1568 1133 1082 1106 1129 1650 1472 1541 1260 1158 1479 1237 1175 1820 1866 1946 1035 1104 1696 1633 1773 1392 1230 1647 1290 1332 1962 1695 1277 1710 1909 1575 1735 1060 1891 1256 1977 1907 1581 1697 1359 1640 1598 1458 1849 1017 1823 1701 1272 1989 1455 1826 1893 1638 1286 1345 1363 1966 1319 1837 1591 1926 1447 1972 1387 1882 1205 1272 1439 1572 1244 1370 1902 1570 1759 1389 1261 1763 1940 1427 1695 1168 1015 1999 1350 1179 1487 1203 1885 1609 1180 1992 1311 1149 1489 1578 1885 1084 1186 ศาลอาญายกฟ้องหกแกนนำอยากเลือกตั้งราชดำเนิน ชี้การชุมนุมไม่ปลุกปั่น คำปราศรัยเป็นการติชมตามระบอบปชต. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลอาญายกฟ้องหกแกนนำอยากเลือกตั้งราชดำเนิน ชี้การชุมนุมไม่ปลุกปั่น คำปราศรัยเป็นการติชมตามระบอบปชต.



20 กันยายน 2562 เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดียุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ของหกผู้จัดการชุมนุมคนอยากเลือกตั้งที่ถนนราชดำเนินได้แก่สิรวิชญ์, กาณฑ์, อานนท์, ณัฏฐา, สุกฤษฏ์และชลธิชา เหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย จัดการชุมนุมที่ถนนราชดำเนินเพื่อเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า "หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ"

 

1179


หลังเสร็จสิ้นชุมนุม เจ้าหน้าที่ออกหมายเรียกผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 49 คนมารับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 รวม 49 คน ในจำนวนนั้นมีผู้ต้องหาเจ็ดคนที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นแกนนำและมีพฤติการณ์ปราศรัยปลุกระดมประชาชนได้แก่ รังสิมันต์, สิรวิชญ์, กาณฑ์, อานนท์, ณัฏฐา, สุกฤษฏ์และชลธิชา ทั้งหมดถูกตั้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เพิ่มเติมจากข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. คดีของทั้งเจ็ดถูกแยกมาฟ้องที่ศาลอาญา ในขณะที่ผู้เข้าร่วมการชุมนุม 42 คนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เพียงข้อหาเดียวถูกฟ้องต่อศาลแขวงดุสิต ต่อมารังสิมันต์หนึ่งในเจ็ดจำเลยคดีแกนนำถูกแยกออกไปฟ้องเป็นอีกสำนวนคดีหนึ่งเนื่องจากเขาได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.และคดีนี้มีการพิจารณาระหว่างที่สภาอยู่ในสมัยประชุม

 

บรรยากาศในนัดฟังคำพิพากษาวันนี้ ตั้งแต่เวลา 8.50 น. โจทก์, จำเลยทั้งหกคน และทนายจำเลยเริ่มทยอยกันมาพร้อมที่ห้องพิจารณาคดีที่ 701 รวมทั้งยังมีบรรดานักกิจกรรมทางการเมืองที่เคยเข้าร่วมชุมนุมทำกิจกรรมร่วมกันมาให้กำลังใจกว่า 30 คน นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจากสถานทูตอเมริกา, ออสเตรีย, สวีเดน, แคนาดา,เยอรมนีและฝรั่งเศส และผู้แทนสหภาพยุโรป เข้าร่วมสังเกตการณ์ฟังคำพิพากษาอีกด้วย ด้านสำนักงานศาลยุติธรรมได้ส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมาสังเกตการณ์โดยรอบห้องพิจารณาคดีประมาณห้าคน เวลา 9.50 น. ศาลขึ้นนั่งบัลลังก์ เรียกชื่อจำเลยแต่ละคนจนครบและเริ่มอ่านคำพิพากษา พอสรุปความได้ดังนี้

 

 

1180

 

 

ศาลพิเคราะห์ข้อเท็จจริงว่า ก่อนวันเกิดเหตุในคดีนี้มีการประกาศการชุมนุมผ่านทางเฟซบุ๊กเพจฟื้นฟูประชาธิปไตย, เฟซบุ๊กของรังสิมันต์ โรม เฟซบุ๊กเพจพลเมืองโต้กลับของสิรวิชญ์ จำเลยที่หนึ่งและเฟซบุ๊กของอานน์ จำเลยที่สาม สื่อมวลชนเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า เป็นการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ในวันเกิดเหตุเวลา 14.00 น. ประชาชนได้ทยอยเดินทางมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณดังกล่าวมีแผงเหล็กตั้งและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาการอยู่โดยรอบ ชลธิชา จำเลยที่หกได้ดูแลและพูดกับผู้ชุมนุม กาณฑ์ จำเลยที่สองทำหน้าที่เป็นพิธีกรและเชิญสิรวิชญ์ จำเลยที่หนึ่ง อานนท์ จำเลยที่สาม ณัฏฐา จำเลยที่สี่ และสุกฤษฎ์ จำเลยที่ห้า รวมทั้งรังสิมันต์ ขึ้นผลัดเปลี่ยนกันพูด เรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง กล่าวถึงการทุจริต และมีการชูสามนิ้ว มีความหมายถึง การเลือกตั้งภายในปี 2561, เผด็จการจงพินาศและประชาธิปไตยจงเจริญ การชุมนุมเสร็จสิ้นในเวลา 19.30 น.คดีนี้มีปัญหาต้องวินิจฉัยคือ

 

โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่

 

ข้อหาความผิดในคดีนี้เป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจดำเนินคดีตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 ดังนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว อัยการย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และมาตรา 120 ไม่ต้องคำนึงว่า ผู้ร้องทุกข์คือใคร การรับมอบอำนาจของพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญจากคสช.เป็นไปการรับมอบอำนาจที่ชอบหรือไม่ก็ตาม

 

จำเลยกระทำความผิดหรือไม่

 

ก่อนการชุมนุมชลธิชา จำเลยที่หก มีหนังสือแจ้งการชุมนุมต่อสน.สำราญราษฎร์ แจ้งว่า ประสงค์จะจัดกิจกรรมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 16.00-20.00 น. เพื่อเรียกร้องให้คสช.จัดการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทีได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ 2560 ต่อมาผู้กำกับการสน.สำราญราษฎร์ได้ทำหนังสือตอบกลับการชุมนุม แจ้งหน้าที่ในการดูแลการชุมนุมสาธารณะให้แก่ชลธิชา จำเลยที่หก

 

ปรากฏหลักฐานบันทึกการถอดเทปที่โจทก์ได้อ้างส่งเป็นหลักฐานในคดีนี้ว่า ชลธิชา จำเลยที่หกได้กล่าวกับผู้ชุมนุมในตอนต้นทำนองว่า การแสดงออกจะไม่มีการขัดขวาง ละเมิดสิทธิใคร ใช้สันติวิธี ไม่มีการปิดกั้นทางจราจร ไม่มีแอลกอฮอล์ จากนั้นพูดถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง ส่วนกาณฑ์ จำเลยที่สองกล่าวทำนองว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมสงบสันติ สร้างสรรค์ ไม่ให้ร้ายผู้ใด ต้องการการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2561 ไม่ต้องการรอไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เพราะผู้ชุมนุมไม่เชื่อถือคำพูดของคสช.อีกแล้ว

 

1185

 

ส่วนอานนท์ จำเลยที่สาม ณัฏฐา จำเลยที่สี่ สุกฤษฎ์ จำเลยที่ห้า และรังสิมันต์ ได้กล่าวปราศรัยไม่มีลักษณะปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง ณัฏฐา กล่าวทำนองว่า ความขัดแย้งจะมีภาคจบที่ดี หยุดความเคยชินภาคจบแบบเดิมที่เมื่อมีความขัดแย้ง จะเกิดความสูญเสีย อานนท์กล่าวทำนองว่า วันนี้จุดติดแล้ว และแจ้งว่า การชุมนุมขอถึงเวลา 20.00 น. เรามีวินัย ไม่ให้ใครมาชี้หน้าเราได้ ซึ่งเมื่อหลังเสร็จสิ้นการชุมนุมในเวลา 19.30 น. สิรวิชญ์ อานนท์และรังสิมันต์ เข้ามอบตัวกับตำรวจ

 

เจตนาที่จำเลยพูดกับผู้ชุมนุมคือ ต้องการให้มีการเลือกตั้ง ใช้ความสงบ ไม่ใช้ความรุนแรง ในการสืบพยานทหารที่ทำหน้าที่สืบสวนในที่ชุมนุม ผู้เป็นพยานโจทก์ก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า ผู้ชุมนุมเดินทางมาเอง ไม่มีการขนคนมาชุมนุม แสดงว่า การชุมนุมเป็นไปโดยเปิดเผยไม่ใช่เป็นม็อบจัดตั้งเกณฑ์คนมาร่วมเพื่อหวังผลทางการเมือง ทหารและตำรวจทุกปากที่มาเบิกความก็ให้การตรงกันว่า การชุมนุมสงบเรียบร้อย ไม่มีความรุนแรง ไม่มีอาวุธ ไม่มีการทำร้ายเจ้าหน้าที่ และเลิกการชุมนุมด้วยความเรียบร้อย ฉะนั้นจึงเป็นการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่มีการใช้กำลังก่อความวุ่นวายเพื่อบังคับให้รัฐบาลกระทำตามข้อเรียกร้อง ศาลยังเห็นว่า จำเลยเป็นนิสิตนักศึกษา มีอุดมการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย

 

ในวันเกิดเหตุรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้แล้ว แต่คสช.ยังทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ จำเลยนำสืบว่า พล.อ.ประยุทธ์ประกาศให้มีการเลือกตั้ง พวกจำเลยเห็นว่า การเลือกตั้งสามารถจัดให้มีในปี 2561 ได้ หากพ.ร.ป.เลือกตั้งมีผลบังคับใช้ในวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาอย่างที่เคยมีมา แต่ครั้งนี้เป็นการบังคับใช้หลังจากประกาศราชกิจจานุเบกษา 90 วัน ทำให้ล่าช้าและเป็นการยืดเวลาให้คสช.ที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหารมีอำนาจอยู่ต่อไป เมื่อพิจารณาคำพูด สัญลักษณ์และโปสเตอร์ ข้อความปราศัยที่พาดพิงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคสช. มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในปี 2561 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ ผู้กล่าวหา ตอบคำถามถามค้านว่า การปราศรัยไม่ได้มีถ้อยคำรุนแรง การเลือกตั้งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ การเรียกร้องของจำเลยเป็นการกระทำตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ 2560

 

ส่วนเรื่องนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นั้น ตำรวจ ผู้เป็นพยานโจทก์ที่ทำการเบิกความในคดีนี้ได้ตอบคำถามถามค้านว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมมีบุคคลบางส่วนเชื่อหรือบางส่วนไม่เชื่อ ด้านอานนท์ จำเลยที่สาม นำเรื่องนาฬิกามาพูดก็เพื่อยืนยันประกอบข้อเรียกร้องการจัดการเลือกตั้ง ถือเป็นการติชม เสนอข้อเรียกร้อง ส่วนที่กล่าวว่า จุดติดแล้ว พิจารณาประกอบข้อเท็จจริง จำเลยใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แสดงเจตนาในการปฏิบัติตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ เห็นว่า จำเลยทำไปเพื่อเรียกร้องการเลือกตั้งและเมื่อมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งก็ไม่ได้ออกมาชุมนุมอีก

 

พิเคราะห์แล้วว่า เท่าที่จำเลยทั้หกทำไปในคดีนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อให้เกิดความยุยงปลุกปั่นให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร แม้บางถ้อยคำไม่เหมาะสม ก้ำเกินไปบ้าง แต่เมื่อพิจารณาสภาพการณ์ การกระทำของจำเลยเป็นการติชมตามหลักประชาธิปไตย ไม่ผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ยกฟ้องจำเลยทั้งหก


//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
อ่านข้อมูลคดีคนอยากเลือกตั้งราชดำเนิน