1972 1503 1789 1363 1022 1503 1038 1283 1743 1526 1198 1775 1630 1821 1513 1578 1539 1661 1727 1041 1845 1909 1346 1604 1348 1614 1715 1066 1540 1991 1155 1538 1650 1021 1222 1125 1608 1950 1226 1043 1683 1120 1044 1743 1074 1638 1301 1924 1375 1327 1009 1664 1487 1571 1166 1287 1270 1247 1596 1900 1723 1900 1713 1975 1770 1685 1754 1396 1962 1954 1581 1978 1650 1166 1215 1915 1603 1963 1638 1404 1238 1185 1438 1233 1548 1528 1428 1981 1731 1323 1213 1884 1052 1133 1783 1096 1627 1013 1864 5 ผู้ต้องหาคดี "เทใจให้เทพา" คดีที่ 2 ลุ้นคำสั่งอัยการฟ้องหรือไม่ฟ้อง 8 พ.ย. นี้ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

5 ผู้ต้องหาคดี "เทใจให้เทพา" คดีที่ 2 ลุ้นคำสั่งอัยการฟ้องหรือไม่ฟ้อง 8 พ.ย. นี้


981 ขอบคุณภาพจากเพจหยุดถ่านหินสงขลา

วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2561) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเทพานัดผู้ต้องหา 5 คน ได้แก่ เอกชัย, ดิเรก, อัยโยบ, หมิด ชายเต็ม และ รอกีเยาะ เข้าพบเพื่อส่งตัวฟ้องต่อพนักงานอัยการจังหวัดนาทวี ในคดีที่ทั้งห้าถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ในข้อหาจัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนเวลาเริ่มการชุมนุม และข้อหาเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมโดยไม่แจ้งล่วงหน้าต่อหัวหน้าสถานีตำรวจซี่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการชุมนุมสาธารณะ โดยในชั้นสอบสวนทั้งห้าให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา


กระบวนการในวันนี้หลังทั้งห้าเข้าพบพนักงานสอบสวนที่สภ.เทพาในเวลาประมาณ 9.00 น. เจ้าหน้าที่ก็แจ้งให้ผู้ต้องหาทั้งหมดไปที่สํานักงานอัยการจังหวัดนาทวี โดยมีชาวบ้านจากพื้นที่อำเภอเทพาติดตามมาให้กำลังใจติดตามด้วยราว 30 คน และเมื่อไปถึงที่สำนักงานอัยการฯ ผู้ต้องหาทั้งห้าคนก็ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ขอให้อัยการสอบสวนพยานเพิ่มเติมสี่คน และระบุว่า คดีนี้มีพฤติการณ์และข้อเท็จจริงเดียวกันกับคดีเทใจให้เทพาคดีที่หนึ่ง ซึ่งกำลังรอฟังคำพิพากษาในวันที่ 27 ธันวาคม 2561 เป็นการดำเนินคดีที่ขัดต่อหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำ หลังเสร็จสิ้นกระบวนการอัยการนัดผู้ต้องหาทั้งห้าฟังคำสั่งคดีในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561

 

สำหรับเหตุแห่งคดีนี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา - ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดินเท้าจากอำเภอเทพา จังหวัดสงขลามาที่อำเภอเมืองจังหวัดสงขลาเพื่อยื่นหนังสือต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ระหว่างวันที่ 24 – 28 พฤศจิกายน 2560


ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ระหว่างที่กลุ่มชาวบ้านกำลังเดินเท้าไปยังอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่ก็เข้ายุติการทำกิจกรรมและจับกุมชาวบ้านจำนวน 17 คนไปตั้งข้อกล่าวหาโดยหนึ่งในนั้นเป็นเยาวชนอายุ 16 ปี การแจ้งข้อกล่าวครั้งนั้นนำไปสู่การดำเนินคดีกับผู้ที่ร่วมเดินเท้ารวม 17 คน เป็นคดี "เทใจให้เทพา" คดีที่หนึ่งซึ่งในขณะนี้คดีดังกล่าวสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วและศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 27 ธันวาคม 2561

 

สำหรับคดี "เทใจให้เทพา" คดีที่อัยการนัดผู้ต้องหาฟังคำสั่งในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ มีผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดี "เทใจให้เทพา" คดีที่หนึ่งรวมอยู่ด้วยสามคนได้แก่ เอกชัย ดิเรกและอัยโยบ โดยผู้ต้องหาทั้งสามคนดังกล่าวถูกกล่าวหาในพฤติการณ์ที่ต่างกัน ดังนี้ 


เอกชัยและดิเรกถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ แต่กลับร่วมกันไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรสงขลา ผู้รับแจ้งตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก่อนเวลาเริ่มการชุมนุม และไม่แจ้งการชุมนุมพร้อมคำขอผ่อนผันกำหนดเวลาต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาก่อนเริ่มการชุมนุม ข้อหาไม่ดูแลการชุมนุมไม่ให้เกิดการขัดขวางอย่างเกินสมควรต่อประชาชนที่ใช้ทางสาธารณะ ไม่ดูแลรับผิดชอบผู้ร่วมการชุมนุมให้ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งไม่ให้ความร่วมมือกับตำรวจ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ดูแลการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ

 

เอกชัย ดิเรกและอัยโยบถูกกล่าวหาว่า พกพาอาวุธ คือ ไม้คันธงที่ติดสัญลักษณ์การคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน ไปในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะ ซึ่งไม้ดังกล่าวผู้ต้องหาได้ใช้และเจตนาจะใช้ทำร้ายร่างกายให้เป็นอันตราย, ร่วมกันสร้างความไม่สะดวกแก่ประชาชนที่ใช้ช่องทางการจราจรบนถนนสายสงขลา-นาทวีและพกพาอาวุธ (ไม้คันธง) เข้าไปในพื้นที่ชุมนุมโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันปิดถนนสายดังกล่าวด้วยการชุมนุมและเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมล้ำไปในช่องทางการจราจรและร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่ได้รับคำสั่งให้ดูแลการชุมนุมสาธารณะ
 

 

980 รอกีเยาะ ขณะร่วมชุมนุมที่ด้านข้างสหประชาชาติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561


ขณะที่รอกีเยาะซึ่งเคยได้รับรางวัลผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ประจำปี 2560 และเป็นพยานจำเลยในคดีเทใจให้เทพาที่ขึ้นเบิกความต่อศาลในฐานะชาวบ้านอำเภอเทพาที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561


ด้านหมิด ผู้ต้องหาอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวบ้านที่เคลื่อนไหวปกป้องชุมชนเทพามาตลอดและเคยร่วมชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสร้างขนำบางหลิง ศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทนเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม


อ่านรายละเอียดคดีเพิ่มเติมที่นี่