เปิดคำเบิกความ กรณีวอยซ์ ทีวีขอศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินทุเลาคำสั่งกสทช.

15 กุมภาพันธ์ 2562 ศาลปกครองนัดไต่สวนฉุกเฉิน กรณีสถานีโทรทัศน์วอยซ์ ทีวี ยื่นฟ้องกสทช. ต่อศาลปกครองและขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทุเลาการบังคับตามคำสั่งของกสทช. ให้สามารถออกอากาศได้ก่อนมีคำพิพากษาเพื่อทุเลาผลกระทบต่อธุรกิจของสถานีฯและผลกระทบต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน

เวลา 10.00 น. ตุลาการศาลปกครองเริ่มทำการไต่สวนโดยสอบถามรายละเอียดว่า วอยซ์ ทีวี ในฐานะผู้ฟ้อง และกสทช. ในฐานะผู้ถูกฟ้องมีผู้ใดในสองฝ่ายนี้จะให้การบ้าง วอยซ์ ทีวีระบุว่า มีเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสถานีโทรทัศน์วอยซ์ ทีวี, ประทีป คงสิบ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายข่าวและเนื้อหารายการ สถานีโทรทัศน์วอยซ์ ทีวี, อธึกกิต แสวงสุข ผู้ดำเนินรายการ, ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้ดำเนินรายการ และทนายความผู้รับมอบอำนาจจากวอยซ์ ทีวีเป็นผู้ชี้แจง ขณะที่ฝ่ายกสทช. มีสมบัติ ลีลาพตะ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ กสทช. และผู้รับมอบอำนาจอีกสองคนร่วมเป็นผู้ชี้แจงด้วย

ตุลาการฯ อธิบายว่า วันนี้จะไต่สวนในสามประเด็นคือ หนึ่ง คำสั่งกสทช.ออกมาไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร? สอง สืบเนื่องจากวอยซ์ ทีวี มีคำขอให้ศาลทุเลาคำสั่งของกสทช. อันเป็นการเยียวยาก่อนมีคำพิพากษา ตามปกติแล้วคำพิพากษาจะเป็นการเยียวยา แต่เยียวยาไม่ทันต่อเวลา ดังนั้นศาลอยากทราบความยากของการเยียวยาในกรณีนี้ และสาม กสทช. ใช้อำนาจปกครองในการออกคำสั่งระงับการออกอากาศวอยซ์ ทีวี ถ้าศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่ง กสทช.จะเผชิญอุปสรรคต่อการบริหารราชการอย่างไร?


พร้อมกับชี้แจงว่า ตามขั้นตอนปกติของศาลปกครองอาจมีระยะเวลาสองปีถึงจะสามารถมีคำพิพากษาได้ แต่เห็นว่า เป็นเรื่องที่มีความเร่งด่วนในการพิจารณาคดี เข้าข่ายข้อกำหนดตามที่ประชุมใหญ่ของศาลปกครองสูงสุดให้สามารถใช้วิธีการเร่งด่วนได้ เนื่องจากคำสั่งมีผลในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 และจะสิ้นสุดในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 หากคำพิพากษาออกมาช้ากว่านั้นก็จะไม่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตามตุลาการฯจำเป็นจะต้องเสนออธิบดีศาลปกครองก่อน หากสามารถทำตามข้อกำหนดการพิจารณาเร่งด่วนได้ ศาลจะนัดไต่สวนคดีในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 และวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 โดยจะมีคำพิพากษาในวันเดียวกันเลย


ประกาศคสช.มีเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในกิจการกระจายเสียงและถือเป็นกฎหมาย


ตุลาการฯ ขอให้กสทช. อธิบายขั้นตอนกฎหมายในการออกคำสั่ง สมบัติ ลีลาพตะ ผู้รับมอบอำนาจจากกสทช. ระบุว่า การอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงเป็นกรณีที่มีความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2553 (พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ) , พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 (พ.ร.บ. ประกอบกิจการฯ) โดยให้กรอบอำนาจกสทช.ในการออกใบอนุญาตและให้กำกับดูแล, ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง  กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง  หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 2555

นอกจากนี้มีประกาศคสช.ที่ 97/2557 แก้ไขเป็นประกาศคสช.ที่ 103/2557 มีสถานะเป็นกฎหมาย โดยในข้อ 3(5) ระบุว่า ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน  ยั่วยุ  ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง  หรือสร้างให้เกิด ความแตกแยกในราชอาณาจักร และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 41/2559 ระบุให้การเผยแพร่เนื้อหาต้องห้ามตามประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 เป็นความผิดตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ 

และกล่าวต่อว่า กสทช. กำหนดเงื่อนไขในวันที่ 25 เมษายน 2557 เงื่อนไขข้อ 18 ระบุว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประกอบกิจการตามที่กำหนดและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด รวมถึงคำสั่งของกสทช.ที่มีขึ้นในภายหลัง ขณะที่ประกาศคสช.ที่ 15/2557 มีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม รวมถึงวอยซ์ ทีวีที่เป็นดิจิทัลทีวี ในการพิจารณาให้กลับมาออกอากาศมีการทำเป็นบันทึกข้อตกลง  กำหนดไว้ว่า ให้ถือเป็นเงื่อนไขในการอนุญาต เห็นได้ว่า วอยซ์ ทีวียอมรับว่า เป็นเงื่อนไข

ตุลาการฯ ถามว่า กฎหมายให้ถือคำสั่งเป็นหลัก ทำไมต้องทำในรูปแบบบันทึกข้อตกลง? 

สมบัติ ตอบว่า เป็นขั้นตอนในการพิจารณา ทำบันทึกข้อตกลงให้รับทราบทั้งสองฝ่ายว่า จะต้องไม่มีเนื้อหาอะไรบ้าง ซี่งก็เป็นเนื้อหาเดียวกันกับประกาศ คสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557

ตุลาการฯถามว่า กสทช.มีอำนาจในการแก้ไขอยู่แล้ว ที่มีข้อสงสัยคือทางวอยซ์ ทีวี ไม่ยอมรับข้อตกลงนี้ มีรายละเอียดว่า ให้ถือเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงข้อ 2 (ห้ามออกอากาศเนื้อหาต้องห้ามตามระบุ) เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้ความถี่ ประเด็นนี้ทนายความ ผู้รับมอบอำนาจจากวอยซ์ ทีวีกล่าวว่า กรณีข้อ 4 ของบันทึกข้อตกลง การแก้ไขเพิ่มเติมกสทช.จะต้องออกฝ่ายเดียว ไม่อาจออกเป็นสัญญาในการแก้ไข ลักษณะดังกล่าวผิดรูปแบบตามหลักวิธีการปฏิบัติตามปกครอง

ตุลาการฯ อธิบายว่า วันนี้จะไต่สวนในสามประเด็นคือ หนึ่ง คำสั่งกสทช.ออกมาไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร? สอง สืบเนื่องจากวอยซ์ ทีวี มีคำขอให้ศาลทุเลาคำสั่งของกสทช. อันเป็นการเยียวยาก่อนมีคำพิพากษา ตามปกติแล้วคำพิพากษาจะเป็นการเยียวยา แต่เยียวยาไม่ทันต่อเวลา ดังนั้นศาลอยากทราบความยากของการเยียวยาในกรณีนี้ และสาม กสทช. ใช้อำนาจปกครองในการออกคำสั่งระงับการออกอากาศวอยซ์ ทีวี ถ้าศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่ง กสทช.จะเผชิญอุปสรรคต่อการบริหารราชการอย่างไร?

พร้อมกับชี้แจงว่า ตามขั้นตอนปกติของศาลปกครองอาจมีระยะเวลาสองปีถึงจะสามารถมีคำพิพากษาได้ แต่เห็นว่า เป็นเรื่องที่มีความเร่งด่วนในการพิจารณาคดี เข้าข่ายข้อกำหนดตามที่ประชุมใหญ่ของศาลปกครองสูงสุดให้สามารถใช้วิธีการเร่งด่วนได้ เนื่องจากคำสั่งมีผลในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 และจะสิ้นสุดในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 หากคำพิพากษาออกมาช้ากว่านั้นก็จะไม่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตามตุลาการฯจำเป็นจะต้องเสนออธิบดีศาลปกครองก่อน หากสามารถทำตามข้อกำหนดการพิจารณาเร่งด่วนได้ ศาลจะนัดไต่สวนคดีในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 และวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 โดยจะมีคำพิพากษาในวันเดียวกันเลย

ประกาศคสช.มีเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในกิจการกระจายเสียงและถือเป็นกฎหมาย

ตุลาการฯ ขอให้กสทช. อธิบายขั้นตอนกฎหมายในการออกคำสั่ง สมบัติ ลีลาพตะ ผู้รับมอบอำนาจจากกสทช. ระบุว่า การอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงเป็นกรณีที่มีความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2553 (พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ) , พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 (พ.ร.บ. ประกอบกิจการฯ) โดยให้กรอบอำนาจกสทช.ในการออกใบอนุญาตและให้กำกับดูแล, ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง  กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง  หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 2555

นอกจากนี้มีประกาศคสช.ที่ 97/2557 แก้ไขเป็นประกาศคสช.ที่ 103/2557 มีสถานะเป็นกฎหมาย โดยในข้อ 3(5) ระบุว่า ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน  ยั่วยุ  ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง  หรือสร้างให้เกิด ความแตกแยกในราชอาณาจักร และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 41/2559 ระบุให้การเผยแพร่เนื้อหาต้องห้ามตามประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557 เป็นความผิดตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ

และกล่าวต่อว่า กสทช. กำหนดเงื่อนไขในวันที่ 25 เมษายน 2557 เงื่อนไขข้อ 18 ระบุว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประกอบกิจการตามที่กำหนดและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด รวมถึงคำสั่งของกสทช.ที่มีขึ้นในภายหลัง ขณะที่ประกาศคสช.ที่ 15/2557 มีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม รวมถึงวอยซ์ ทีวีที่เป็นดิจิทัลทีวี ในการพิจารณาให้กลับมาออกอากาศมีการทำเป็นบันทึกข้อตกลง  กำหนดไว้ว่า ให้ถือเป็นเงื่อนไขในการอนุญาต เห็นได้ว่า วอยซ์ ทีวียอมรับว่า เป็นเงื่อนไข

ตุลาการฯ ถามว่า กฎหมายให้ถือคำสั่งเป็นหลัก ทำไมต้องทำในรูปแบบบันทึกข้อตกลง?

สมบัติ ตอบว่า เป็นขั้นตอนในการพิจารณา ทำบันทึกข้อตกลงให้รับทราบทั้งสองฝ่ายว่า จะต้องไม่มีเนื้อหาอะไรบ้าง ซี่งก็เป็นเนื้อหาเดียวกันกับประกาศ คสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557

ตุลาการฯถามว่า กสทช.มีอำนาจในการแก้ไขอยู่แล้ว ที่มีข้อสงสัยคือทางวอยซ์ ทีวี ไม่ยอมรับข้อตกลงนี้ มีรายละเอียดว่า ให้ถือเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงข้อ 2 (ห้ามออกอากาศเนื้อหาต้องห้ามตามระบุ) เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้ความถี่ ประเด็นนี้ทนายความ ผู้รับมอบอำนาจจากวอยซ์ ทีวีกล่าวว่า กรณีข้อ 4 ของบันทึกข้อตกลง การแก้ไขเพิ่มเติมกสทช.จะต้องออกฝ่ายเดียว ไม่อาจออกเป็นสัญญาในการแก้ไข ลักษณะดังกล่าวผิดรูปแบบตามหลักวิธีการปฏิบัติตามปกครอง