1194 1315 1119 1520 1489 1555 1089 1372 1646 1603 1226 1457 1429 1475 1890 1457 1030 1298 1335 1587 1941 1402 1758 1193 1422 1006 1625 1042 1315 1409 1315 1288 1638 1497 1405 1797 1225 1377 1975 1385 1366 1046 1856 1043 1607 1376 1319 1268 1252 1931 1849 1003 1928 1056 1951 1299 1834 1307 1434 1861 1805 1963 1902 1081 1997 1811 1740 1919 1195 1569 1416 1463 1213 1939 1121 1687 1036 1050 1882 1091 1144 1723 1718 1552 1616 1059 1989 1281 1293 1849 1018 1341 1185 1993 1523 1944 1987 1552 1308 เจ้าของเพลง #ประเทศกูมี เตรียมรับรางวัลที่นอร์เวย์ ส่วนนักกิจกรรมสองคนเตรียมขึ้นศาลเพราะเปิดเพลง #ประเทศกูมี หน้ากองทัพบก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เจ้าของเพลง #ประเทศกูมี เตรียมรับรางวัลที่นอร์เวย์ ส่วนนักกิจกรรมสองคนเตรียมขึ้นศาลเพราะเปิดเพลง #ประเทศกูมี หน้ากองทัพบก

วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เฟซบุ๊กเพจ Rap Against Dictatorship ซึ่งเป็นเพจของศิลปินเพลงแร๊พเจ้าของผลงานเพลง #ประเทศกูมี โพสต์ข้อความว่าพวกเขาได้รับรางวัล Václav Havel Prize for Creative Dissent ซึ่งเป็นรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนที่จะมีพิธีมอบในงาน Oslo Freedom Forum ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยรางวัลดังกล่าวจะมีการมอบให้กับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการคัดค้านความอยุติธรรม ทางกลุ่มจึงส่งตัวแทนศิลปินส่วนหนึ่งไปรับมอบรางวัล
 
เพลง "ประเทศกูมี" ถือเป็นหนึ่งในปรากฎการณ์แห่งปี 2561 เพลงประเทศกูมีเป็นเพลงแร๊พที่ใช้เหตุการณ์หกตุลาเป็นแบ็คกราวด์ของมิวสิควิดีโอ ขณะที่แร๊พเปอร์แต่ละคนจะหมุนเวียนกันเข้ามาร้องเพลงในส่วนของตัวเองซึ่งเนื้อหาเป็นการเสียดสีการเมืองร่วมสมัย เพลงประเทศกูมีถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ยูทูปในวันที่ 22 ตุลาคม 2561 ซึ่งจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคน 2562 เวลา 12.37 น. เพลง ประเทศกูมี มียอดรับชมบนยูทูปแล้ว 64,113,184 ครั้ง 
 
กระแสของเพลง "ประเทศกูมี" ร้อนจนถึงขั้นมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเช่น พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเคยแสดงความเห็นว่า ในส่วนรัฐบาล รู้สึกเสียใจ เพราะสุดท้ายความเสียหายตกอยู่กับประเทศ ขณะที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร.ที่ดูแลงานด้านความมั่นคงระบุว่าเนื้อเพลงอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายถึง 50% และทางตำรวจจะทำการตรวจสอบว่าเข้าข่ายขัดคำสั่งคสช.หรือไม่ 
 
แม้ว่าท้ายที่สุดจะไม่มีการดำเนินคดีหรือสั่งแบนการเผยแพร่เพลงประเทศกูมี แต่ก็มีนักกิจกรรมสองคนที่ถูกดำเนินคดีจากการนำเพลงประเทศกูมีไปเปิดเพื่อประท้วง ผบ.ทบ. ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์กับสื่อหลังมีนักการเมืองหาเสียงทำนองว่าจะปรับลดงบกองทัพว่า ให้ไปฟังเพลง "หนักแผ่นดิน" รวมทั้งมีแนวคิดที่จะให้สถานีวิทยุในเครือกองทัพบกเปิดเพลงหนักแผ่นดินในบางช่วงรายการ (ต่อมาแนวคิดนี้ถูกยกเลิกไป) 
 
นักกิจกรรมทางการเมืองสองคนได้แก่เอกชัยและโชคชัยประกาศว่าทั้งสองจะไปทำกิจกรรมที่หน้ากองทัพบกเพื่อประท้วงแนวคิดของ ผบ.ทบ. ด้วยการเปิดเพลงประเทศกูมีพร้อมทั้งจำลองเหตุการณ์ 6 ตุลา ด้วยการใช้เก้าอี้เหล็กตีตุ้กตาหมีที่ถูกแขวนไว้อย่างไรก็ตามเมื่อนักกิจกรรมทั้งสองเตรียมจะทำกิจกรรมตามที่ประกาศไว้ก็ถูกขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่ เมื่อเขานำตุ๊กตาหมีไปแขวนกับต้นไม้เจ้าหน้าที่ก็ปลดออกและยึดตุ๊กตาไป 
 
เอกชัยจึงใช้เก้าอี้ทำท่าตีโชคชัยเพื่อจำลองเหตุการณ์แทนพร้อมทั้งเปิดเพลงประเทศกูคลอไปด้วย แต่หลังจากทั้งสองทำกิจกรรมได้เพียงครู่เดียวเจ้าหน้าที่ก็เปิดเพลงพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่เก้า "ความฝันอันสูงสุด" กลบเสียงเพลงประเทศกูมีก่อนจะเชิญตัวทั้งสองไปตั้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานไม่แจ้งการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ทั้งสองให้การปฏิเสธขณะนี้คดีอยู่ในชั้นศาลซึ่งศาลแขวงดุสิตจะสืบพยานคดีนี้ระหว่างวันที่ 3 - 4 กรกฎาคม 2562 
 
ทั้งนี้เพลงหนักแผ่นดินที่เป็นเหตุแห่งการประท้วงเป็นเพลงที่ใช้ปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังต่อนักศึกษาในช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ขณะที่เพลงประเทศกูมีก็มีการนำภาพจำลองเหตุการณ์ 6 ตุลามาเป็นเบื้องหลังของมิวสิควิดีโอเพื่อเสียดสีสังคมไทย 
 
ดูรายละเอียดคดี เอกชัย เปิดเพลงประเทศกูมีหน้ากองทัพบก >>> https://freedom.ilaw.or.th/th/case/863
 
ดูเรื่องราวแวดล้อมเพลง ประเทศกูมีใน รายงาน 5 ปี คสช. เพราะคุณอยู่เราจึงปรากฎ 2: จากความอึดอัดสู่แรงบันดาลใจในงานศิลป์ >>> https://freedom.ilaw.or.th/node/696
 
ดู RAD ส่งตัวแทนรับรางวัลที่ประเทศนอร์เวย์ >>> https://www.facebook.com/rapagainstdictatorship/photos/a.374965666244979/583469578727919/?type=3&theater