาก็ยังประกาศว่าจะขอต่อสู้คดีอย่างถึงที่สุด 
 
ทนายของ "สิรภพ" ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ความผิดที่ถูกกล่าวหาเกิดขึ้นก่อนการประกาศให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะศาลทหารเห็นว่าจะเป็นการโยนคดีไปมาระหว่างศาลทหารและศาลพลเรือน
 
ทนายของ "สิรภพ" ยังยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพเพื่อขอให้คำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหารขัดต่อมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ศาลทหารวินิจฉัยแล้วว่า การเอาพลเรือนขึ้นศาลทหารนั้นไม่ใช่การละเมิดสิทธิ เพราะตุลาการศาลทหารมีความเป็นอิสระ แม้จะอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหมแต่ก็ยังมีดุลพินิจอิสระ และศาลทหารไม่มีอำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ไม่ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้
 
นอกจากจะยกคำร้องเรื่องอำนาจศาลทหารแล้ว ศาลทหารยังสั่งให้พิจารณาคดีมาตรา 112 ของสิรภพ เป็นการลับ ส่วนคดีฐานไม่มารายงานตัวให้สาธารณชนเข้าฟังได้ แต่ไม่อนุญาตให้จดบันทึก
 
สิรภพ ยังถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวระหว่างต่อสู้คดี และยังยืนยันขอต่อสู้ทุกช่องทางที่มีอยู่ ไม่ต้องการยอมรับสารภาพเพื่อหวังการได้ลดโทษ และไม่ต้องการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ โดยหวังให้สังคมรับรู้ถึงความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในคดีของเขา
 
ระหว่างหลายปีของการต่อสู้คดี ลูกสามคนและหลานชายอีกหนึ่งคนต้องรับภาระงานและค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางการศึกษาด้วย มีความเป็นไปได้สูงว่าภายใต้บรรยากาศทางการเมืองที่ปิดกั้น หากศาลทหารที่ประกอบด้วยนายทหารซึ่งไม่ได้จบกฎหมายมาพิจารณาและตัดสินคดี ชายวัยกลางคนที่ประกาศขอยืนหยัดต่อสู้โดยไม่มีวันก้มหัวยอมรับอำนาจที่เขาเชื่อว่าไม่ถูกต้องชอบธรรม อาจต้องใช้เวลาที่เหลือทั้งชีวิตอยู่ในเรือนจำ
 
หากเรื่องนี้ทำให้คุณอยากรู้รายละเอียดของคดี คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลของเรา
และดูรายละเอียดเกี่ยวกับ คดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว ของสิรภพ
ชนิดบทความ: