1218 1532 1829 1380 1441 1608 1911 1290 1268 1003 1814 1556 1530 1874 1533 1485 1636 1117 1905 1191 1371 1353 1256 1819 1233 1329 1017 1575 1813 1695 1531 1096 1198 1632 1712 1449 1622 1363 1446 1403 1003 1725 1617 1568 1748 1775 1444 1446 1084 1745 1902 1879 1996 1402 1423 1120 1537 1448 1145 1582 1279 1171 1227 1365 1696 1107 1302 1121 1227 1740 1328 1077 1706 1018 1542 1743 1958 1544 1532 1496 1018 1826 1590 1620 1471 1468 1219 1665 1071 1775 1283 1435 1432 1425 1889 1192 1525 1228 1966 #Attitude adjusted? เอกชัย หงส์กังวาน : ตีผมจนนิ้วหลุดก็ไม่หยุดที่จะแสดงออกทางการเมือง | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

#Attitude adjusted? เอกชัย หงส์กังวาน : ตีผมจนนิ้วหลุดก็ไม่หยุดที่จะแสดงออกทางการเมือง

"เอกชัย หงส์กังวาน" นักกิจกรรมทางการเมือง และอดีตนักโทษในคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการจำหน่ายวีซีดีสารคดีเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของไทย ซึ่งจัดทำเผยแพร่โดยสถานีโทรทัศน์แห่งชาติออสเตรเลีย (ABC) และเอกสารวิกิลีกส์ เขาถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน และพ้นโทษเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 หลังพ้นโทษเอกชัยได้ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองกับ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” และยังแสดงออกเชิงสัญลักษณ์หลายครั้งในยุค คสช. หลายครั้ง เช่น นำนาฬิกาไปให้พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จากข่าวดังเรื่อง “แหวนแม่ นาฬิกาเพื่อน”

 


ทว่าภายใต้การปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การแสดงออกเหล่านี้ ได้ทำให้เกิดเรื่องราวแปลกประหลาดขึ้นในชีวิตของเอกชัยคนนี้ เขาถูกอุ้มไปปรับทัศนคติหลายครั้ง และยังถูกดักทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัส สาดน้ำปลาร้าใส่ในที่สาธารณะ มาดูกันว่าเอกชัยเจออะไรบ้างในยุค คสช.
ถูกลอบทำร้ายหลายครั้ง หลังแสดงออกทางการเมือง

 


วันที่ 23 มกราคม 2561 ประชาไทรายงานว่า เวลาประมาณ 14.14 น. เอกชัย โพสต์ภาพใบหน้าตัวเองที่มีรอยช้ำบริเวณริมฝีปาก พร้อมภาพของ ฤทธิไกร ชัยวรรณศานส์ โดยระบุว่า เวลา 14.00 น. ฤทธิไกร ดักทำร้ายร่างกายเอกชัยที่ป้ายรถเมล์ปาก ซอยลาดพร้าว 107 ซึ่งเขาจะไปแจ้งความให้ดำเนินคดีข้อหาทำร้ายร่างกาย และพยายามฆ่า

 

1012

 


วันที่ 14 สิงหาคม 2561 ประชาไทรายงานว่า เวลาประมาณ 09.25 น. ระหว่างที่เอกชัยกำลังเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อมอบของขวัญวันเกิดให้กับพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และหนึ่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติเอกชัย ถูกชายนิรนาม 2 คน ขับขี่รถจักรยานยนต์ สวมหมวกกันน็อค ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ตามสาดน้ำปลาร้าใส่ บริเวณป้ายรถเมล์ใกล้กับโรงพยาบาลมิชชั่น ถนนสวรรคโลก

 


ก่อนหน้านี้ในวันที่ 13 สิงหาคม 2561 ได้โพสต์สเตตัสในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า จะเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลในวันดังกล่าว เพื่อมอบของขวัญวันเกิดย้อนหลังให้กับพลเอกประวิตร ในวาระครบ 73 ปี โดยของขวัญที่จะนำไปมอบนั้นคือ นาฬิกา ที่ตั้งใจจะมอบให้กับพลเอกประวิตรมาตั้งแต่ช่วงต้นปี หลังจากเกิดการขุดคุ้ย ตรวจนาฬิกาหรูที่พลเอกประวิตรใส่ทั้งหมด 25 เรือน

 


วันที่ 22 สิงหาคม 2561 ประชาไทรายงานว่า เวลาประมาณ 12.00 น. เอกชัย ถูกชายนิรนาม 3 คน อายุประมาณ 20-30 ปี ลอบทำร้ายร่างกายบริเวณหน้าบ้านของเขา ย่านลาดพร้าว หลังเดินทางกลับจากทำเนียบรัฐบาล เพื่อทวงถามความรับผิดชอบกรณีนาฬิกาหรูของพลเอกประวิตร การทำร้ายร่างกายครั้งนี้ เอกชัยถูกไม้ตีจนกระดูกนิ้วมือแตกสองจุด

 


เมื่อทหารไม่เคยชินกับการเคลื่อนไหวของคนเห็นต่าง ต้องมาใช้วิธี “ปรับทัศนคติ”


นอกจากการถูกทำร้ายร่างกายแล้ว ก่อนหน้านี้ ในช่วงปี 2560 เอกชัยยังถูกเรียกปรับทัศนคติถึง 3 ครั้ง เอกชัยเล่าว่าเขาถูกนำตัวไปปรับทัศนคติที่ค่ายทหาร คือ มทบ.11 ถึงสองครั้ง อีกครั้งหนึ่งถูกพาไปปรับทัศนคติเชิงท่องเที่ยว ‘นอกสถานที่’ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ยังไม่นับรวมการนำตัวไปสำนักงานเขตอีก 1 ครั้ง

 


ครั้งแรกที่เอกชัยถูกปรับทัศนคติ คือวันที่ 25 เมษายน 2560 ซึ่งมีเรื่องราวที่ “หมุดคณะราษฎร” หายไปช่วงดังกล่าวก็มีหลายกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ เขาจึงประกาศบ้างว่าวันที่ 25 เมษายน 2560 จะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อไปขอให้รัฐบาลถอน “หมุดหน้าใส” เขาเล่าว่า เวลาดังกล่าวคนส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ประเด็นหมุดคณะราษฎรหาย แต่เขามุ่งความสนใจไปที่ “หมุดหน้าใส” เนื่องจากหมุดฯเป็นของใครก็ไม่รู้ เมื่อถามหน่วยงานรัฐก็ไม่รู้ว่า ใครเป็นเจ้าของ เมื่อไม่มีเจ้าของก็เลยตั้งคำถามว่า “แล้วหมุดไปอยู่ในเขตพระราชฐานได้อย่างไร” เอกชัยจึงเรียกร้องให้รัฐบาลขุดหมุดหน้าใสออก จากนั้นเขาประกาศในเฟซบุ๊กถึงภารกิจถอน “หมุดหน้าใส” ประมาณวันที่ 22 เมษายน 2560
กระทั่งวันที่ 24 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 16.00 น. ก็มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 6-7 คน แต่งกายนอกเครื่องแบบ นั่งรถตู้มาหาถึงที่บ้านของเอกชัย เริ่มแรกเข้ามาเคาะประตู โดยที่ไม่มีการแสดงหมายค้นใดๆ

 


“เขาก็ถามว่าคุณโพสต์ในเฟซบุ๊กใช่ไหมว่าจะไปยื่นเรื่องถอนหมุดหน้าใส ผมก็บอกว่าจะไป เขาก็บอกว่าไม่ไปได้ไหม จะทำเรื่องให้ ผมก็บอกว่าไม่เอา แล้วเขาก็เลยบอกให้ผมเปิดประตู ผมก็ไม่เปิด… ผมถามบอกเขาเป็นใคร เขาบอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ซึ่งเราดูลักษณะแล้วน่าจะมีทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร เพราะพวกหัวเกรียนๆน่าจะเป็นทหาร ส่วนพวกหัวไม่เกรียนน่าจะเป็นตำรวจ”  

 


จากนั้นตำรวจจึงเรียกเอกชัยออกไปคุยที่หน้าบ้าน ซึ่งทำให้เขาทราบว่า ตำรวจไม่มีหมายค้นจึงเข้าบ้านไม่ได้ ตำรวจพยายามบอกให้เอกชัยเปิดประตูไปพุดคุยหน้าบ้าน แต่เขาไม่ยอมออกเพราะเท่าที่เห็นด้วยสายตาตำรวจมากันหลายคน ไม่นับรวมรถตู้หน้าบ้านที่จอดอีกหลายคัน เกรงว่า จะถูก “อุ้ม” เลยยืนยันว่าไม่ยอมออกไปและบอกว่า ขอคุยผ่านประตู เมื่อคุยไปคุยมาสุดท้ายก็โน้มน้าวเอกชัยว่า “พรุ่งนี้อย่าไปเลย” เขาก็บอกไม่ได้และยืนกรานที่จะไป คุยอยู่สักประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วสุดท้ายเจ้าหน้าที่ก็กลับไป ในครั้งนี้ไม่มีลักษณะของการข่มขู่ แต่เป็นการขอร้องในทำนองว่า ไม่อยากให้ไปทำกิจกรรม

 


วันรุ่งขึ้น (25 เมษายน 2560) เอกชัยยืนยันว่า จะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อขอให้ถอนหมุดหน้าใสออก เอกชัยคาดเดาว่า เจ้าหน้าที่จะต้องมาดักรอเขาอย่างแน่นอนจึงเดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เวลาประมาณ 05.00 น. แล้วก็เป็นอย่างที่คาดการไว้เจ้าหน้าที่มาพบเขาจริงๆ ในเวลา 06.00 น.
 


“พอเดินทางมาถึงหน้าทำเนียบเท่านั้นแหละ มันก็รู้อยู่แล้วว่าเราจะมาก็เลยมาดักรอ แล้วอุ้มเราหน้าทำเนียบ ตอนนั้นอยู่หน้าทำเนียบที่ประตูสี่ เขาก็ถามว่าเราจะเข้าไปทำอะไร เราก็ไม่ตอบ เขาก็รู้อยู่แล้วแหละว่าเราจะมาทำไม พอเขาแน่ใจว่าเป็นเราก็เลยวอไปคุยกะใครไม่รู้ ปรากฏว่ามันก็มากันเป็นขโยงเลย ประมาณสิบกว่าคน แต่งชุดทหารสี่คน แล้วก็เป็นนอกเครื่องแบบอีกกลุ่มหนึ่ง มาจับเราไป ด้วยรถเก๋งธรรมดานี่แหละ แล้วก็พาไป มทบ.11 ตอนแรกบอกจะพาไป สน.ลาดพร้าว เราก็โวยบอกว่าไปทำไม กุไม่ได้ทำอะไรผิด เขาก็บอกไปคุยเฉยๆ เราก็ถามว่าทำไมต้องไป สน. จะแจ้งข้อหาใช่ไหม เราก็เถียงเขาอยู่ในรถ แล้วมันก็พาขึ้นทางด่วน วันนั้นรถค่อนข้างติด พอใกล้ๆ จะถึง สน. ก็มีนายมันโทรมาบอกว่าให้ไป มทบ. 11”
 


เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่ทหารนำตัวเอกชัยไปยังอาคารที่มีการควบคุมตัวบุคคลอื่นๆ เอกชัยเล่าว่า ผู้ที่ถูกปรับทัศนคติคนอื่นๆ จะถูกนำตัวมายังอาคารนี้ ซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ด้านหลังสระใหญ่ๆ แล้วตึกตรงข้ามกับสระ เอกชัยจึงลองเปิด ‘กูเกิ้ลเอิร์ธ’ ดูจึงรู้ว่าเป็นอาคารไหน เพราะสระใหญ่ๆ ใน มทบ.11 มีเพียงสระเดียว  จากนั้นเอกชัยถูกนำตัวไปที่ห้องเล็กๆ ด้านหลังห้องอาหารของนายทหาร เขาเล่าว่า ถ้ามองเผินๆ จะนึกว่าเป็นห้องเก็บของ แต่จริงๆ มันเป็นห้อง มีห้องน้ำ มีโต๊ะ และมีเตียง อยู่ด้านใน พอเข้าไปถึงก็ให้เอกชัยนั่งรอที่โต๊ะ
 


