1863 1181 1070 1182 1568 1245 1407 1628 1708 1908 1488 1559 1323 1617 1343 1120 1039 1903 1839 1681 1732 1543 1550 1581 1065 1059 1423 1324 1044 1261 1487 1593 1684 1637 1580 1930 1244 1450 1644 1052 1518 1263 1732 1688 1529 1163 1330 1544 1251 1537 1498 1142 1940 1538 1622 1292 1703 1081 1143 1210 1718 1690 1128 1061 1413 1210 1065 1654 1945 1587 1782 1707 1435 1920 1558 1251 1503 1323 1175 1011 1983 1500 1575 1051 1346 1086 1518 1613 1582 1531 1663 1415 1725 1799 1122 1488 1031 1152 1142 บีม: "เรื่องนี้ทำให้เราไม่มีความสุขไปแล้วกับการแค่โพสต์ข้อความที่เป็นความจริง" | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

บีม: "เรื่องนี้ทำให้เราไม่มีความสุขไปแล้วกับการแค่โพสต์ข้อความที่เป็นความจริง"

พุทธศักราช 2563-2564 เป็นห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 มากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยการกระทำที่ส่งผลให้มีคนถูกฟ้องเป็นจำนวนมากที่สุด ไม่ใช่การปราศรัยหรือการเผาทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ หากแต่เป็นเพียงการ “โพสต์แสดงความคิดเห็น” ในช่องทางออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ นับถึงปลายเดือนพฤศจิกายน 2564 มีจำนวนคดีมากถึง 82 คดี ซึ่งคิดเป็นเกือบ 50% จากทั้งหมด 166 คดี
 
หนึ่งในตัวเลขจำนวนคดีดังกล่าว คือคดีของอรรฆพล (สงวนนามสกุล) หรือบีม กราฟิกดีไซน์เนอร์จากกรุงเทพฯ อายุ 25 ปี ผู้ถูกฟ้องด้วยมาตรา 112 จากการโพสต์ข้อความที่ใครหลายคนอาจเคยเห็นผ่านตาว่า.. ”พิมรี่พายขึ้นดอยครั้งเดียวเด็กมีไฟฟ้าใช้ แต่บางคนขึ้นดอยมา 70 ปี…//ไม่พูดดีกว่า” โดยข้อความดังกล่าวได้ถูกแชร์ออกไปมากกว่า 60,000 ครั้ง
 
 
2088
 
 
บทบาทแกนนำประท้วงไล่ ผอ. 
 
บทสนทนาระหว่างไอลอว์และบีมเริ่มต้นจากการสอบถามช่วงเวลาที่เขาเริ่มเข้ามาสู่โลกของการเมือง โดยบีมเล่าว่า เขาเพิ่งเข้ามาสนใจการเมืองหลังการเลือกตั้ง 2562 และเริ่มแสดงออกทางการเมืองอย่างจริงจังภายหลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อเริ่มพูดคุยอย่างเจาะลึกมากขึ้น เราพบว่าเท้าของบีมได้เหยียบย่ำอยู่บนโลกทางการเมืองอยู่ก่อนมาตั้งแต่วัยเยาว์แล้ว
 
“ตอนเด็กๆ เราเห็นการบริหารของ ผอ. เขาเข้ามาตอนที่เราอยู่ม.5 มันเริ่มผิดปกติตั้งแต่ตอนนั้น เช่น นโยบายนมโรงเรียนที่ไม่เพียงพอกับนักเรียน 2,500 - 3,000 คน และเรื่องการบริหารงานที่เขากดดันอาจารย์..” บีมเล่าประสบการณ์เมื่อเขาเรียนอยู่ในโรงเรียนมัธยมชายล้วนชื่อดังอย่าง "สวนกุหลาบวิทยาลัย"  
 
“ชีวิตเด็กในโรงเรียนตอนนั้นไม่มีใครมีความสุข มันมีแต่คำถามมากมาย แต่ไม่มีใครกล้าถามกับ ผอ. ตรงๆ เราก็เลยคุยกับเพื่อนที่เป็นกรรมการนักเรียนว่า ‘มึงเอาไหม? ... เออกูเอา’ ในคืนเดียวเลย เราคุยกับม.6 ทั้งระดับในคืนเดียว เช้ามาก็เริ่มเลย..”
 
“เราได้รับเลือกให้ไปคุยกับน้องม.4 โดยไปถือโทรโข่งคุยว่า ‘พี่จะทำแบบนี้ น้องเห็นด้วยกับพี่ไหม ถ้าไม่เห็นด้วยไม่เป็นไร น้องขึ้นไปเรียน’ แต่บังเอิญว่าเห็นด้วยกันทั้งโรงเรียน เลยนัดขึ้นไปรวมกันที่หอประชุม...ต่อมาก็ล่ารายชื่อน้อง แจกกระดาษให้น้องเซ็นชื่อไล่ ผอ. แล้วอีกวันกระทรวงศึกษาธิการก็เข้ามา พร้อมกับ ผอ. คนใหม่"
 
เมื่อเวลาผ่านไป ความหวงแหนในการปกป้องสิทธิและประโยชน์ส่วนรวมของบีมนั้นยังไม่ได้สิ้นสุดลงเพียงแค่ภายในรั้วโรงเรียน เขาเล่าว่าเมื่อครั้งเรียนที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว บีมยังได้ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงเรื่อง "โซตัส" อีกด้วย
 
“ปี 1 เราทำอะไรไม่ได้เพราะเราเป็นน้อง แต่พออยู่ปี 2-3 เรารู้สึกว่าที่เราต้องเปลี่ยนคือโซตัส.. พออยู่ปีสาม เราอยู่ในกลุ่มของคณะกรรมการคณะนักศึกษา เราก็เอากลุ่มพี่ว๊ากมาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการไปเลย...เราคิดว่าในเมื่อทำงานร่วมกันแล้ว ก็ควรจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันไปเลยจะได้คุยกันมากขึ้น"
 
ทั้งนี้ ภายหลังการยุบพรรคอนาคตใหม่เมื่อต้นปี 2563 บีมเล่าว่าเขาได้เริ่มตามอ่านข้อเท็จจริงทางการเมืองผ่านข้อมูลในโลกออนไลน์ เช่น เพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, กลุ่ม Royalist Marketplace จนกระทั่งค้นพบว่า ต้นตอปัญหาที่แท้จริงของประเทศนั้นไม่ได้เกิดจากรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีสถาบันหลักของชาติอีกมากมายที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบถึงกัน เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจึงเพิ่มบทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของตนเองผ่านการเข้าร่วมชุมนุมและโพสต์แสดงความคิดเห็นบนเฟซบุ๊กส่วนตัวที่มีผู้ติดตามมากกว่า 6,000 คน  
 
หมายเรียก ‘สองหมาย’ ในหนึ่งปี 
 
ภายหลังโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นไปได้ระยะหนึ่ง บีมเล่าว่าสัญญาณเตือนแรกที่ทำให้รู้ตัวว่ากำลังถูกสอดส่อง คือ การได้รับ “ข้อความข่มขู่” ทางช่องแชทในลักษณะของการฟลัดข้อความ (flood) เช่น “มึงเจอกูแน่ กูจะไปดัก มึงอยู่แถวไหน” โดยข้อความในลักษณะดังกล่าวจะถูกส่งมาทุกๆ ครั้งที่โพสต์ข้อความใหม่ๆ และแม้ว่าบีมจะไม่เคยตอบข้อความเหล่านั้นกลับไป มีเพียงการบันทึกหน้าจอเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อนำแจ้งความโดยหวังเพียงคำขอโทษจากผู้ส่ง อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2564 ปีเดียว บีมได้รับหมายเรียกในคดีมาตรา 112 เป็นจำนวนสองหมาย
 
“ครั้งแรก คนที่กล่าวหาด้วยความผิด 112 คืออาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพา เขาแจ้งที่ระยองเมื่อต้นปี 2564 จากนั้นตำรวจที่ระยองก็เรียกพ่อแม่ไปเป็นพยานในคดีนี้ แล้วเดือนต่อมา (มีนาคม 2564) ก็เรียกเราไปเป็นพยานในคดีนี้ด้วย เราก็ไม่คิดว่ามันจะมีอะไร เพราะว่ามัน (ข้อความที่กล่าวถึงพิมรี่พาย) ก็ไม่ได้เป็นข้อความที่เข้าข่ายในความผิด 112 ตำรวจก็บอกเองว่า นักวิชาการกฎหมายในศาลหรือตำรวจที่สภ.แกลงบอกว่ามันไม่เข้าข่ายความผิดในมาตรานี้ แต่เมื่อเดือนสิงหา ตำรวจ ปอท. ก็มาแจ้งข้อหานี้กับเรา คนที่แจ้งความก็คือคุณแน่งน้อย”
 
ในเดือนสิงหาคม 2564 ตำรวจ ปอท. ได้เข้ามาแจ้งข้อหามาตรา 112 กับบีม โดยมีผู้กล่าวหาขาประจำอย่าง แน่งน้อย อัศวกิตติกร แกนนำกลุ่มศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ หรือ ศชอ. จากการโพสต์ข้อความที่กล่าวถึงพิมรี่พายฯ เช่นเดียวกัน และต่อมาเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2564 บีมก็ได้รับหมายเรียกจากสภ.แกลง จังหวัดระยอง ให้ไปรายงานตัวอีกครั้งในฐานะผู้ต้องหา
  
“ก่อนหน้านี้เขา (ตำรวจ) ก็จะไม่ฟ้อง เพราะเขาก็บอกเองว่ามันไม่เข้าข่าย แต่เหมือนพอไปประชุมกันแล้ว ในที่ประชุมสรุปว่าฟ้องได้ เขาก็เลยตัดสินใจฟ้อง”
 
“หลังจากที่ไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ ปอท. จากคุณแน่งน้อย (31 สิงหาคม 2564) สองเดือนต่อมาก็ไปรับทราบข้อกล่าวหาในฐานะผู้ต้องหาที่ระยอง (29 ตุลาคม 2564)  แต่ว่าทีนี้ ข้อความกล่าวหามันเพิ่มขึ้นจากหนึ่งเป็นแปดข้อความ”
 
สำหรับตัวอย่างข้อความที่ถูกกล่าวหาเพิ่มเข้ามาในคดีที่สภ.แกลง เช่น “สลิ่มบอก ถ้านักเรียนอยากใส่แบรนด์เนม ก็ใส่ Sirivannavari Bangkok สิ // สรุปเด็กกลับไปใส่ชุดนักเรียน” และ “ทำไมเด็กจะใส่ไปรเวทไปโรงเรียนไม่ได้อ่ะ ทีพ่อมึงยังใส่สูทไปเดินป่าได้เลย” โดยบีมได้ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา รวมทั้งได้แจ้งกับทางตำรวจว่าต้องการคำชี้แจงจากผู้กล่าวหาว่าข้อความดังกล่าวเป็นการอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์และความผิดตามพ.ร.บ.คอมฯ อย่างไร
 
“เราคิดว่าการฟ้องครั้งนี้เป็นการกลั่นแกล้ง ในเมื่อมันเป็นข้อความเดียวกัน แต่เราต้องไปรับทราบข้อกล่าวหาในหลายสน. เขาไม่ใช่คนธรรมดาที่เห็นแล้วเอาไปแจ้ง แต่เขาวางแผนกันมาแล้วว่าเขาจะแจ้ง และจะแจ้งที่ไหนบ้าง เขาทำเป็นกระบวนการ”
 
ในด้านการเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา บีมซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดกรุงเทพฯ ต้องหยุดงานและออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปที่สภ.แกลง จังหวัดระยอง ครั้งแรกเป็นเงินส่วนตัวจำนวน 1,500 บาท และคร้ังที่สองจำนวน 1,700 บาทภายใต้การช่วยเหลือของกองทุนดาตอร์ปิโด 
 
“มันคงไม่ต่างอะไรกับการประท้วง ผอ. หรอก” 
 
แม้ว่าโดยปกติ บีมเล่าว่า เขาจะไม่คุยเรื่องการเมืองกับที่บ้านเนื่องจากมีความคิดทางการเมืองอยู่คนละฝั่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อหมายเรียกถูกส่งตรงมา บีมได้เลือกที่จะบอกความจริงและร่วมกันหาทางออกกับพ่อและแม่
 
“วันที่ได้รับหมายก็ร้องไห้ มันเหมือนเป็นวันสุดท้าย เราไม่รู้ว่าต่อจากนี้เราจะมีโอกาสได้อยู่กับคนที่เราอยากอยู่ด้วยนานแค่ไหน เราไม่รู้เลยว่าวันไหนจะเป็นวันสุดท้าย มันไม่รู้จะทำยังไงต่อ หลังจากนั้นเราก็พบจิตแพทย์ หมอก็บอกว่าให้มีความสุขกับเรื่องเล็กๆ แต่เรื่องนี้มันมาทำให้เราไม่มีความสุขไปแล้วกับการแค่โพสต์ข้อความหนึ่งที่เป็นความจริง..”
 
“เราถามแม่ก่อนที่จะไปรับทราบข้อกล่าวหา วันนั้นมันเต็มไปด้วยอารมณ์ (emotional) เราถามแม่ว่า ‘สิ่งที่เราทำ แม่คิดว่ามันถูกหรือผิด?’ เพราะแม่เป็นคนเดียวที่อยู่กับเรา เป็นคนเดียวที่เราแคร์และเล่าทุกอย่างให้ฟัง”
 
“เขาพูดกลับมาว่า ‘จำได้หรือเปล่าว่าเคยห้ามไม่ให้ประท้วง ผอ. แต่ว่าบีมก็ทำ ตอนนั้นบีมบอกกับม้าว่า ก็แค่อยากให้น้อง ม.4 ม.3 ม.2 และม.1 มีชีวิตที่ดีขึ้น อยู่ในโรงเรียนแบบมีความสุขมากขึ้น’ แม่ไม่ได้ผิดหวังอะไร แล้วเขาก็เข้าใจเจตนาและจุดประสงค์ว่ามันคงไม่ต่างอะไรกับการประท้วง ผอ. หรอก”
 
“ก็ปล่อยโฮกัน แล้วก็เป็นจุดที่โอเค เรามีแม่ที่จะอยู่กับเรา ทำให้เราหมดกังวลไปเลยในวันนั้น ไม่กลัวแล้วว่าวันที่ไปรับทราบข้อกล่าวหาจะเกิดอะไรขึ้น ตอนแรกก็ยังกลัว แต่พอได้พูดทุกอย่างและได้ฟังที่แม่คิดกับเรา เราคิดแค่.. ทำให้มันดีที่สุด เพราะไม่รู้จะเป็นยังไงต่อ โอเค เอาก็เอา สู้ก็สู้”
 
อย่างไรก็ตาม ภายหลังเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ปัญหาต่อมาที่บีมต้องพบเจอคือ “การถูกคุกคาม” ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งอุปสรรคในการหางานทำใหม่
 
“มีครั้งหนึ่งจะไปฉีดวัคซีน พอออกจากคอนโดก็ไปขึ้นรถไฟฟ้าสายสีแดงหน้าสนามบินดอนเมือง พอดีวันนั้นมันตรงกับวันที่มีชุมนุมพอดี (6 ตุลาคม 2564) แต่เราไม่ได้ตั้งใจจะไปชุมนุม เราไปฉีดวัคซีนแล้วก็โดนตามตั้งแต่ขึ้นรถไฟฟ้า (คนที่เดินตาม) มีตราเป็นรูปอะไรซักอย่างที่คนปกติไม่ติด เราก็คิดว่าอันนี้น่าสงสัย แล้วเขาก็ตาม ตอนแรกก็ไม่เอะใจจนเขาเดินตามเราไปถึงที่ฉีดวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อ..”
 
“หลังจากนี้น่าจะยากขึ้น หาคนจ้างใหม่ยากขึ้น.. (ผู้จ้างเก่า) เขารู้ว่าเราเป็นแบบนี้ แต่คนใหม่เขาไม่รู้ แล้วทัศนคติทางการเมืองของเรากับเขามันไม่ตรงกัน พอเขาจะจ้างเรา แล้วเราไปโดน 112 มา เขาก็ไม่จ้าง เขาไม่ได้บอกอะไร แต่ใครจะไม่รู้ล่ะ เขาก็คงตัดปัญหาของเขา”
 
“เพดานที่ดันขึ้นไปมันสูงมากและคงกลับไปเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว” 
 
ในช่วงท้ายของบทสนทนา เมื่อถามถึงเรื่องความฝัน บีมกล่าวว่า การได้รับหมายเรียก 112 ได้ทำให้ภาพในอนาคตของเขาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม เขายังไม่มีความคิดที่จะล้มเลิกการโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น รวมทั้ง “ไม่หมดหวัง” ในการต่อสู้ของมวลชนโดยมุ่งหมายว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตได้ในสักวันหนึ่ง
 
“ก่อนหน้านี้มีความฝัน อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อยากเปิดบริษัทรับออกแบบ เป็น agency รับงาน แต่พอโดนเรื่องนี้ อยากไปอยู่ที่อื่น อยากไปมีชีวิตที่มันดีขึ้นโดยที่ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว เราคิดว่าที่นี่ไม่ใช่แผ่นดินบ้านแดนสวรรค์สุขใจอีกแล้ว ในเมื่อมันยังมีกฎหมายที่คลุมเครือแล้วก็ไม่เป็นธรรมกับสิทธิมนุษยชน มันก็ไม่ใช่ประเทศที่น่าอยู่”
 
“แต่กับมวลชนเราไม่เคยหมดหวัง เรารู้ว่าเขาสู้ แล้วเราก็ได้ลองเข้าไปสู้กับเขาแล้ว มวลชนนี่แหละจะเป็นคนที่เปลี่ยนอนาคต อย่างเรื่องเพดานการพูดถึงสถาบันกษัตริย์ เขาก็พยายามทำมาหมดแล้ว ไม่ว่าคนจะน้อยลงไปเท่าไหร่ แต่เพดานที่เราดันขึ้นไปมันสูงมาก แล้วมันก็กลับไปเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว..”
 
“เราจะทำต่อไป (การโพสต์ข้อความ) แต่แค่ระวังมากขึ้น เพราะที่เราโดนเรื่องนี้เขาแค่จะทำให้เรากลัว แต่จริงๆ เขานั่นแหละที่กลัวเรา ดังนั้นเราก็ทำต่อไป” บีมกล่าวทิ้งท้าย
ชนิดบทความ: