1733 1750 1057 1939 1431 1817 1810 1571 1697 1330 1182 1918 1903 1073 1532 1878 1524 1041 1391 1381 1525 1984 1705 1440 1565 1840 1365 1555 1097 1494 1145 1895 1000 1250 1916 1213 1829 1776 1752 1937 1986 1063 1534 1618 1246 1260 1484 1061 1090 1876 1943 1448 1286 1305 1439 1355 1017 1774 1036 1182 1504 1675 1598 1473 1047 1695 1439 1761 1365 1764 1308 1228 1537 1878 1395 1856 1503 1888 1267 1789 1711 1305 1626 1876 1132 1796 1759 1766 1027 1869 1703 1321 1256 1305 1570 1838 1578 1430 1209 โพสต์-แชร์ เพลง "ประเทศกูมี" อาจไม่ผิดเพราะไม่ใช่ "ข้อมูลเท็จ" ย้อนดูคำพิพากษา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ คุ้มครองการแสดงความเห็นบนข้อเท็จจริง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

โพสต์-แชร์ เพลง "ประเทศกูมี" อาจไม่ผิดเพราะไม่ใช่ "ข้อมูลเท็จ" ย้อนดูคำพิพากษา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ คุ้มครองการแสดงความเห็นบนข้อเท็จจริง

 
 
26 ตุลาคม 2561 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. กล่าวว่า มิวสิกวิดีโอเพลง "ประเทศกูมี" แนวเสียดสีสังคมของกลุ่มแร็ปเปอร์ 'Rap Against Dictatorship' น่าจะเข้าข่ายผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (2) ซึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงฯ
 
 
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ผู้ที่แชร์เพลงประเทศกูมีจะเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (5) อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถือว่าเป็นการ "เผยแพร่หรือส่งต่อ" เนื่องจากเพลงประเทศกูมีเข้าข่ายการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์
 
 
การออกมาให้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจในลักษณะนี้ย่อมสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้ที่แสดงความเห็น หรือผู้ที่แชร์เพลงดังกล่าวบนโลกออนไลน์ ซึ่งไอลอว์อยากหยิบตัวบทกฎหมายมากางกันดูให้ชัดๆ พร้อมทั้งหยิบคำพิพากษาในคดีลักษณะคล้ายกันมาแสดงเป็นตัวอย่าง เพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็น ให้ทุกคนลองพิจารณาเองว่า การโพสต์หรือแชร์อย่างไรจะผิดกฎหมายหรือไม่ผิด
 
 
องค์ประกอบความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (2) มีอะไรบ้าง?
 
 
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่แก้ไขในปี 2559 มาตรา 14 (2) กำหนดว่า ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
 
 
หากเราลองแยกองค์ประกอบความผิดของกฎหมาย จะได้ความดังนี้ว่า ผู้ที่จะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (2) ต้องเป็น ผู้ที่ดำเนินการครบทุกข้อ ดังนี้
 
1) ผู้ที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
2) ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
3) โดยประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อ / การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ  / ความปลอดภัยสาธารณะ / ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ / โครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ / หรือ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
 
 
หรือหมายความว่า ถ้าเรานำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือโพสต์สิ่งใดบนโลกออนไลน์ โดยไม่ใช่ 'ข้อมูลเท็จ' หรือ นำเข้าข้อมูลที่แม้จะเท็จแต่ไม่ถึงขนาดจะสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ฯลฯ เราก็อาจจะไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 14(2)
 
 
ส่วนกรณี คนที่แชร์ที่ตำรวจอ้างว่าจะผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (5) ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า ผู้ที่เผยแพร่หรือส่งต่อนั้นรู้อยู่แล้วว่า สิ่งที่แชร์นั้นเป็นข้อมูลที่เป็นความผิดตามมาตรา 14 (1) (2) (3) หรือ (4) หากไม่ทราบ หรือเชื่อโดยสุจริตใจว่าสิ่งที่แชร์นั้นไม่เป็นความผิด ก็ไม่มีความผิดจากการแชร์ เพราะขาดเจตนา
 
 
โดยเฉพาะ ถ้าหากพิสูจน์กันได้แล้วว่า ข้อมูลที่แชร์กันนั้นไม่ได้ผิดตาม พ.ร.บ.ตามคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) (2) (3) หรือ (4) การแชร์ก็ย่อมไม่มีความผิด
 
 
ย้อนดูการตีความ 'ข้อมูลเท็จ' ของศาล คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
 
 
หลัง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ประกาศใช้ในปี 2550 และมีการแก้ไขอีกครั้งในปี 2559 ไอลอว์ติดตามบันทึกข้อมูลการดำเนินคดีกับผู้ที่แสดงความคิดเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานรัฐ หรือกิจการขนาดใหญ่ของเอกชน มาแล้วอย่างน้อย 96 ราย ก่อนหน้านี้คดีส่วนใหญ่เป็นข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) จนกระทั่งเมื่อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ถูกแก้ไข ส่งผลให้ มาตรา 14 (2) ถูกนำมาใช้เพื่อดำเนินคดีต่อผู้แสดงความคิดเห็นแทน โดยเฉพาะกับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
 
 
สำหรับคำพิพากษาที่น่าสนใจ ก็เช่น คดี 'รสนาหมิ่นปิยสวัสดิ์' หรือ คดีที่ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ผู้บริหาร ปตท. ฟ้อง รสนา โตสิตระกูล จากกรณีเฟซบุ๊กเพจชื่อว่า “รสนา โตสิตระกูล” โพสต์บทความเรื่อง  “มหากาพย์ฮุบท่อก๊าซ สมบัติชาติ”
 
 
โดยคดีนี้ คำพิพากษาของศาลท่อนหนึ่งระบุว่า ข้อความดังกล่าวจึงถือเป็นการแสดง "ความเห็น" เมื่อจำเลยมีความเห็นและเชื่อเช่นนั้น การที่จำเลยถ่ายทอดออกเป็นข้อความดังกล่าว จำเลยย่อมถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องตามแหล่งที่มาของข้อมูลซึ่งก็ คือ ตัวจำเลยเอง ข้อความพิพาทจึงไม่อาจเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จได้
ซึ่งหมายความว่า การแสดงความคิดเห็นส่วนไม่ถือว่าเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จได้
 
 
อีกคดีหนึ่งที่มีคำพิพากษ์ที่น่าสนใจคือ คดี "ไมตรีเผยแพร่คลิปหมิ่นประมาททหาร" ซึ่งถูกดำเนินคดีด้วยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลังเผยแพร่วิดีโอคลิปการเจรจาระหว่างทหารกับชาวบ้านประกอบข้อความอธิบายว่า เป็นการเจรจาเกี่ยวกับกรณีที่มีชาวบ้านถูกตบในระหว่างทหารเข้าไปปฏิบัติการที่หมู่บ้านกองผักปิ้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ในคืนส่งท้ายปี
 
 
โดยคดีนี้ คำพิพากษาของศาลท่อนหนึ่งระบุว่า ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 การกระทำจะเป็นความผิดเมื่อผู้นั้นทราบว่า เป็นข้อมูลปลอมหรือเท็จ แม้จำเลยจะยอมรับว่าเป็นผู้เขียนข้อความบางส่วนตามฟ้อง แต่พยานจำเลยจำนวน 5 ปาก ซึ่งมีทั้งเด็กและคนแก่ เบิกความตรงกันว่า ถูกบุคคลที่มากับเจ้าหน้าที่ทหารทำร้าย การที่จำเลยเผยแพร่ข้อมูลโดยเข้าใจว่า เป็นความจริง จึงไม่ถือว่าเป็นความผิด พิพากษายกฟ้อง
 
 
ซึ่งหมายความว่า การโพสต์ข้อมูลที่ผู้โพสต์เข้าใจว่า เป็นความจริง ก็ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
 
 
อย่างไรก็ดี มีคดีที่ผู้ถูกดำเนินคดีต่อสู้คดีเพื่อยืนยันในสิ่งที่พูดว่า เป็นความจริง และชนะคดีอยู่ไม่น้อย เช่น คดี "วัฒนาวิจารณ์พล.อ.ประวิตร" โดยคดีนี้ ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องวัฒนาโดยเห็นว่า การแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นเหตุแห่งคดีนี้ เป็นการใช้เสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
 
 
นอกจากนี้ ศาลยังวินิจฉัยข้อความที่โจทก์ฟ้องด้วยว่า ที่จำเลยโพสต์ข้อความทำนองว่า คสช. ไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชนซึ่งโจทก์เห็นว่า เป็นข้อความเท็จเพราะ คสช. มีโรดแมปที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งอันเป็นการคืนอำนาจแล้วนั้น ศาลเห็นว่า โรดแมปเป็นเพียงกรอบแผนงานซึ่งอาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ ข้อความของจำเลยจึงไม่เป็นความเท็จ
 
 
กล่าวโดยสรุป คือ การกระทำที่จะเป็นความผิิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้นั้น สิ่งสำคัญคือการกระทำจะต้องครบองค์ประกอบความผิดทุกข้อเสียก่อน โดยเฉพาะข้อมูที่โพสต์ต้องเป็นข้อมูลเท็จ และผู้ที่โพสต์หรือแชร์ยังต้องรู้อยู่แล้วด้วยว่า สิ่งนั้นเป็นข้อมูลเท็จ ทั้งนี้ ยังเคยมีคำพิพากษาที่คุ้มครองการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว หรือการแสดงออกที่มีข้อเท็จจริงมารองรับอยู่แล้วด้วย

 

ชนิดบทความ: