1546 1073 1021 1643 1109 1224 1621 1493 1394 1273 1838 1432 1652 1355 1602 1798 1865 1069 1957 1498 1040 1372 1263 1821 1300 1573 1259 1322 1519 1174 1555 1269 1844 1307 1050 1866 1527 1753 1102 1448 1668 1540 1024 1840 1540 1666 1986 1515 1273 1629 1627 1414 1733 1946 1740 1237 1414 1335 1641 1984 1187 1275 1583 1001 1613 1179 1124 1394 1760 1692 1733 1908 1708 1585 1417 1528 1217 1778 1594 1656 1409 1446 1428 1389 1179 1687 1010 1058 1837 1066 1212 1859 1398 1229 1415 1198 1721 1356 1484 แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง คดี #RDN50 เตรียมฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 116 ที่ศาลอาญาพรุ่งนี้ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง คดี #RDN50 เตรียมฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 116 ที่ศาลอาญาพรุ่งนี้

 
 
 
20 กันยายน 2562 เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดหกแกนนำคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ถนนราชดำเนินฟังคำพิพากษาคดียุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 คดีนี้มีจำเลยหกคนคือ สิรวิชญ์, กาณฑ์, อานนท์, ณัฏฐา, สุกฤษฏ์และชลธิชา เหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย จัดการชุมนุมที่ถนนราชดำเนินเพื่อเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า "หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ" โดยในวันเกิดเหตุมีผู้เข้าร่วมการชุมนุมที่บริเวณร้านแมคโดนัลด์ ถนนราชดำเนินประมาณ 300 ถึง 500 คน
 
 
หลังเสร็จสิ้นชุมนุม เจ้าหน้าที่ออกหมายเรียกผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 49 คนมารับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 รวม 49 คน ในจำนวนนั้นมีผู้ต้องหาเจ็ดคนที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นแกนนำและมีพฤติการณ์ปราศรัยปลุกระดมประชาชนได้แก่ รังสิมันต์, สิรวิชญ์, กาณฑ์, อานนท์, ณัฏฐา, สุกฤษฏ์และชลธิชา ทั้งหมดถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เพิ่มเติมจากข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. คดีของทั้งเจ็ดถูกแยกมาฟ้องที่ศาลอาญาในขณะที่ผู้เข้าร่วมการชุมนุม 42 คนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เพียงข้อหาเดียวถูกฟ้องต่อศาลแขวงดุสิต ในเวลาต่อมารังสิมันต์หนึ่งในเจ็ดจำเลยคดีแกนนำถูกแยกออกไปฟ้องเป็นอีกสำนวนคดีหนึ่งเนื่องจากเขาได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.และคดีนี้มีการพิจารณาระหว่างที่สภาอยู่ในสมัยประชุม
 
 
1178
 
ในการสืบพยาน โจทก์นำพยานเข้าสืบแปดปากคือ ผู้กล่าวหา, เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่ร่วมทำงานสังเกตการณ์ในวันการชุมนุมและพนักงานสอบสวน พยานโจทก์หลายปากให้การไปในแนวทางเดียวกันว่า การชุมนุมดังกล่าวเป็นไปโดยสงบ ขณะที่ตำรวจที่เป็นผู้ตั้งด่านตรวจตราประชาชนก่อนเข้าการชุมนุมก็เบิกความต่อศาลว่า เท่าที่ทำการตรวจสอบไม่พบว่ามีผู้ชุมนุมพกพาอาวุธเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม นอกจากนั้นหลังการชุมนุมแกนนำและผู้ชุมนุมต่างแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความเรียบร้อยดี และไม่ปรากฏว่า มีผู้ใดออกมากระทำความผิดกฎหมายโดยมีมูลเหตุจากการปราศรัยที่เป็นเหตุแห่งคดีนี้ด้วย
 

ฝ่ายจำเลยนำพยานเข้าสืบรวมเจ็ดปากโดยมีจำเลยทั้งหกอ้างตัวเองเป็นพยาน และมีชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ มีข้อน่าสังเกตว่า ก่อนการสืบพยานจำเลยปากแรก อัยการได้นำส่งเอกสารเพิ่มเติมเป็นบทความของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่เขียนในลักษณะว่า ระบอบเผด็จการอาจเหมาะสมกับสังคมไทยมากกว่าระบอบประชาธิปไตย ฝ่ายจำเลยไม่คัดค้านการส่งเอกสารเพิ่มเติมของอัยการ โดยระหว่างการสืบพยานจำเลย อัยการนำบทความดังกล่าวมาถามค้านพยานจำเลยบางปากเพื่อนำสืบให้จำเลยรับว่า มีบทความแบบนี้อยู่จริง
 
อานนท์ ซึ่งเป็นทนายและเป็นจำเลยในคดีนี้เบิกความตอนหนึ่งต่อศาลว่า ขออย่ารับฟังบทความที่อัยการส่งเข้าสำนวนเพิ่ม เนื่องจากเอกสารดังกล่าวอยู่นอกสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่ความคิดเห็นของพนักงานสอบสวน และบทความดังกล่าวก็เป็นของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่ปฏิปักษ์อย่างชัดแจ้งต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ขณะที่อัยการโต้แย้งว่าไม่มีกฎหมายใดห้ามให้อัยการนำเอกสารนอกสำนวนยื่นต่อศาล
 
 
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
อ่านรายละเอียดคดีเพิ่มเติมที่นี่ : https://freedom.ilaw.or.th/case/826