เอกชัยเล่าถึงลักษณะของการพูดคุยว่า “ตอนแรกเขาก็คุยว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่นะ ผมไม่รู้หรอกว่าคุณทำอะไรมา เขาแจ้งบอกว่าจะส่งคุณมาที่นี่ ผมก็มารับคุณ แล้วเขาก็มาอธิบายถึงกฎระเบียบของการอยู่ที่นี่ว่า มีทรัพย์สินอะไร เขาจะไม่ให้เราพก เขาก็เก็บไป จริงๆ มือถือเขายึดเราตั้งแต่อยู่บนรถ แล้วก็มีทหารมาคอยตรวจนับเงินว่ามีเท่าไหร่ แล้วก็เอาใส่ถุง แล้วมีกระดาษมาให้เราเขียนว่ามีรายการทรัพย์สินอะไรบ้าง จดบันทึกเอาไว้ แล้วเขาก็เก็บไป แล้วเขาก็บอกว่าเดี๋ยวจะมีแพทย์มาตรวจร่างกาย ซึ่งเป็นแพทย์ทหาร แล้วเขาก็มาตรวจร่างกายนิดหน่อยๆแล้วก็เขียนใบว่าร่างกายเราปกติ แล้วก็ให้เราเซ็นต์”
 


“แล้วเขาก็บอกว่าเดี๋ยวจะสัมภาษณ์เราต่อ เราก็บอกว่าเราหิวแล้ว เขาเลยบอกว่าเดี๋ยวจะเอาอาหารมาให้ แล้วเขาก็ออกไป แต่มีทหารเข้ามาดูแลเราตลอด เขาไม่ให้เราอยู่คนเดียว แล้วตอนนั้นในห้องหนาวมาก เราก็บอกให้เขาหรี่หน่อย เขาก็บอกหรี่ไม่ได้ สักพักก็เอาข้าวแกงมาให้เรากิน ซึ่งเป็นข้าวแกงของห้องอาหารทหารด้านหน้า ถ้าจำไม่ผิดเป็นแกงเขียวหวานไก่”
 


“พอกินเสร็จก็มีทหารนอกเครื่องแบบ ดูหนุ่มๆหน่อย ยศน่าจะน้อย เขาก็มาสัมภาษณ์ถือคอมพิวเตอร์มาเครื่องหนึ่ง คนหนึ่งก็คอยพิมพ์ แล้วก็สัมภาษณ์ไป นั่งสัมภาษณ์ที่โต๊ะเดิม แล้วผลัดกันซัก…ถามเกี่ยวกับทัศนคติเรา แต่เพิ่งถามไปเพียงไม่กี่คำถาม…ปรากฏว่าบุรินทร์ ทองประไพ (นายทหารพระธรรมนูญ) กับทหาร และตำรวจอีกหนึ่งคน แต่เราไม่รู้ว่าชื่ออะไรเพราะแต่งกายนอกเครื่องแบบมา มีแต่บุรินทร์ที่ใส่ชุดเครื่องแบบมา เข้ามาถึงก็มาไล่สองคนนี้ออกไป บอกว่ามีเรื่องจะคุยกับเรา”
 


เขาเล่าต่อว่า ตำรวจและทหารนั่งอยู่ฝั่งตรงข้าม ส่วนบุรินทร์ มานั่งข้างๆ และไม่พูดอะไร เล่นโทรศัพท์ แล้วมีอยู่ตอนหนึ่งเล่นโทรศัพท์อยู่ก็บอกว่า “อานนท์(นำภา) โพสต์แล้วนะ ว่าคุณอยู่ มทบ.11” ส่วนตำรวจพยายามขู่เรา แล้วเข้าเฟซบุ๊กเราทำสีหน้าไม่ค่อยดี แล้วบอกว่า “คุณโพสต์แบบนี้ เข้าข่ายหมิ่นฯ(มาตรา 112)นะ...โพสต์แบบนี้คุณหมายถึงใคร เราก็บอกหมายถึงทหาร เขาก็บอกทหารแน่นะ แล้วก็พูดเหมือนกับว่าไม่พอใจม็อบ บอกว่าเข้าเป็นตำรวจต้องไปดูแลม็อบ เขาเหนื่อย เขาไม่พอใจ…แล้วเขาก็เริ่มถามความเห็นว่านึกยังไงไปเคลื่อนไหว คุณมีเป้าหมายอะไร เคยโดน 112 มาแล้วไม่ใช่เหรอ อยากโดนอีกไหม”


“ส่วนทหารอีกคนก็ไม่ค่อยคุยอะไร ก็พูดขู่ๆ ว่าระวังจะโดนข้อหานะ คุณโพสต์แบบนี้หมายความว่าไง”

 


“คนที่เป็นตำรวจแรกๆ ใช้น้ำเสียงไม่ค่อยดี แต่พอหลังเราเริ่มคุยด้วยก็ใช้น้ำเสียงดีละ เราอธิบายไง แล้วเขาเข้าใจ ตอนแรกเขาเข้าใจว่า เราเป็นพวกล้มเจ้า แล้วเขาไม่พอใจไง”
 


“กระบวนการในค่ายทหารแบบนี้กับคนอื่นไม่รู้นะ แต่กับเราเหมือนกับการมาซักว่าเราคิดยังไง ทำไมถึงออกมาเคลื่อนไหว เหมือนอยากรู้ข้อมูลจากเรา แล้วก็ขู่ว่าคุณโพสต์แบบนี้ระวังจะโดน 112 อีก…พอคุยเสร็จพวกนี้ก็ออกไป แล้วสองคนที่สัมภาษณ์เราในตอนแรกก็เข้ามาสัมภาษณ์เราต่อ”
 


“ตอนนั้นหนาวมาก ก็เลยบอกว่าปิดแอร์ได้ไหม พอปิดก็ร้อน ก็เลยพาเราออกมาข้างนอก แล้วทีนี้ก็มีทหารมานั่งฟังด้วย เขาก็ซักบอกว่าเราต้องการอะไร จะเสนอความเห็นอะไร เขาก็พิมพ์ๆ ของเขาไป ซักพักบุรินทร์ก็มานั่งข้างๆ พอสัมภาษณ์เสร็จ บุรินทร์ก็บอกว่า อานนท์โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถ้าไม่ปล่อยตัวเอกชัยจะรวมตัวกันไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยหรือไงนี่แหละ”
 


หลังจากที่ทหารทราบข่าวว่า อานนท์ นำภา ทนายความจะไปเรียกร้องให้ปล่อยตัวเอกชัย เอกชัยเล่าว่า ทหารได้มีการปรึกษากันว่าจะปล่อยตัวไหม ซึ่งผลก็คือเอกชัยได้รับการปล่อยตัวในวันนั้น จึงไม่ต้องอยู่ในค่ายทหารต่อ “เขาก็บอกว่าเดี๋ยวถามนายก่อนว่าจะปล่อยไหม เขาก็สั่งทหารสองคนนั้นว่าให้เงินเราไป 2,000 บาท ให้เอาเงินไปซื้อกระเช้าผลไม้ให้แม่ แล้วก็บอกเราว่าเด่ยวจะให้ทหารไปส่งที่บ้าน ประมาณ 16.00 น. ถึงจะปล่อยตัวเรา…ก่อนจะกลับให้เราเซ็นต์ MOU ซึ่งคล้ายกับที่คนอื่นๆ เซ็นต์ที่มีการระบุว่าห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง พูดถึงเร่องการอายัดบัญชี”


การเดินทางกลับจากค่ายทหารมีนายทหาร 2 คน ขับรถออกมาส่ง ซึ่งเป็นรถเก๋งสีดำ จอดอยู่ด้านหลังอาคาร ไม่ได้มีการปิดตา หลังจากนั้นได้กลับไปที่ มทบ. 11 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อขอถ่ายสำเนา MOU เอาไว้ ปิยดลแจ้งว่า ไม่ต้องถ่ายหรอกไม่มีอะไร ฉีกทิ้งเลยก็ได้ แล้วปิยดลก็ฉีกทิ้ง แล้วก็จบ

 


ครั้งที่สองของการปรับทันคติก็ยังเป็นเรื่องหมุดคณะราษฎร
 


เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2560 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สถานที่ที่มีการฝังหมุดคณะราษฎร ก่อนที่จะหายไปอย่างไร้ร่องรอย เอกชัยเดินเข้าไปด้วยความมึนงงที่พระบรมรูปฯ มีการวางกระถางต้นไม้เต็มบริเวณนั้น พอเราจะเดินเข้าไปมีตำรวจตั้งเต้นท์นอกเครื่องแบบ เป็นเสื้อขาวหมด แล้วเขาตะโกนเรียกชื่อว่า “เอกชัย มาทำอะไร” เอกชัยจึงบอกว่า จะนำหมุดจำลองฯมาวาง ตำรวจจึงก็พาเขามานั่งที่เต้นท์ พูดคุยแล้วก็มีรถตู้มารับตัวเขาไปที่ มทบ.11
 


เอกชัยเล่าว่า “การควบคุมตัวเขาไป มทบ.11 ในครั้งนี้ไม่มีการปิดตา แต่มีตำรวจนั่งมาบนรถตู้ รอบนี้เป็นตำรวจทั้งรถเลย ตอนแรกบอกจะพาเราไปที่ไหนไม่รู้ แล้วก็สุดท้ายก็พาไป มทบ.11 เหมือนกับสับขาหลอก แต่ครั้งนี้ไม่มีการยึดมือถือเรา วันนั้นบอกทั้งอานนท์(นำภา) และนักข่าว คุณประวิตร โรจนพฤกษ์”
 


“ไปถึงก็พาไปห้องเดิม แล้วเจอคนเดิมด้วย(คนที่มาต้อนรับ) คือ ปิยดล แต่วันนั้นเนวันหยุด(วันเสาร์) เขาเลยแต่งชุดวอร์ม แล้วก็พาเราไปเข้าห้องอีกห้องหนึ่ง คนละห้องกับคราวที่แล้ว เราก็ถามว่าทำไมไม่พาไปห้องเดิม เขาก็บอกเราว่ามีคนอยู่”
 


“รอบนี้ดุเดือด ตำรวจที่ชื่อ เดอะเต่ามา ไอ้นี่มันข่มขู่เราใหญ่เลย…ขึ้นมึงขึ้นกูตลอดเลย…ตอนแรกจะเป็นตำรวจสันติบาลก่อนสองคน มาสัมภาษณ์เรา คล้ายๆกับครั้งแรก คือมีการเอาทรัพย์สินให้เขาไปทำบัญชี แล้วก็พาหมอมาตรวจ กว่าจะได้สัมภาษณ์รู้สึกจะสิบเอ็ดโมงมั้ง ก็มีเจ้าหน้าที่สองคนนอกเครื่องแบบถือคอมพิวเตอร์มาสัมภาษณ์อีก…สักพักเดอะเต่าก็มา มากับลูกน้องสี่คน มาถึงก็ข่มขู่เราสารพัดเลย รู้ไหมเดี๋ยวจะโดนข้อหาบุกรุกพระราชฐาน เราก็บอกว่าตรงนั้นมันถนนมันจะเป็นเขตพระราชฐานได้ยังไง ถ้าเขตพระราชฐานรถที่วิ่งก็โดนจับกันหมดดิ มันก็เลยโมโหเดินออกมาจากห้อง แล้วให้ลูกน้องสี่คนถามเราต่อ เราก็ไม่ตอบแล้วทีนี้ ถามแต่อะไรซ้ำๆ ซากๆ พ่อแม่ชื่ออะไร วนเวียนมันอยู่อย่างนี้ เราก็บอกว่ารำคาญ คุณก็มีข้อมูลอยู่แล้ว จะถามซ้ำๆ ซากๆทำไม”


เอกชัยเล่าว่ามีการคุยกันเรียบร้อยแล้วว่าจะปล่อยตัวเขา แต่ตำรวจที่อยู่อีกชุดหนึ่งบอกว่า "นายเขาโกรธมาก"
 


เอกชัยเล่าว่า "ตำรวจบอกว่ายังไงก็ต้องโดนข้อหาสักข้อหาหนึ่ง…มันก็บอกจะแจ้งข้อหาไม่พกบัตรประชาชน เราก้บอกมีข้อหานี้ด้วยหรอ เขาก็บอกมี เราก็บอกว่าแต่กูมีบัตรประชาชน มันก็บอกว่ายังไงก็ต้องตั้งข้อกล่าวหา เขาก็บอกว่าเออหนะข้อหานี้แค่จ่ายค่าปรับเดี๋ยวกูออกให้มึงก็ได้ เราก็ไม่ยอม เพราะเราไม่ได้ทำอะไรผิดมายัดข้อหาเราทำไม เราไยอมรับ เขาก็บอกว่าจะยึดหมุดเราแบบไม่คืน เราก็บอกมึงมายึดได้ยังไง ไม่ได้ทำอะไรผิด ของก็ไม่ใช่ของกลาง สุดท้ายก็ปล่อยเราประมาณหกโมงเย็น ก็ปล่อยกลับแบบไม่แจ้งข้อหาอะไร แต่ว่ายึดหมุดจำลองไป แล้วก็เหมือนเดิมคือเอารถมาส่งที่บ้าน”
 


ถูกอุ้มไปสำนักงานเขต 1 ครั้ง
 


เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ครั้งนี้เอกชัยไปยื่นเรื่องขอให้ตั้งวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ โดยเขาโพสต์เฟซบุ๊กแจ้งว่า จะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล ปรากฏว่า วันเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็มา “อุ้ม” ตั้งแต่หน้าบ้านไปที่สำนักงานเขต กักตัวเราไว้ในห้องบอกว่าจะมีเจ้าหน้าที่มารับเรื่อง เอกชัยกล่าวว่า ทหารที่มาคุยด้วยคือทหารที่ประจำอยู่ที่สำนักงานเขตบางกระปิ ใส่ชุดทหาร

 


“เขาบอกว่าคุณยื่นตรงนี้ก็ได้ แต่เราบอกว่าเราจะไปยื่นที่ทำเนียบฯ เขาก็บอกยื่นตรงนี้เหมือนกัน เราก็ไม่ยอม…ยื้อกันไปถึงประมาณบ่ายสองได้ ถึงจะออกมา สุดท้ายก็ยื่นตรงนี้ แต่ผมบอกว่าผมไม่ยื่นนะ คุณอยากได้ผมก็ให้ แต่ผมถือว่าไม่ยื่น เดี๋ยววันหลังผมไปยื่นของผมเอง”
 


ปรับทัศนคติรอบที่สี่ พาไปทัวร์กาญจนบุรี หลังโพสต์ใส่เสื้อแดง

 วันที่ 20 ตุลาคม 2560 เอกชัยโพสต์ว่า "26 นี้ผมจะสวมเสื้อแดง และจะทำในสิ่งที่ใครคาดไม่ถึง" เอกชัยกล่าวว่า ตอนนั้นกลายเป็นประเด็นดราม่าถูกด่าเต็มไปหมด กระทั่ง 24 มิถุนายน 2560 มีเจ้าหน้าที่บุกมากันเต็มบ้าน มาลากตัวออกไปจากบ้าน

 


“มันลากเราจนล้ม แล้วเราก็เป็นแผล เราเลยโมโห เพราะเราสู้ไม่ยอมจะไป แล้วทหารอีกคนหนึ่งมาบอกว่า เห้ยมึงพูดจาดีๆ หน่อย เราเลยด่ากลับว่า โหยxxxxมึงลากกูจนล้มเป็นแผลจะให้กูพูดจากับมึงดีๆ หรอ มึงคิดว่าเป็นทหารแล้วกูกลัวหรอ ด่ามันชุดใหญ่เลย ทั้งxxxxลอยเต็มไปหมด มันก็บอกว่าเดี๋ยวจะมีรถมารับ เราก็บอกขอปิดประตูก่อน มันก็บอกไม่ได้ เราก็บอกว่ามึงบ้าหรือเปล่าให้กูออกจากบ้านโดยไม่ต้องปิดประตู แล้วเปิดประตูอ้าไว้อย่างนั้น ก็เลยด่ามันอีก สักพักก็มีตำรวจมาอีกสิบเอ็ดคน เอากลับเข้าไปในบ้านอีก เราก็เลยด่าว่า มึงจะมาหากูมึงก็มาดีๆ ทำไมต้องใช้วิธีรุนแรงแบบนี้ เขาก็บอกขอโทษเรา เราก็บอกขอโทษแล้วหายไหม”

 


“พล.ต.ต.สราวุฒิ การพานิช (ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล) โทรมา เขาก็ถามว่าถ้าให้เลือกระหว่างไปค่ายทหารกับไปกาญจบุรี จะไปที่ไหน เราก็บอกไม่ไปทั้งคู่ เขาก็บอกไม่ไปไม่ได้ ยังไงก็ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็บอกงั้นเลือกไปกาญจนบุรีแล้วกัน ก็พาไปเดี๋ยวนั้นเลย”
 

ชนิดบทความ: