1794 1075 1707 1551 1738 1955 1844 1724 1371 1703 1633 1783 1854 1543 1256 1190 1237 1442 1259 1254 1680 1314 1440 1257 1563 1955 1550 1205 1160 1923 1971 1467 1379 1153 1903 1635 1616 1105 1987 1867 1322 1745 1558 1275 1699 1136 1311 1879 1513 1328 1439 1998 1912 1110 1466 1447 1798 1660 1142 1075 1132 1512 1815 1133 1422 1743 1424 1916 1843 1232 1002 1096 1872 1157 1691 1857 1444 1267 1759 1586 1862 1041 1068 1621 1982 1219 1533 1785 1072 1419 1174 1587 1645 1876 1255 1584 1789 1402 1582 ความเคลื่อนไหวสถานการณ์เสรีภาพการแสดงออก เดือนกุมภาพันธ์ 2558 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ความเคลื่อนไหวสถานการณ์เสรีภาพการแสดงออก เดือนกุมภาพันธ์ 2558

ช่วงเวลา

Period

1 –28 ก.พ. 2558

1 – 28 Feb 2015

22 พ.ค. 2557 – 28 ก.พ.2558

22 May 2014 - 28 Feb 2015

คนที่ถูกประกาศเรียกทั้งหมด
Number of individuals summoned    

25

690

คนที่ถูกจับกุมทั้งหมด
Number of individuals arrested 

25

399

ผู้ถูกจับกุมจากการชุมนุมโดยสงบ
Arrests at peaceful demonstrations

12

146

 

จำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีหลังถูกเรียกหรือถูกจับกุม
Number of individuals facing criminal prosecution after summoned/arrested

142 คน

ขึ้นศาลทหาร
Before the military court

101 คน

ขึ้นศาลพลเรือน
Before the civilian court

44 คน

บุคคลที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ (ม.112)
Individuals under investigation for lese majeste crime (section 112)

40 คน

หมายเหตุ: ตัวเลขข้างบนคือตัวเลขที่ทางศูนย์ข้อมูลบันทึกและยืนยันได้ อาจมีผู้ถูกจับกุม/ถูกดำเนินคดีบางส่วนที่ตกหล่นจากการบันทึก 

 

คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 : จับกุมเพิ่มอีก 8 คน

 
จากการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ พบว่า ในเดือนนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 จากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างน้อย 8 คน โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีเครือข่ายบรรพตซึ่งมีผู้ถูกจับกุมเพิ่มอีก 6 คน คือ บรรพต สายฝน นที และผู้ต้องหาอีก 3 รายที่ไม่ต้องการเปิดเผยรายชื่อ อีกหนึ่งกรณีคือการเผยแพร่แถลงการณ์สำนักพระราชวังปลอมซึ่งมีผู้ถูกดำเนินคดี 2 ราย คือ นิรันดร์ และ กฤษณ์ หรือ “เนส” ซึ่งทั้ง 2 คน ได้รับการประกันตัวแล้ว 

 

เครือข่ายบรรพตถูกจับเพิ่ม 6 คน

 

 

จากกรณีการจับกุมตัวเครือข่ายบรรพต 6 ราย ซึ่งได้จัดแถลงข่าวไปเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ต้นเดือนนี้มีการจับกุมผู้ต้องหาจากคดีนี้เพิ่มอีก 6 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บรรพต หรือ หัสดิน ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ผลิตคลิปเสียงที่มีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯประมาณ 400 ตอน

รวมแล้ว จากเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ มีผู้ถูกจับจากการถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกเครือข่ายบรรพตอย่างน้อย 12 คน

 

7 กุมภาพันธ์ 2558 

พนักงานสอบสวนขออำนาจศาลทหารฝากขังผู้ต้องหาใน เครือข่ายบรรพต 2 ราย คือ สายฝน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เปิดบัญชีธนาคารให้ผู้อื่นโอนเงินเป็นทุนหมุนเวียนในเครือข่ายบรรพต และ นที ซึ่งถูกกล่าวหาว่ารับจ้างส่งซีดีคลิปเสียงให้กลุ่มเครือข่าย ต่อมา 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ทหารคุมตัว หัสดิน อายุ 64 ปี หรือผู้ใช้นามแฝงว่า "บรรพต" ผู้ต้องหาผลิตและเผยแพร่คลิปเสียงซึ่งมีเนื้อหาเข้าค่ายหมิ่นเบื้องสูง ส่งมอบให้กับพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)  เพื่อแจ้งข้อกล่าวหา

20 กุมภาพันธ์ 2558

แหล่งข่าวรายงานว่าเจ้าหน้าที่ ปอท. นำผู้ต้องหาคดี 112 ซึ่งเป็นเครือข่ายบรรพตมาฝากขังที่ศาลทหารอีก 3 ราย เป็นหญิง 2 ราย และชายอีก 1 ราย ทั้งนี้ ผู้ต้องหาทั้งหมดยังไม่อนุญาตให้เปิดเผยรายชื่อและรายละเอียดคดี

ขณะนี้ ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 6 คนถูกฝากขังเพื่อรอการพิจารณาคดี

 

มีผู้ถูกจับกุม 2 คนจากกรณีเผยแพร่แถลงการณ์ปลอม

 

ช่วงค่ำของวันที่ 2 กุมภาพันธ์ มีการเผยแพร่แถลงการณ์สำนักพระราชวังปลอมในสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดเป็นเหตุให้ทางการเร่งสืบหาผู้เผยแพร่แถลงการณ์ปลอม และนำไปสู่การจับกุมดำเนินคดีผู้ต้องหา 2 ราย คือ นิรันดร์ ผู้ดูแลเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์(ในขณะนั้น) และ กฤษณ์ ผู้ช่วยประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเจตนาเผยแพร่แถลงการณ์ดังกล่าวบนเฟซบุ๊กของตนเองเป็นคนแรกๆ

 

3 กุมภาพันธ์  2558 

นิรันดร์ เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อชี้แจง กรณีเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์เผยแพร่แถลงการณ์ปลอม ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารดังกล่าวแล้วพบว่าเป็นเอกสารปลอม ทางเว็บไซต์จึงดำเนินการลบข้อมูล และขึ้นประกาศขออภัยในความผิดพลาด

4 กุมภาพันธ์ 2558  

เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว กฤษณ์ หรือ "เนส"  นักดนตรี และอดีตผู้ช่วยประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งต้องสงสัยว่า เป็นผู้เผยแพร่แถลงการณ์ปลอมเป็นลำดับต้นๆ มาสอบสวนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งทำการสอบสวนคดีนี้ด้วยตัวเอง ระบุว่า  "เนส" ยอมรับว่าเป็นผู้โพสต์แถลงการณ์ปลอมบนเฟซบุ๊กของตัวเองจริง โดยมีเจตนาต้องการให้เพื่อนทราบ ทั้งนี้เฟซบุ๊กของ”เนส”มีเพื่อนมากกว่า 4,000 คน

6 กุมภาพันธ์ 2558 

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ทวิตข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า  พนักงานสอบสวน ปอท. ยื่นคำร้องขอออกหมายจับผู้ดูแลระบบและเผยแพร่แถลงการณ์เท็จลงในเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์แล้ว 

นิรันดร์และ "เนส" ถูกเจ้าหน้าที่นำตัวมาขออำนาจศาลทหารกรุงเทพฝากขังเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ทนายของนิรันดร์ ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอนุญาตโดยให้เหตุผลว่านิรันดร์ได้เข้าพบกับเจ้าหน้าที่ก่อนหน้านี้แล้วและไม่ได้มีเจตนาหลบหนี

ในส่วนของ ”เนส” ยังไม่ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในวันฝากขัง เนื่องจากยังหาหลักทรัพย์มายื่นไม่ได้ เนสยื่นหลักทรัพย์ 400,000 บาท เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราวในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ แต่ศาลไม่อนุญาต เพราะในวันนั้นพนักงานสอบสวนไม่ได้มาด้วย ศาลไม่สามารถถามข้อมูลจึงเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี  “เนส” ยื่นคำร้องอีกครั้งในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ด้วยหลักทรัพย์เดิม ครั้งนี้ ศาลอนุญาต

 

กฎหมายอาญามาตรา 112 ยังถูกนำมาใช้กับกรณีแอบอ้างอย่างต่อเนื่อง

 
เดือนกุมภาพันธ์ มีการร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลด้วยมาตรา 112จากการแอบอ้างอย่างน้อย 5 ราย 
 
3 กุมภาพันธ์ 2558
 
เจ้าหน้าที่กองปราบปรามจับกุมตัว เอกชัย หรือ “เอฟ” ซึ่งสืบทราบภายหลังว่า มีความเกี่ยวพันเป็นหลานของพล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ในความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ก่อนนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญาในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 
 
การจับกุมดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ บรรเทิง เนมีแสน เข้าแจ้งความเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ว่า ถูกเอกชัย แอบอ้างเบื้องสูงหลอกลวงว่าจะช่วยเหลือบุตรชายของตนซึ่งถูกจับกุมในคดียาเสพติด  โดยเอๆกชัยเรียกร้องเงิน 1 ล้าน 3 แสนบาท เป็นการตอบแทน แต่ท้ายที่สุดก็ช่วยบุตรชายตนไม่ได้และไม่ยอมคืนเงิน  
 
5 กุมภาพันธ์ 2558
 
ศวิตา มณีจันทร์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง แจ้งความดำเนินคดี อภิรุจ สุวะดี และ วันทนีย์ สุวะดี บิดา และ มารดา ของท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี ในความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานแจ้งความเพื่อกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษทางอาญา และความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายมาตรา112 
 
ศวิตาเปิดเผยว่า เมื่อปี 2546 วันทนีย์กล่าวหาตนว่ามีความสัมพันธ์ชู้สาวกับอภิรุจ วันทนีย์บังคับให้ลุงของศวิตา แจ้งควาดำเนินคดีตนฐานฉ้อโกง ต่อมาศาลพิพากษาจำคุกตน 24 เดือน และก่อนลดโทษเหลือจำคุก 18 เดือน และเมื่อพ้นโทษก็ไม่สามารถสมัครงานได้เพราะมีประวัติต้องโทษ 
 
ศวิตายืนยันว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง แต่จำเป็นต้องรับสารภาพ เพราะเกรงอิทธิพลของครอบครัวสุวะดี การถูกกลั่นแกล้งไม่เพียงกระทบกับตน แต่กระทบกับครอบครัวของตนด้วยครอบครัวของศวิตาต้องย้ายออกจากจังหวัดราชบุรี  ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558
ตำรวจกองปราบคุมตัวบิดาและมารดาของท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ไปที่ศาลอาญาเพื่อขออำนาจศาลฝากขัง ทั้งสองยื่นหลักทรัพย์คนละ 1 ล้านบาท เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว แต่ศาลไม่อนุญาตเพราะเกรงว่าผู้ต้องหาทั้งสองจะหลบหนีออกนอกราชอาณาจักร 
 
20 กุมภาพันธ์ 2558
 
เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัว เสฏฐวุฒิ เพ็งดิษฐ์ น้องชายของธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จากกรณีที่เสฏฐวุฒิทำหน้าที่เป็นนายหน้าติดต่อให้ชาวบ้าน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ขายที่ดินให้กับกลุ่มนายทุน คือ บุญธรรม บุญเทพประธาน หรือ “ป๋าชื่น” ซึ่งอ้างว่ารู้จักกับพลตำรวจโทพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ โดยแอบอ้างสถาบัน ซึ่งตำรวจได้ออกหมายจับและอยู่ระหว่างการติดตามตัว ป๋าชื่นมาดำเนินคดี
 
27 กุมภาพันธ์ 2558
 
ตำรวจกองปราบ คุมตัว”ป๋าชื่น”มาขออำนาจศาลอาญาฝากขัง และค้านการปล่อยตัวชั่วคราวเนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี
 
 
ความเคลื่อนไหวคดี 112 อื่นๆ ในรอบเดือนกุมภาพันธ์
 
 
9 กุมภาพันธ์ 2558
 
คดีจารุวรรณ: โพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ครบกำหนดฝากขัง 84 วัน แต่อัยการทหารยังไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 3 ต่อศาลทหาร จึงต้องปล่อยตัวไปก่อน ผู้ต้องหาทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ทำให้ทั้ง 3 ถูกควบคุมตัวรวม 85 วัน ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 1 วัน 
 
10 กุมภาพันธ์ 2558
 
คดีสมัคร: ทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ ศาลจังหวัดทหารบกเชียงรายนัดสืบพยานโจทก์ปากที่ 2 คือ วรวิทย์ ศรีคำ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านที่สมัครอาศัยอยู่ เบิกความว่า ตนได้รับโทรศัพท์แจ้งว่ามีบุคคลกำลังทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ จึงออกไปดู และแจ้งตำรวจ ต่อมาจึงพบว่าเป็นจำเลย ทนายจำเลยถามค้านโดยเน้นประเด็นเรื่องอาการทางประสาทซึ่งวรวิทย์เบิกความว่า สมัครเคยรับการรักษาอาการทางประสาทมาก่อน และเคยเผารถและทุบบ้านของตนเอง
 
23 กุมภาพันธ์ 2558
 
คดีละครเวทีเจ้าสาวหมาป่า ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดีเจ้าสาวหมาป่า โดยเลื่อนเวลาจากเดิม 13.30 น. เป็นเวลา 9.30 น. โดยไม่มีการแจ้งทนายและญาติของจำเลยทั้ง 2 ล่วงหน้า  ศาลเริ่มอ่านคำพิพากษาเวลาประมาณ 11.20 น. ซึ่งได้สรุปว่า  จำเลยทั้ง 2 แสดงละครที่มีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ลงโทษจำคุกคนละ 5 ปี จำเลยทั้งสองรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน แต่ไม่ให้รอการลงโทษ
 
 

สถานการณ์เสรีภาพในการแสดงออกภายใต้กฎอัยการศึก: การเรียกปรับทัศนคติ การแทรกแซงกิจกรรมสาธารณะและงานเสวนายังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

การเรียกบุคคลรายงานตัวเพื่อปรับทัศนคติ

 
 
จากการเก็บข้อมูลประเด็นการเชิญบุคคลไปรายงานตัวและพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ พบว่ามีบุคคลอย่างน้อย 25 คน ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเชิญตัวไปพูดคุย
 
3 กุมภาพันธ์ 2558
 
เพียรรัตน์ บุญฤทธิ์ ประธานสหกรณ์การเกษตรสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ผู้นำการเรียกร้องสิทธิในที่ดินสวนปาล์มหมดสัญญาเช่าให้กับชาวบ้าน ถูกทหารเชิญไปปรับทัศนคติ ที่ค่ายวิภาวดีรังสิต จ.สุราษฎร์ธานีเป็นเวลา 3 วัน โดยอ้างเหตุผลเรื่องความสงบสุข และความปรองดองในพื้นที่ ต่อมาในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ระหว่างการประชุมของสกต. มีทหาร 5 นายเดินทางเข้ามา พร้อมจดชื่อสมาชิกชุมชนไป 28 คน โดยอ้างว่า ไม่ปฏิบัติตามการตักเตือนที่ได้แจ้งและสั่งห้ามมิให้สมาชิกของชุมชนเข้าไปทำการใดๆ ในบริเวณชุมชนแล้ว นอกจากนี้ ยังระบุว่า ถ้ายังไม่ออกจากชุมชนเพิ่มทรัพย์ จะเรียกไปปรับทัศนคติ และดำเนินคดีทุกคน
 
3 กุมภาพันธ์  2558
 
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ถูกทหารควบคุมตัวไปในช่วงค่ำ โดยคนใกล้ชิดเรืองไกรให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า ฝ่ายความมั่นคงไม่พอใจที่เรืองไกร ส่งหนังสือถึง แพทริค เมอร์ฟีย์ อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเพื่อชี้แจงสถานการณ์ในไทยและให้ความชัดเจนกรณีการถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 
 
12 กุมภาพันธ์ 2558
 
ทหารร่วมกับฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนายอำเภอ นายกฯ อบต.และเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพย์ฯ กว่า 60 นาย เข้าตรวจสอบพื้นที่สาธารณะโคกหนองสิม จ.ร้อยเอ็ด พร้อมกำหนดให้ชาวบ้านไปลงชื่อที่ อบต.โพนทอง เพื่อยืนยันว่าจะยอมออกจากพื้นที่ภายในวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ หากไม่ปฏิบัติตาม จะเข้ามาดำเนินการให้ชาวบ้านอพยพออกไป เจ้าหน้าที่ยังจับพระไปด้วย 1 รูป พร้อมขู่บังคับว่า หากหลบเข้ามาที่วัดอีกจะจับสึกทันที
 
นอกจากการเรียกตัวไปปรับทรรศนะคติหรือการตั้งเงื่อนไขต่างๆให้ชาวบ้านแล้ว ทหารและฝ่ายความมั่นคงใช้นำวิธีการละมุนละม่อมเช่น การเชิญมาพูดคุย หรือการเชิญมารับประทานอาหารมาใช้ด้วย
 
7 กุมภาพันธ์ 2558
 
พ.อ.อุทัย ชัยชนะ รองผู้บัญชาการมณฑล ทหารบก (มทบ.) ที่ 33 ค่ายกาวิละ เชิญแกนนำแดงเชียงใหม่กว่า 10 คน พบปะสังสรรค์และพูดคุย พร้อมรับประทานอาหารกลางวัน ตามโครงการสร้างความเข้มแข็งสู่การปฏิรูปสังคม ที่สโมสรสนามกอล์ฟลานนา จ.เชียงใหม่ โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง
 
25 กุมภาพันธ์ 2558
 
นักข่าวว๊อยซ์ทีวีจำนวน 5 คน ได้แก่ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข วิโรจน์ อาลี ธีรัตถ์ รัตนเสวี ลักขณา ปันวิชัย หรือ คำผกา และ พรรณิการ์ วานิช ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเรียกเชิญ?ไปคุยที่กรมสื่อสารทหารบก โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
 
 
การขัดขวางการจัดกิจกรรมสาธารณะ
 
 
7 กุมภาพันธ์ 2558
 
มีกระแสข่าวตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ว่า ทหาร “ขอความร่วมมือ” ให้งดจัด ขบวนพาเหรดล้อการเมือง ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ต่อมาในวันงาน ทหารขอตรวจค้นขบวนล้อการเมืองของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีการยึดป้ายผ้าไปจำนวนหนึ่งก่อนที่ขบวนพาเหรดจะเข้าสู่สนาม  
 
14 กุมภาพันธ์ 2558
 
กลุ่มพลเมืองโต้กลับจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “เลือกตั้งที่ (รัก) ลัก” ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีเจ้าหน้าที่ตำรวจราวสองกองร้อยและตำรวจนอกเครื่องแบบกระจายตัวรอบพื้นที่จัดงาน ระหว่างงาน เจ้าหน้าที่จับตากิจกรรมอย่างใกล้ชิด มีการสุ่มตรวจบัตรประชาชนและขอถ่ายภาพผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้ขัดขวางการจัดกิจกรรม 
 
แม้กิจกรรมจะเป็นไปอย่างเรียบร้อย แต่ก็มีนักกิจกรรมถูกดำเนินคดี 4 คน ทุกคนถูกควบคุมตัวที่สน.ปทุมวันตั้งแต่เย็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ก่อนจะถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 7/2557 เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน และจะถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร หลังการเจรจาต่อรองอย่างยาวนาน ผู้ต้องหาทั้ง 4 ได้รับการปล่อยตัวจากสน. ในเวลาประมาณ 3.00 น. ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์
 
21 กุมภาพันธ์ 2558
 
พฤ โอ่โดเชา ตัวแทนประชาชนเพื่อการปฏิรูปภาคเหนือ ถูกทหารเชิญตัวเข้าพูดคุยกว่า 2 ชั่วโมง หลังร่วมทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์จุดเทียนส่องรัฐธรรมนูญ และยื่นข้อเสนอต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จ.เชียงใหม่ ระหว่างการควบคุมตัว เขาถูกทหารสอบสวน ถูกค้นกระเป๋า และถูกยึดโทรศัพท์มือถือ
 
22 กุมภาพันธ์ 2558
 
กลุ่มเสรีชน Thailand 58 รวมตัวกันจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ "ตัวนกถูกมัดปากและขา" พร้อมแจกเสื้อยืดสกรีนข้อความ "กลุ่มเสรีชน Thailand 58" ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหนึ่งกองร้อย กองร้อยน้ำหวาน 15 นาย และ เจ้าหน้าที่ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบ 15 นาย คอยดูแลสถานการณ์
 
ขณะที่ทางกลุ่มเตรียมอ่านแถลงการณ์ ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าควบคุมตัว อัครกฤษ นุ่นจันทร์ และเพื่อนอีก 3 คน เข้าไปในป้อมตำรวจ จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวทั้ง 4 คน ขึ้นรถตำรวจไปสอบปากคำและปรับทัศนคติเป็นเวลานานกว่า 4 ชั่วโมงก่อนปล่อยตัวทั้งหมด เบื้องต้นเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาก่อความเดือดร้อนรำคาญ ปรับคนละ 100 บาท พร้อมลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน 
 
 
การขัดขวางการจัดงานเสวนา
 
 
1 กุมภาพันธ์ 2558
 
กลุ่มห้องสมุดสันติประชาธรรมจัดงานเสวนา “สิทธิเสรีภาพประชาชนภายใต้ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์”  ที่ห้องสมุดสันติประชาธรรม สวนเงินมีนา มีทหารมาสังเกตการณ์ในงานด้วย แต่ครั้งนี้ทหารขอร่วมเป็นวิทยากร โดยไม่ได้ห้ามจัดกิจกรรมทหารขอขึ้นไปร่วมเป็นวิทยากรและมีการบันทึกภาพตลอดงานด้วย 
 
22 กุมภาพันธ์ 2558
 
กลุ่มห้องสมุดสันติประชาธรรม จัดงานเสวนาอีกครั้งในหัวข้อ  "ย้อนรำลึกขบวนการประชาธิปไตย" (เสวนากบฎวังหลวง)" ครั้งนี้ ทหารแจ้งให้หนึ่งในผู้จัดงานทำหนังสือขออนุญาตคสช. งานเสวนาสามารถจัดได้ตามกำหนดการแต่มีทหารบันทึกเทปไว้ตลอดเวลา
 
24 กุมภาพันธ์ 2558
 
กฤษกร ศิลารักษ์ ผู้ประสานงานขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) เข้าพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ฝ่ายความมั่นคง และหน่วยงานด้านความมั่นคง ที่ศาลากลางจังหวัดอุบลฯ ตามคำสั่งที่ถูกเรียก เพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงาน 2 ทศวรรษปากมูน ที่จะมีขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ กฤษกรเชื่อว่างานนี้ยังคงเดินหน้าไปได้ แต่อาจมีข้อจำกัดมากขึ้น
 
27 กุมภาพันธ์  2558
 
มีการแทรกแซงการจัดงานเสวนา "การปฏิรูปทางการเมือง เพื่อความงาม ความเจริญ และความเป็นธรรม" ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทหารขอให้เปลี่ยนตัววิทยากร เปลี่ยนโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ และขอให้มีสมาชิกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติร่วมเป็นวิทยากรด้วย  
 
 
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับคดีเสรีภาพอื่นๆที่น่าสนใจ: แจ้งความดำเนินคดีสื่อดังฐานหมิ่นประมาท และความเคลื่อนไหวคดีหมิ่นประมาท+พรบ.คอมของนักสิทธิด้านแรงงานข้ามชาติ 
 
 
2 กุมภาพันธ์ 2558

ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดไต่สวนมูลฟ้อง คดีพ.ร.บ.คอมของ อานดี้ ฮอลล์ ต่อ ทนายจำเลยถามค้านพยานโจทก์ปากที่ 1 คือ คชินทร์ คมนียวณิช รองประธานบริษัท เนเชอรัล ฟรุต การสืบพยานปากนี้ยังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากโจทก์ยังไม่ได้ถามติง ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องพยานปากนี้ต่ออีกครั้งในวันที่ 16 มีนาคม 2558

 
27 กุมภาพันธ์ 2558
 
 
ดากานดา สอนประเสริฐ ผู้จัดทำโครงการ “เรามีเรา” เพื่อหารายได้ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง เดินทางมาที่ศาลอาญารัชดาเพื่อยื่นฟ้อง สรยุทธ สุทัศนะจินดา และ พรชิตา ณ สงขลา ผู้ดำเนินรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ในความผิดฐาน ร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา เนื่องจากผู้ดำเนินรายการทั้ง 2 คน ใส่ความดากานดาทำนองว่า เจ้าตัวแอบอ้างชื่อ ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ไปขอรับบริจาคเพื่อหาทุนให้มูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยเงินบริจาคมีมูลค่าถึง 3.4 ล้านบาท แต่สถาบันมะเร็งฯ ไม่เคยได้รับ
 

 

 

ประเภทรายงาน: