1829 1659 1770 1330 1366 1868 1794 1519 1897 1727 1373 1040 1258 1761 1743 1205 1979 1348 1349 1371 1101 1795 1238 1198 1083 1342 1710 1917 1776 1003 1381 1089 1074 1107 1115 1138 1718 1111 1248 1089 1235 1788 1815 1914 1382 1109 1125 1122 1636 1623 1709 1969 1696 1382 1389 1275 1905 1570 1768 1310 1400 1914 1618 1726 1266 1005 1111 1402 1052 1750 1257 1067 1087 1881 1121 1005 1611 1048 1955 1483 1123 1196 1462 1040 1384 1958 1816 1802 1663 1759 1874 1306 1683 1714 1128 1859 1685 1486 1654 Change.NCPO "ปอนด์" - อภิชาต เจ็ดวันในกองปราบ สามสัปดาห์ในเรือนจำ กับการตัดสินใจหลังได้รับอิสรภาพ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

Change.NCPO "ปอนด์" - อภิชาต เจ็ดวันในกองปราบ สามสัปดาห์ในเรือนจำ กับการตัดสินใจหลังได้รับอิสรภาพ

ผมเรียนจบกฎหมาย แต่ไม่อยากไปสอบเป็นทนายความหรือผู้พิพากษา ตัดสินใจไปสมัครงานกับสำนักงาน คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
(คปก.) เพราะอยากเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบมากกว่าเป็นรายกรณี
 
ผมได้แรงบันดาลใจมาจากตอนที่เรียนกฎหมายแล้วได้ช่วยต่อสู้จนชาวบ้านที่ไร้สัญชาติได้สัญชาติไทย 60 คน
ทำงานได้ไม่ถึง 1 เดือนก็มีรัฐประหาร
ได้ยินข่าวว่าจะมีคนจัดชุมนุมคัดค้านการรัฐประหารที่หน้าหอศิลป์ฯ ใช้เวลาไม่นานในการตัดสินใจไปร่วม
 
จำได้ว่าวันนั้นพอเลิกงานก็ปรินท์ข้อความ "ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน" บนกระดาษเอสี่ 10 แผ่นถือติดไปที่ชุมนุม
ตั้งใจว่าจะถือเองแผ่นนึงที่เหลือก็แจกคนแถวนั้น
รู้อยู่ว่ามันมีการประกาศกฎอัยการศึก ห้ามชุมนุม แต่เพราะเชื่อลึกๆ ว่าการรัฐประหารจะไม่สำเร็จถ้ามีคนออกไปคัดค้านมากพอ
และตัวผมเองก็ไม่ยอมรับประกาศห้ามชุมนุมเพราะผู้ที่เข้าสู่อำนาจไม่ได้มาตามวิถีทางตามรัฐธรรมนูญ คำสั่งจึงไม่ชอบธรรม
ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม
 
1252
 
พอไปถึงที่หน้าหอศิลป์ก็ชูป้าย แล้วตะโกน “ประยุทธ์ออกไป” บ้าง ข้อความอื่นบ้าง จำไม่ได้นัก แต่รู้ว่าไม่มีอะไรหยาบคาย ชูป้ายได้ประมาณ
20 นาที ทหารก็จับตัวผมจากด้านหลังแล้วคุมตัวไปที่รถฮัมวี่ หลังจากนั้นก็พาไปที่ค่ายทหาร
ตอนนั้นรู้สึกกลัว ไม่ได้กลัวถูกทำร้ายร่างกายแต่กลัวความไม่แน่นอน ความคลุมเคลือในชะตากรรม
 
หลังจากซักประวัติเสร็จวันรุ่งขึ้นเขาก็พาไปที่กองปราบ ขังไว้ในห้องขัง 7 วันเต็ม มีคนทยอยเข้ามาที่ห้องขังอยู่เรื่อยๆ
รวมถึงคนที่แวะมาเยี่ยมมาซื้อข้าวให้กิน มันก็คลายเหงาบ้าง แต่สิ่งที่อยู่ในใจตลอดเวลาคือ ผมไม่รู้เลยว่าจะเกิดขึ้นต่อไป
ระหว่างที่ถูกขังที่กองปราบฯ ผมถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เพิ่มอีก มีอาจารย์ท่านหนึ่งมาบอก
 
แต่การที่เจ้าหน้าที่ไม่มาแจ้งข้อกล่าวหาอย่างเป็นทางการทำให้รู้สึกว่าควบคุมอะไรในชีวิตตัวเองไม่ได้เลย ไม่รู้ต้องเตรียมรับมืออย่างไร
ความไม่แน่นอนทำให้ผมเครียด ยอมรับว่านอนร้องไห้แทบทุกคืนในห้องขังกองปราบ
 
ครบ 7 วัน ผมถูกพาตัวไปศาลฝากขังคดี 112 เชื่อมั้ย พอเจ้าหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหามันกลับรู้สึกโล่งใจ อย่างน้อยรู้แล้วว่าต้องเจออะไรบ้าง
อย่างน้อยเราจะเข้าถึงทนาย เข้าถึงศาล ขอประกันตัวเองได้ ส่วนศาลจะให้ประกันหรือไม่ก็เป็นดุลพินิจของท่าน
 
คดี 112 ประกันตัวยาก ทำใจไว้แล้วตั้งแต่ตอนเดินทางไปศาล แล้วก็เป็นตามคาดศาลไม่ให้ประกันตัว ผมเข้าไปอยู่เรือนจำประมาณวันที่ 30
พฤษภาคม 2557 ได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 24 มิถุนายน 2557 เพราะศาลไม่ให้พนักงานสอบสวนฝากขังต่อ
รวมระยะเวลาที่อยู่ทั้งที่ค่ายทหาร กองปราบฯ และเรือนจำก็เท่ากับเสียอิสรภาพไป 1 เดือนเต็ม
 
ชีวิตในเรือนจำ หลายคนก็คงพอเดาได้ว่ามันแย่ไปหมด ทั้งอาหารการกิน ผมไม่เคยกินอาหารโรงเลี้ยงเลย ซื้อข้างนอกกินตลอด
เรื่องที่หลับที่นอนก็ค่อนข้างแออัด แต่สิ่งที่แย่ที่สุดคงเป็นเรื่องการขับถ่าย คงไม่สะดวกที่จะเล่าไว้ตรงนี้
 
แต่เชื่อไหม 3 สัปดาห์ในเรือนจำผมรู้สึกแย่น้อยกว่า 7 วันที่ถูกขังในกองปราบ
ที่กองปราบฯใช้โทรศัพท์ ใช้อินเทอร์เน็ตได้ แต่สถานการณ์มันกดดันกว่าในเรือนจำ ในเรือนจำผมถูกขังอยู่ในห้องขังแค่ช่วงกลางคืน
ระหว่างวันยังได้ลงมาสัมผัสดิน เดินไปเดินมาได้บ้าง แต่ที่กองปราบฯ ต้องอยู่ในห้องขังตลอดเวลา
 
ที่สำคัญคือตอนนั้นไม่รู้ชะตากรรมตัวเองเลย แต่พอถูกแจ้งข้อกล่าวหา ถูกฝากขัง รู้อะไรเป็นอะไรแล้วก็เลยทำใจและปรับตัวได้
ผมพยายามไม่คิดถึงเรื่องข้างนอกพยายามโฟกัสแต่กับการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ผมโชคดีที่ระหว่างอยู่ในเรือนจำมีพี่ๆอย่างพี่หนูหริ่ง (สมบัติ
บุญงามอนงค์ - บก.ลายจุด) และพี่สมยศ (สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษคดี 112) คอยพูดคุยให้คำแนะนำเรื่องการใช้ชีวิตในเรือนจำ
 
ตอนติดคุก 1 เดือนใช้เวลาปรับตัวประมาณ 1 อาทิตย์ พอได้ประกันตัวออกจากคุกต้องใช้เวลาถึง 3
เดือนในการปรับตัวให้กลับไปใช้ชีวิตปกติ
หลังออกจากเรือนจำก็ไปทำงานเลยในวันรุ่งขึ้น ผมรู้ตัวเองว่าอะไรบางอย่างในชีวิตเปลี่ยนไป ไม่อยากเจอผู้คน ไม่อยากคุยกับใคร
เลือกที่จะนั่งแท็กซี่ไปกลับอยู่หลายเดือน ยุ่งอยู่กับงานของตัวเองและไม่ค่อยพูดกับเพื่อนร่วมงานถ้าไม่จำเป็น ไม่อยากตอบคำถาม
ไม่อยากคุยเรื่องในเรือนจำซึ่งเพื่อนร่วมงานก็เข้าใจและไม่ได้ถามอะไรซอกแซ่ก
 
ถามว่าเคยร่วมชุมนุมไหม จริงๆ ก็เคยร่วมการชุมนุมทางการเมืองช่วงปี 52 - 53 กับกลุ่มคนเสื้อแดง ครั้งแรกน่าจะเป็นที่สนามหลวง
ผมรู้สึกสนุกนะ บรรยากาศเหมือนงานมหกรรม มีเต๊นท์หลายเต้นท์ มีการปราศรัย แต่ผมไม่ค่อยสนใจฟังว่าแกนนำปราศรัยอะไร
ชอบคุยกับคนที่มาร่วมชุมนุมมากกว่า และทำให้ได้รู้จักกับ "ดีเจซุนโอ" หรือพี่อิทธิพลที่ตอนนี้หายตัวไปอย่างลึกลับหลังลี้ภัยในลาว
ตอนนี้คดี 112 เงียบไปแล้ว แต่คดีที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นคดีฝ่าฝืนประกาศห้ามชุมนุมของ
คสช.ซึ่งถูกเลือกให้เป็นคดียุทธศาสตร์ของทีมทนายความ หมายความว่าจะสู้ให้ถึงชั้นฎีกา
 
ผมเองในฐานะจำเลยที่จะต้องรับผลแห่งคดีไม่ว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าอะไรก็มีส่วนร่วมกำหนดแนวทางการต่อสู้คดีร่วมกับทนาย
เราเห็นพ้องกับทนายว่าการสู้คดีนี้ไม่ใช่สู้แค่ให้ตัวเองพ้นผิด แต่ต้องสู้เพื่อให้ศาลวางบรรทัดฐานทางกฎหมายให้กับสังคมไทยด้วย
ในความคิดของผม ศาลน่าจะสามารถแข็งขืนต่ออำนาจและประกาศของคณะรัฐประหารได้
 
เข้าใจว่าในช่วงต้นของการคงเป็นเรื่องยากที่ศาลจะไปท้าทายอำนาจหรือกฎหมายของคณะรัฐประหาร
แต่คดีของผมมันล่วงเข้ามาในเวลาที่มีรัฐธรรมนูญ 60 แล้ว
 
ผมคิดว่าภายใต้ระบบหรือโครงสร้างทางสังคม โครงสร้างทางอำนาจที่เป็นอยู่ ผู้ใช้อำนาจรัฐในกระบวนการยุติธรรมทั้งศาล อัยการ หรือตำรวจ
ต่างทำการภายใต้กรอบคิดของแต่ละสถาบัน ไม่ได้ดำเนินการโดยอิสระ
 
แม้ผู้พิพากษาที่ดีจะเป็นคนตัดสินคดีของผม
แต่ผมก็จะไม่ได้คำพิพากษาที่ดีเพราะโครงสร้างทางสังคมมันกำหนดไว้แล้วว่าผู้พิพากษา อัยการ และตำรวจ
ควรจะต้องมองหรือปฏิบัติต่อประชาชนที่ถูกดำเนินคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีการเมืองไปในทิศทางไหน
 
มองย้อนกลับไปในวันที่ถูกจับจนกระทั่งวันนี้ ชีวิตเปลี่ยนไปพอสมควร ผมเองอาจจะโชคดีกว่าคนที่ออกมาทำกิจกรรมหลายๆ คน
เพราะบางคนถูกคุมขังนานกว่า บางคนต้องหนีออกนอกประเทศ อย่าง "ดีเจซุนโฮ" ก็ไม่มีใครได้ข่าวพี่เขาอีกเลย
 
ตัวผมเองอาจจะสูญเสียอิสรภาพไปในระยะสั้นๆ แต่อย่างน้อยทุกวันนี้ผมยังมีอาชีพ และยังทำงานขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมได้
ผมได้รับเลือกเป็นประธานขององค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนแห่งหนึ่ง คอยทำงานรณรงค์อยู่ในแนวหลัง
 
แต่หากการเมืองย้อนกลับไปสู่วังวนรัฐประหารอีกครั้ง ผมก็จะออกมาเป็นหนึ่งในคนที่ร่วมชุมนุมคัดค้านเหมือนเดิม
ชนิดบทความ: