- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
อำพล
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด
สถานะผู้ต้องหา
อื่นๆ(เสียชีวิตระหว่างต้องโทษ)
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 14 (2) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาคดีโดยย่อ
อำพล ถูกกล่าวหาว่า ส่งข้อความมีเนื้อหาดูหมิ่นแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ฯรวม 4 ข้อความ ศาลตัดสินว่าอำพลมีความผิดลงโทษจำคุก 20 ปี อำพลเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งระหว่างจำคุก
คดีนี้ได้รับความสนใจมากเนื่องจากคำพิพากษาลงโทษที่สูง จำเลยเป็นชายแก่ที่ฐานะยากจนและปฏิเสธว่าตัวเองส่งข้อความ SMS ไม่เป็น และคดีนี้มีประเด็นเรื่องการนำสืบพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้หมายเลขอีมี่ของเครื่องโทรศัพท์เป็นหลักฐานสำคัญ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
อำพล อายุ 61 ปี (ในวันที่ถูกจับ) เคยประกอบอาชีพขับรถส่งของ ก่อนถูกจับไม่ได้ประกอบอาชีพเนื่องจากอายุมากและพูดไม่ถนัดหลังการผ่าตัดมะเร็งใต้ลิ้นตั้งแต่ปี 2550 ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีอำพลอาศัยอยู่กับภรรยาในห้องเช่าราคาเดือนละ 1,200 บาท ย่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ดำรงชีพด้วยเงินที่ได้รับจากลูกๆ แต่ละวันมีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลาน 3-4 คน อำพล เคยไปร่วมชุมนุมทางการเมืองทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดงเป็นครั้งคราว
ตามข้อกล่าวหาของตำรวจ อำพลถูกระบุว่าเป็นกลุ่มฮาร์ดคอร์การเมืองของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เป็นเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี (ในวันที่กล่าวโทษ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้กล่าวโทษในคดีนี้
ข้อกล่าวหา
สร้างความตื่นตระหนก, กระทบต่อความมั่นคง, หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
ระบบมือถือ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญา รัชดา
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
No: อ.311/2554 วันที่: 2011-01-18 -
หมายเลขคดีแดง
คำอธิบายดคีแดง ภาษาไทย
No: อ.4726/2554 วันที่: 2011-11-23 -
หมายจับ
1659 /2553 เมื่อวันที่ 2010-07-29
อำพล ถูกกล่าวหาว่าใช้โทรศัพท์มือถือ หมายเลข 081-349-3615 ส่งข้อความอันอาจเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นประมาทใส่ความให้ร้ายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทั้งหมด 4 ครั้งไปยังโทรศัพท์มือถือหมายเลขโทรศัพท์ 081-425-5599 ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553
สมเกียรติแจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมความผิดทางเทคโนโลยี (ปอท.) หลังจากได้รับ SMS จากเบอร์โทรศัพท์หมายเลข 0813493615 ที่ส่งมายังเครื่องของตนในวันที่ 9, 11, 12, 22 พ.ค. 2553 รวมจำนวน 4 ข้อความ
วันที่ 3 สิงหาคม 2553 ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีพร้อมด้วยสื่อมวลชน เข้าไปจับกุมอำพลที่บ้านพักในย่านสำโรง ตำรวจตรวจพบโทศัพท์มือถือยี่ห้อโมโตโรล่า สองเรื่อง และนี่ห้อเทเลวิซหนึ่งเรื่องในตู้เสื้อผ้า
3 สิงหาคม 2553
6 ตุลาคม 2554
1 กรกฎาคม 2556
เวลาประมาณ 10.00 น. นางสาวรสมาลิน ภรรยาของนายอำพล และนางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ เดินทางไปที่ศาลปกครองตามนัดไต่สวนคำร้องขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในคดีที่ฟ้องกรมราชทัณฑ์เพื่อเรียกค่าเสียหาย โดยหากศาลไม่ยกเว้นค่าธรรมเนียม นางสาวรสมาลินในฐานะผู้ฟ้องคดี อาจต้องเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 40,000 บาท
นางสาวรสมาลินให้ถ้อยคำต่อศาลว่า ปัจจุบันอยู่ห้องเช่ากับบุตรซึ่งป่วย ไม่ได้ประกอบอาชีพ สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย สะใภ้และหลานรวม 8 คน ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านรวมค่าน้ำค่าไฟประมาณ 6,000 บาทต่อเดือน มีรายได้ที่ได้รับจากลูกประมาณเดือนละ 6,000-7,000 บาท หากไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมจะต้องกู้เงินมาจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมศาล
ทั้งนี้ การฟ้องคดีนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่จะได้รับเงินค่าเสียหาย แต่ต้องการสร้างมาตรฐานให้ผู้ต้องขังในเรือนจำได้รับการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็วและทัดเทียมกับคนที่อยู่นอกเรือนจำจะได้ไม่มีผู้ประสบเหตุอย่างกรณีของนายอำพลอีก
ผู้สังเกตการณ์รายงานว่า ระหว่างการให้ถ้อยคำศาลได้เสนอให้ลดจำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องจากกรมราชทัณฑ์ ซึ่งจะทำให้เสียค่าธรรมเนียมน้อยลงแต่นางสาวพูนสุขยืนยันว่าจะไม่ลด เพราะเป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้สูงเกินไป และต้องการสร้างมาตรฐานให้เห็นถึงความเสียหายอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของกรมราชทัณฑ์
23 กันยายน 2554
คดีนี้ มีความเห็นจากนักวิชาการ องค์กรสิทธิ และประชาชนทั่วไป ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเด็น ดังนี้
1) ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน
หลักฐานสำคัญในคดีนี้คือบันทึกข้อมูลการใช้โทรศัพท์จากผู้ให้บริการ ที่มีหมายเลข EMEI ของเครื่องโทรศัพท์ของจำเลย ซึ่งหลังการพิพากษามีกระแสวิจารณ์ออกมาว่า ลำพังหมายเลข EMEI นั้นยังไม่เพียพอพิสูจน์ควมผิดได้ เช่น
เว็บไซต์ Blognone ออกจดหมายเปิดผนึก ระบุว่า
2) ปัญหาด้านทนายความและพยานผู้เชี่ยวชาญ
เนื่องจากคดีนี้ฝ่ายโจทก์ให้หลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้ิบริการเป็นหลักฐานสำคัญในการพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิด ทนายความของจำเลยจึงต้องทำหน้าที่พิสูจน์หักล้างหลักฐานเหล่านั้น
ในช่วงเวลาที่ดำเนินคดีนี้ สังคมไทยมีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับการใช้หลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นศาลน้อยมาก ขณะที่พยานผู้เชี่ยวชาญหลายรายที่ทนายความพยายามติดต่อขอให้มาเบิกความเป็นพยานก็ปฏิเสธ เนื่องจากความร้ายแรงของข้อหาในคดีนี้ ทนายจำเลยจึงต้องเบิกความเองโดยอธิบายความรู้เท่าที่สืบค้นและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญมา
แต่สุดท้ายศาลอาญาพิพากษาว่า ข้อกล่าวอ้างของจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ เนื่องจากไม่สามารถนำพยานผู้เชี่ยวชาญเข้าเบิกความได้
3) สิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับการประกันตัว
หลังจากเสียชีวิตในเรือนจำของนายอำพล ในสภาพอาการป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา ส่งผลให้องค์กรสิทธิหลายองค์กร ตั้งคำถามถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ทั้งสิทธิในการได้รับการประกันตัว ทั้งนี้ เนื่องจากนายอำพล โดยทนายความยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวหลายครั้ง โดยยกเหตุผลด้านสุขภาพมาประกอบขอให้ปล่อยตัว แต่ศาลไม่อนุญาตนั้น
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ให้สัมภาษณ์ผ่านทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า คดีนี้ศาลอาญามีคำพิพากษาไปแล้ว ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมทั้งยื่นประกันตัว แต่ต่อมาจำเลยขอถอนอุทธรณ์ประมาณเดือนมีนาคม 2555 โดยนายทวีทราบจากข่าวว่าจำเลยประสงค์จะยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งจะยื่นได้ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดก็ไม่อาจยื่นประกันตัวอีกได้ และถึงยื่นประกันก็คงไม่ได้ประกันเนื่องจากคดีไม่ได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาล ยุติธรรม (หมายเหตุ: คำถอดความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มีความกำกวม ข้อความที่ปรากฏในศูนย์ข้อมูลนี้ถูกตีความปรับแต่งข้อความเล็กน้อยเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น อ่านข้อความต้นฉบับประกอบ)
ข้อมูลจากทนายความชี้ว่า นายอำพลเคยยื่นคำร้องขอประกันตัวหลายครั้ง ทุกครั้งอ้างเหตุแห่งความเจ็บป่วย แต่ถูกศาลชั้นต้นยกคำร้อง 4 ครั้ง ศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง 3 ครั้ง และศาลฎีกายกคำร้อง 1 ครั้ง ท้ายที่สุดในเดือนเมษายน 2555 นายอำพลตัดสินใจจบคดีด้วยการถอนอุทธรณ์ และรอขอพระราชทานอภัยโทษ
คำสั่งไม่ให้ประกันตัวครั้งสุดท้ายก่อนที่นายอำพลเสียชีวิต มีขึ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ศาลฎีการะบุเหตุผลในคำสั่งว่า เพราะเรื่องคดีร้ายแรง มีโทษสูง หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ส่วนที่จำเลยอ้างความป่วยเจ็บนั้น เห็นว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการรักษา พยาบาลโดยหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราว (ดูเอกสารคำสั่งศาลฎีกา)
4) สุขอนามัย คุณภาพชีวิตในเรือนจำ และสิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ
การเสียชีวิตของอำพลทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานการรักษาพยาบาลในเรือนจำเป็นวงกว้าง เนื่องจากมีการเปิดเผยข้อมูลว่า อำพลเคยเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ในเรือนจำครั้งหนึ่ง แต่กลับถูกดูถูกเหยียดหยามจากข้อหาที่ทำให้อำพลถูกพิพากษาจำคุก
ต่อมาเมื่ออำพลมีอาการท้องบวม และปวดท้อง ได้ไปตรวจรักษาอีก แต่กลับไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรงมะเร็งและต้องรับการรักษาโดยทันท่วงที ครั้งสุดท้ายที่อำพลไปรับการตรวจเป็นวันศุกร์ หลังตรวจแล้วแพทย์ยังไม่ได้รักษาแต่ส่งไปดูอาการที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ก่อน หลังจากนั้นเป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์ที่ไม่มีแพทย์ประจำอยู่ที่โรงพยาบาล ต่อมาอาการของอำพลกำเริบและเสียชีวิตในวันอาทิตย์
ปริมาณนักโทษในเรือนจำที่มาก ขณะที่แพทย์ บุคลากร และงบประมาณมีจำกัด ประกอบกับกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยมีจำนวนมาก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้สังคมหันมาตั้งคำถามว่านักโทษในเรือนจำมีโอกาสเสียสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปหรือไม่
"อากงถวายฎีกา ถอนอุธรณ์ ไม่อาจยื่นประกัน" ,ไทยรัฐ วันที่ 9 พฤษภาคม 2555 (อ้างอิงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2555)
"ตั้งศพ "อากง" หน้าศาลอาญารัชดาฯ - ผลชันสูตรชี้มะเร็งตับลามทั่วตัว",ข่าวสด วันที่ 9 พฤษภาคม 2555 (อ้างอิงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2555)
"อากง SMS" เสียชีวิตแล้ว ในโรงพยาบาลเรือนจำพิเศษฯ, ประชาไท วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 (อ้างอิงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555)
ทนายอากงเผย อากงปวดท้องหนักตั้งแต่วันศุกร์ เพิ่งได้ตรวจวันจันทร์, ประชาไท วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 (อ้างอิงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555)
ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกัน ‘อากง’ – อัยการขยายอุทธรณ์รอบ3 คดี ‘โจ กอร์ดอน’, ประชาไท วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555 (อ้างอิงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555)
ชันสูตร 'อากง' มะเร็งตับระยะสุดท้าย รอผล 7 วันตรวจสารพิษ จี้ยกระดับคุณภาพคุก, ประชาไท วันที่ 9 พฤษภาคม 2555 (อ้างอิงเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2555)
ฟังคำสั่งไต่สวนการตาย ‘อากง’ 30 ต.ค.- ภรรยาฟ้องยื่นศาลปกครองฟ้องราชทัณฑ์, เว็บไซต์ประชาไท, 8 สิงหาคม 2556 (เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2556)