1186 1824 1194 1737 1084 1369 1138 1206 1268 1378 1419 1776 1233 1326 1516 1327 1697 1549 1223 1948 1727 1108 1732 1133 1726 1089 1181 1226 1329 1456 1978 1547 1935 1564 1382 1465 1830 1973 1889 1561 1617 1758 1516 1212 1537 1690 1451 1188 1332 1543 1264 1822 1581 1655 1900 1083 1867 1314 1827 1227 1194 1878 1152 1030 1819 1198 1582 1177 1814 1633 1048 1230 1558 1297 1070 1748 1440 1910 1692 1077 1514 1594 1295 1259 1603 1822 1609 1566 1596 1552 1387 1932 1926 1420 1782 1128 1772 1392 1494 กฎหมายไม่ได้ห้ามชุมนุมหน้าทำเนียบฯ ตำรวจจะอ้างโควิด หยุดขบวนไม่ได้ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

กฎหมายไม่ได้ห้ามชุมนุมหน้าทำเนียบฯ ตำรวจจะอ้างโควิด หยุดขบวนไม่ได้

หลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด19 มีการออกข้อกำหนดโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จำกัดจำนวนคนเมื่อทำกิจกรรมรวมตัวอยู่บ้าง ข้อจำกัดดังกล่าวเป็นไปเพื่อป้องกันโรคเท่านั้น และในระหว่างนี้พ.ร.บ.ชุมนุมฯซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับสถานที่จัดการชุมนุมถูกงดเว้นการบังคับใช้ และข้อกำหนดที่ออกตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้กำหนดหน้าการชุมนุมในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ ตำรวจจึงไม่มีอำนาจห้ามการเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลและไม่สามารถใช้กำลังหรือสิ่งกีดขวางมาขัดขวางผู้ชุมนุมได้ หากการชุมนุมดังกล่าวปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค เช่นมีการจัดระยะห่างระหว่างบุคคล
 
24 มิถุนายน 2564 กลุ่ม "ประชาชนคนไทย" และกลุ่ม "ไทยไม่ทน" ก็นัดชุมนุมเพื่อเดินขบวนไปทำเนียบรัฐบาล แต่ไปไม่ถึงเพราะตำรวจตั้งแถวสกัดกั้นพร้อมรั้วลวดหนามบริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ ซึ่งห่างจากรั้วทางเข้าทำเนียบรัฐบาลเพียงเล็กน้อย ผู้ชุมนุมไม่ต้องการปะทะ จึงไม่ได้ฝ่าแนวตำรวจเข้าไปให้ถึงรั้วทำเนียบรัฐบาล 
 
2 กรกฎาคม 2564 กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นัดหมายการชุมนุม #ม็อบ2กรกฎา ที่สี่แยกอุรุพงษ์ เพื่อเดินเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาล และประกาศจะเปิดตลาดราษฎร ตั้งแต่เวลา 16.00-22.00 น. ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
 
3 กรกฎาคม 2564 สมบัติ บุญงามอนงค์ นัดหมาย Car Mob ชวนคนขับรถยนต์ไปที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและบีบแตรไล่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และกลุ่ม "ไทนไม่ทน" ก็นัดหมายรวมตัวที่สะพานผ่านฟ้า ก่อนเดินขบวนไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อไล่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เช่นเดียวกัน
 
และเมื่อ 18 กรกฎาคม 2564 ครบรอบ 1 ปีกลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth ได้จัดการชุมนุมใหญ่บนท้องถนนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการนัดหมายกิจกรรมชุมนุม #ม็อบ18กรกฎา ตั้งแต่ช่วงเวลา 14.00 น. โดยเป้าหมายหลักคือการเคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังทำเนียบรัฐบาล 
 
รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังสูญเสียความนิยมและความชอบธรรมจากการบริหารที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดความชัดเจน ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด19 ก่อให้เกิดกระแสการโจมตีและขับไล่รัฐบาลชุดนี้ที่พยายามทำเหมือนว่ามีที่มาจากการเลือกตั้ง ขณะเดียวกันรัฐบาลนี้ก็ประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ #พรกฉุกเฉิน เพื่อควบคุมโรคโควิด19 ต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งปี รวบอำนาจการบริหารงานจากกระทรวงต่างๆ เข้ามาอยู่ในมือนายกรัฐมนตรี โดยไม่มีทีท่าว่าจะต้องต่อเนื่องไปยาวนานเท่าใด
 
พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาตรา 3(6) กำหนดไว้ว่า เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะจะไม่ถูกนำมาบังคับใช้ ดังนั้น การควบคุมดูแลการชุมนุม จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เท่านั้น
 
อย่างไรก็ตาม 10 กรกฎาคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ ออกข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 27 ห้ามการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าห้าคน โดยให้เป็นไปตามข้อห้ามและข้อยกเว้นตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดการอบรม การสัมมนา หรือการประชุมในช่วงระยะเวลานี้ โดยวิธีการทำงานอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป 
 
โดยข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 25 กำหนด ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกัน มากกว่า 20 คน เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานกักกันโรค
 
เมื่อไม่มีกฎหมายใดที่บังคับใช้อยู่ที่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการชุมนุมเรื่องสถานที่ชุมนุม รวมถึงไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับสถานที่หวงห้าม การที่ตำรวจจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตั้งแถว หรือวางสิ่งกีดขวาง เพื่อห้ามไม่ให้ผู้ชุมนุมเดินไปยังสถานที่บางแห่ง ไม่มีกฎหมายให้อำนาจทำได้ โดยเฉพาะเมื่อเป้าหมายของสถานที่ชุมนุม คือ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด และเป็นศูนย์รวมอำนาจในการตัดสินใจเรื่องสำคัญของประเทศ จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับประชาชนที่ต้องการแสดงออกซึ่งข้อเรียกร้อง
 
การชุมนุมหลายครั้งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ตำรวจประกาศข้อกำหนดที่ออกตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้ผู้ชุมนุมทราบ และอ้างอำนาจตามข้อกำหนดฉบับต่างๆ เพื่อควบคุมการชุมนุม ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้มีขึ้นเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด19 จึงไม่มีเหตุผลที่จะนำข้อกำหนดและข้อห้ามต่างๆ มาเป็นข้ออ้างเพื่อห้ามการชุมนุมเฉพาะพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล หรือห้ามการเคลื่อนขบวนผ่านบางเส้นทาง และเปิดให้เคลื่อนขบวนไปเส้นทางอื่นได้
 
1870