1087 1353 1180 1307 1326 1344 1395 1501 1243 1591 1285 1047 1122 1779 1379 1174 1702 1648 1365 1523 1821 1377 1918 1186 1167 1921 1541 1091 1429 1938 1312 1275 1639 1896 1878 1695 1285 1914 1951 1364 1877 1571 1252 1080 1533 1489 1129 1860 1687 1772 1173 1262 1539 1662 1275 1608 1310 1570 1841 1244 1667 1219 1497 1564 1834 1748 1803 1466 1185 1832 1153 1613 1617 1026 1833 1831 1003 1296 1128 1684 1195 1969 1440 1339 1561 1086 1609 1178 1882 1684 1474 1213 1565 1978 1369 1655 1092 1562 1057 คดีการเมือง" ผู้พิพากษาต้องส่งร่างคำพิพากษาให้อธิบดีภาคตรวจก่อนอ่าน (มานานแล้ว) | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

คดีการเมือง" ผู้พิพากษาต้องส่งร่างคำพิพากษาให้อธิบดีภาคตรวจก่อนอ่าน (มานานแล้ว)

4 ตุลาคม 2562 คณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดยะลายิงตัวเองในห้องพิจารณาคดีหลังอ่านคำพิพากษาคดีฆาตกรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการตั้งข้อหาอั้งยี่ และซ่องโจรในคดีเดียวกันด้วย หลังเกิดเหตุมีการเผยแพร่คำแถลงการณ์เล่าถึงความอึดอัดจากการทำหน้าที่ผู้พิพากษา ที่ต้องส่งร่างคำพิพากษาให้ผู้พิพากษาระดับผู้ใหญ่ รวมทั้งอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 ตรวจก่อน และถูกแทรกแซงความเป็นอิสระในการใช้ดุลพินิจตัดสินคดี แถลงการณ์ของผู้พิพากษาคณากรระบุด้วยว่าภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ไม่มีระบบที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะต้องส่งคำพิพากษาไปให้ผู้ใหญ่ตรวจก่อนเช่นนี้ แต่ในปัจจุบันต้องส่งให้ตรวจในคดีสำคัญ
 
กระบวนการที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนต้องส่งร่างคำพิพากษาให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคตรวจก่อนการอ่านให้คู่ความฟัง ปรากฎอยู่ใน ระเบียบว่าด้วยการรายงานคดีสำคัญในศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์ต่อประธานศาลฎีกา และการรายงานคดีและการตรวจสำนวนคดีในสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค พ.ศ. 2562 (หลังจากนี้จะเรียกว่า ระเบียบการรายงานคดีสำคัญฯ) ซึ่งเพิ่มเติมจากระเบียบในปี 2560 โดยข้อ 12 ของระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า การส่งร่างคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อการตรวจสอบ ควรมีระยะเวลาการดำเนินการไม่น้อยกว่า 15 วันทำการ  
 
1211
 
สำหรับประเภทคดีทีศาลต้องรายงานอธิบดีผู้พิพากษาภาคตรวจตามข้อ 7 ของระเบียบการรายงานคดีสำคัญฯ ได้แก่
 
1) คดีอาญา ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร มาตรา 107 - 135 
2) คดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
3) คดีทุกประเภทที่อัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
4) คดีเกี่ยวกับยาเสพติด แต่ละประเภทกำหนดไม่เท่ากัน เช่น ยาเสพติดประเภท 1 เช่น ยาบ้า ตั้งแต่ 1,000 เม็ด หรือสารบริสุทธิ์ 20 กรัม ขึ้นไป หรือข้อหาผลิต นำเข้า ส่งออก ยาเสพติดประเภท 1
5) คดีแพ่งทรัพย์สินพิพาทตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป หรือคดีที่สถาบันการเงินเป็นโจทก์ มีทรัพย์สินพิพาท 10 ล้านบทขึ้นไป
6) คดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ที่มีผู้คัดค้านและทุนทรัพย์ 200,000 บาทขึ้นไป
7) คดีละเมิดอำนาจศาล
8) คดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพ
9) คดีเกี่ยวกับคนมีชื่อเสียง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือผู้พิพากษา และยังขยายไปถึงกรณีคู่ความเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับอธิบดีขึ้นไป ทหารหรือตำรวจยกศนายพลขึ้นไป ผู้อำนวยการหรัฐวิสาหกิจ บุคคลที่ได้รับความคุ้มกันทางการทูต
10) คดีที่มีพฤติการณ์เป็นที่สนใจของประชาชน
11) คดีที่อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
12) คดีเกี่ยวกับความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ฯลฯ
 
ขณะที่ข้อ 9 ของระเบียบการรายงานคดีสำคัญฯ ก็กำหนดว่าคดีที่อยู่ในหมวด 2 ซึ่งรวมถึงคดีตามข้อ 7 ถือเป็นคดีที่ศาลต้องส่งสำนวนและร่างคำพิพากษาไปให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคตรวจ 
 
หากพิจารณาประเภทของคดีตามข้อ 7 จะเห็นว่า คดีที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง ล้วนอยู่ภายใต้ระเบียบนี้ ที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะต้องส่งร่างคำพิพากษาให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคตรวจสอบก่อน เช่น คดีฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112, คดีฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116, คดีที่เกิดจากการต่อต้านหรือวิพากษ์วิจารณ์ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล, คดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งคดีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ที่ในช่วงหลังศาลเองลงมาเป็นคู่ขัดแย้งกับการแสดงความคิดเห็นของประชาชนบ่อยครั้งขึ้น
 
อย่างไรก็ดี ตามระเบียบการรายงานคดีสำคัญฯ ข้อ 14 กำหนดว่า การตรวจร่างคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้ดำเนินการเพื่อรักษาแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่ง และให้การใช้ดุลพินิจของศาลเป็นไปโดยถูกต้องในแนวทางเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เจตนารมณ์ของระเบียบฉบับนี้ไม่ได้ต้องการให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสกว่ามีดุลพินิจเหนือเจ้าของสำนวนและสั่งให้กลับหรือแก้ไขคำพิพากษาได้ เพียงต้องการรักษามาตรฐานในการทำคำพิพากษาในคดีที่สำคัญเท่านั้น แต่ระเบียบนี้ก็เปิดทางให้มีช่วงเวลาและช่องทางในการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ทำให้การตัดสินคดีอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนแต่เพียงลำพัง
 
จากการสังเกตการณ์การพิจารณาคดี และการติดตามบันทึกข้อมูลคดีเกี่ยวกับการแสดงออกของประชาชนโดยไอลอว์ พบว่า ระเบียบปฏิบัติที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ที่ดำเนินการพิจารณาคดี และรับฟังการสืบพยานมาตลอดกระบวนการ จะไม่สามารถทำคำพิพากษาเองได้ทันที แต่ต้องส่งร่างคำพิพากษาให้อธิบดีผู้พิพากษาตรวจสอบก่อนมีมานานแล้วจนแทบจะเป็นเรื่องปกติที่เข้าใจกันระหว่างศาล อัยการ และทนายความ 
 
บางคดีผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีไม่ได้แจ้งให้คู่ความทราบว่า เป็นคดีสำคัญที่ต้องส่งร่างคำพิพากษาให้ผู้พิพากษาที่อาวุโสกว่าพิจารณาร่วมด้วย บางคดีทราบได้จากการแจ้งอย่างไม่เป็นทางการของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน บางคดีผู้พิพากษาก็ได้จดบันทึกไว้อย่างเป็นทางการในสำนวนคดีเลยว่า ร่างคำพิพากษาต้องส่งให้อธิบดี ตรวจสอบก่อน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

คดีติดป้ายแยกประเทศที่จังหวัดพะเยา 

 
ช่วงต้นปี 2557 ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองและมีการชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพมหานคร มีการขึ้นป้าย "ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม กูขอแยกเป็นประเทศล้านนา" ในบางพื้นที่ของจังหวัดในภาคเหนือ รวมทั้งในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในเดือนสิงหาคม 2557 เมื่อการเมืองเปลี่ยนทิศทางมาอยู่ใต้อำนาจของ คสช. ออด ถนอมศรีและสุขสยาม คนเสื้อแดงจากจังหวัดเชียงรายถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ติดป้ายผ้าดังกล่าวนี้และถูกแจ้งข้อกล่าวหาฐานยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 
 
ศาลจังหวัดพะเยาสืบพยานคดีนี้ในเดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน 2560 โจทก์นำพยานเข้าสืบรวม 16 ปาก ส่วนจำเลยนำพยานเข้าสืบสามปากคือตัวจำเลยทั้งสามเบิกความเป็นพยานให้ตัวเอง เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 หลังเสร็จสิ้นการสืบพยานทุกปาก ศาลกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 มกราคม 2561 โดยให้เหตุผลที่นัดฟังคำพิพากษาห่างจากการสืบพยานนัดสุดท้ายเป็นเวลานานว่า คดีนี้เป็นคดีความมั่นคง ต้องส่งสำนวนคดีให้ทางภาคตรวจสำนวนก่อน
 
ในวันที่ 18 มกราคม 2561 ศาลจังหวัดพะเยามีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสามเนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานที่ระบุได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นผู้ก่อเหตุ แต่ให้ริบป้ายผ้าของกลาง
ต่อมา ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนยกฟ้องจำเลยทั้งสามในวันที่ 21 กันยายน 2561
 
 

คดีโพสต์หมิ่น รัชกาลที่ 9 บนเฟซบุ๊ก

 
ปิยะ ถูกตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 และถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “นายพงศธร บันทอน” โพสข้อความหมิ่นประมาทพระกษัตริย์ฯ ซึ่งขณะเกิดเหตุคือพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า ปิยะยอมรับว่า รูปที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กคือรูปของเขา แต่ปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กนี้และไม่ได้โพสต์ข้อความตามที่ถูกกล่าวหา ระหว่างการดำเนินคดีเฟซบุ๊กที่โพสต์ข้อความไม่สามารถเข้าถึงได้ และไม่มีพยานคนใดพบเห็นมาก่อน หลักฐานในคดีนี้ คือ ภาพคล้ายถูกถ่ายจากเฟซบุ๊กซึ่งถูกแชร์ต่อกันบนอินเทอร์เน็ต ปิยะต่อสู้คดีโดยไม่ได้รับการประกันตัว
 
28 ธันวาคม 2558 ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษา ปิยะถูกนำตัวจากเรือนจำมาที่ศาล แต่ศาลแจ้งปิยะว่า จะเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 20 มกราคม 2559 และบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาคดีระบุว่า เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีสำคัญ จึงอยู่ระหว่างการปรึกษากับอธิบดีศาลอาญา และต่อมาวันที่ 20 มกราคม 2559 ศาลอาญาพิพากษาว่า ปิยะกระทำความผิดตามฟ้อง กำหนดโทษจำคุก 9 ปี ลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 6 ปี หลังจากนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

 

คดีโพสต์ขายเหรียญ หลังเหตุการณ์สวรรคต

 
"เค" เป็นวัยรุ่นที่อยู่อาศัยในจังหวัดชลบุรี เขาถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊กขายเหรียญ และโต้เถียงกับผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 ซึ่งเป็นช่วงหลังเหตุการณ์สวรรคต ของรัชกาลที่ 9 คดีนี้เป็นข่าวดังจากเหตุการณ์ที่ "เค" ถูกกลุ่มคนรุมทำร้ายร่างกายก่อนถูกดำเนินคดี 
 
ในชั้นศาล ศาลนัดสืบพยานคดีนี้หลายนัดไม่ติดต่อกัน เพราะทางฝ่ายอัยการโจทก์ยื่นขอสืบพยานหลายปากจึงใช้เวลานาน 18 พฤษภาคม 2561 ศาลจังหวัดชลบุรีสืบพยานจำเลยเสร็จสิ้น และกำหนดวันฟังคำพิพากษาเป็นวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 โดยศาลแจ้งว่า เนื่องจากต้องส่งสำนวนและร่างคำพิพากษาให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ตรวจก่อน ต่อมาศาลจังหวัดชลบุรีอ่านคำพิพากษาให้ยกฟ้องในข้อหามาตรา 112 เนื่องจากโพสต์ของจำเลยไม่เข้าข่ายดูหมิ่น หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ แต่ให้ลงโทษตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำคุกแปดเดือน แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องในข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เนื่องจากกฎหมายแก้ไขใหม่ และโจทก์ไม่ได้บรรยายมาในคำฟ้อง

 

คดีแจกสติกเกอร์โหวตโน ที่อ.บ้านโป่ง

 
10 กรกฎาคม 2559 ช่วงใกล้การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ตำรวจจับกุมนักกิจกรรมสามคน ได้แก่ ปกรณ์, อนันต์, อนุชา รวมทั้งทวีศักดิ์ ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์ประชาไท ไปสอบปากคำ ต่อมาช่วงค่ำ ภานุวัฒน์ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็ถูกคุมตัวมาจากบ้านพักใน จังหวัดราชบุรีมาที่ สภ.บ้านโป่งอีกด้วย ทั้งหมดถูกแจ้งข้อหาผิด พ.ร.บ. ประชามติฯ มาตรา 61 วรรคสอง ฐาน "ร่วมกันดำเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงหรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง” จากการครอบครองสติกเกอร์เขียนว่า "Vote No ไม่รับกับอนาคตที่ไม่ได้เลือก" ในรถยนต์ที่ขับมาจากกรุงเทพฯ
 
 
คดีนี้เป็นคดีที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน และจำเลยบางคนก็มีชื่อเสียงจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองมานาน จึงใช้เวลาสืบพยานนานถึง 7 วัน ในช่วงปี 2560 หลังเสร็จสิ้นการสืบพยานปากสุดท้ายเสร็จสิ้นในวันที่ 4 ตุลาคม 2560 ทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่าหมดพยานที่จะนำสืบแล้ว ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 29 มกราคม 2561 ซึ่งเป็นเวลานานกว่าสามเดือน โดยศาลให้เหตุผลว่าเนื่องจากศาลมีคดีที่จะต้องพิจารณาคดีหลายคดี และคดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน จึงต้องส่งคำพิพากษาให้อธิบดีศาลภาค 7 ดูก่อนวันนัดฟังคำพิพากษา 29 มกราคม 2561
 
29 มกราคม 2561ศาลจังหวัดราชบุรีอ่านคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งห้า ตามข้อหา พ.ร.บ.ประชามติฯ เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะระบุว่า จำเลยทั้งห้ามีเจตนาที่จะแจกจ่ายเอกสาร และเผยแพร่ข้อความสติกเกอร์โหวตโนตามที่โจทก์ฟ้อง สำหรับจำเลยที่หนึ่งถึงที่สี่ ซึ่งไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งเจ้าพนักงาน อันเป็นความผิดตามคำสั่งคปค ฉบับที่ 25/2549 อีกกระทงหนึ่งนั้น ให้ลงโทษจำคุกปรับ 1000 บาทแต่จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษเหลือปรับ 500 บาท ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ชนิดบทความ: