- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
รังสิมันต์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
อื่นๆ(ปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์)
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา, ประกาศ/คำสั่งคณะปฏิวัติ, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
สิรวิชญ์ | อื่นๆ (ปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์) |
ณัฏฐา | อื่นๆ (ปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์) |
อานนท์ | อื่นๆ (ปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์) |
เอกชัย | อื่นๆ (ปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์) |
สุกฤษฎ์ | อื่นๆ (ปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์) |
เนติวิทย์ | อื่นๆ (ปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์) |
วีระ | อื่นๆ (ปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์) |
สมบัติ | อื่นๆ (ปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์) |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
กลุ่มประชาชนรวมตัวกันชุมนุมที่ลานสกายวอล์กหน้าหอศิลปกรุงเทพฯในวันที่ 27 มกราคม 2561 เพื่อประท้วงกรณีที่สนช.กำหนดให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯมีผลบังคับใช้ 90 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งอาจจะมีผลให้การเลือกตั้งล่าช้าไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ระหว่างการชุมนุมเจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้กำลังยุติการชุมนุมแต่ในเวลาต่อมามีการตั้งข้อกล่าวหากับบุคคลเก้าคนที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นแกนนำในการชุมนุมรวมสามข้อกล่าวหาได้แก่ข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ข้อหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 และข้อหาชุมนุมในสถานที่หวงห้ามตามมาตรา 7 ของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
พ.ต.ท.สมัคร ปัญญาวงค์ รองผู้กำกับการ(สอบสวน) หัวหน้างานสอบสวน สน.ปทุมวัน
ข้อกล่าวหา
ชุมนุม มั่วสุม ก่อความวุ่นวาย
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญากรุงเทพใต้
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลชั้นต้น No: อ.3207/2561 วันที่: 2018-11-17
จำเลยทั้งเก้าคน มีพฤติการณ์ร่วมกันแชร์โพสต์เฟซบุ๊กบนเพจเฟซบุ๊ก กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย เชิญชวนประชาชนมาร่วมการชุมนุมต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช.ในวันที่ 27 มกราคม 2561 ต่อมาในวันที่ 27 มกราคม 2561 จำเลยทั้งหมดร่วมกันจัดการชุมนุมในที่สาธารณะ โดยที่บริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้กับวังสระปทุมในระยะห่างไม่เกิน 150 เมตร ระหว่างการชุมนุมมีการปราศรัยโจมตีรัฐบาลและเรียกร้องให้คนออกมาร่วมการชุมนุม
ทั้งนี้ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เอกชัยหนึ่งในผู้ต้องหาโพสต์ข้อความพร้อมภาพประกอบบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่ามีเจ้าหน้าที่นำหมายเรียกฉบับที่สองมาส่งให้กับเขา แต่ตัวเขายังไม่ได้รับหมายเรียกฉบับแรก จึงได้ใช้ปากกาเขียนข้อความลงไปในหมายเรียกว่าตัวเองยังไม่ได้รับหมายเรียกฉบับแรก เขาจึงถือว่าฉบับที่เจ้าหน้าที่นำมาส่งในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เป็นหมายเรียกฉบับแรก
ผู้ต้องหาทั้งหมดยกเว้นรังสิมันต์สามารถเดินทางกลับบ้านได้ ส่วนรังสิมันต์ถูกอายัดตัวส่งไปที่จังหวัดขอนแก่นเนื่องจากเขาเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลทหารจังหวัดขอนแก่นในคดีพูดเพื่อเสรีภาพ
25 มกราคม 2561
เฟซบุ๊กเพจกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย โพสต์ภาพพร้อมข้อความประกาศเชิญชวนประชาชนร่วมทำกิจกรรมเชิญสัญลักษณ์ที่บริเวณสกายวอล์กสถานีรภไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ หน้าหอศิลปกรุงเทพฯเพื่อเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 และประท้วงการสืบทอดอำนาจของคสช
26 มกราคม 2561
เฟซบุ๊กเพจ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย โพสต์ภาพแสดงจุดนัดพบในการทำกิจกรรม พร้อมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมกิจกรรม
27 มกราคม 2561
เดลินิวส์ออนไลน์รายงานว่า พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 ในฐานะทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการทำกิจกรรมของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยว่าเจ้าหน้าที่จะเฝ้าติดตามการทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด โดยจะเน้นทำความเข้าใจและขอความร่วมมือไม่ให้มีการกระทำที่เกินกรอบของกฎหมาย
การทำกิจกรรมในวันนี้ยุติลงในเวลา 19.00 น. โดยไม่มีการจับกุมหรือตั้งข้อกล่าวหากับผู้ร่วมกิจกรรม
ภาพบรรยากาศกิจกรรมในวันที่ 27 มกราคม 2561
29 มกราคม 2561
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุว่าได้มอบหมายให้รองผบ.ตร.ด้านความมั่นคงตรวจสอบเรื่องการชุมนุมในวันที่ 27 มกราคมแล้วว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายใดหรือไม่
30 มกราคม 2561
บีบีซีไทยรายงานว่า ในวันที่ 29 มกราคม 2561 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ รับมอบอำนาจจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้าพบพนักงานสอบสวนสน.ปทุมวันเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษเจ็๋ดนักกิจกรรมที่ทำกิจกรรมเรียกร้องการเลือกตั้งในวันที่ 27 มกราคม 2561 ในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง
นักกิจกรรมหเจ็ดคนที่ถูกเรียกตัวเข้ารับทราบข้อกล่าวหาได้แก่ รังสิมันต์ สิรวิชญ์ ณัฎฐา อานนท์ เอกชัย สุกฤษฎ์ และเนติวิทย์ โดยทางสน.ปทุมวันจะออกหมายเรียกให้บุคคลทั้งเจ็ดเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 น.
30 มกราคม 2561
โพสต์ทูเดย์ออนไลน์รายงานว่า พ.ต.ท.สมัคร ปัญญาวงค์ หัวหน้างานสอบสวนสน.ปทุมวันร้องทุกข์กล่าวโทษผู้ร่วมกิจกรรมเรียกร้องการเลือกตั้งที่ลานสกายวอล์กหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯรวม 39 คนในข้อหาชุมนุมภายในรัศมี 150 เมตรจากพระราชวังของเจ้านายชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ตามมาตรา 7 ของพ.ร.บ.ชุมนุม ผู้ต้องหาเจ็ดคนในคดีนี้ก็มีชื่อถูกตั้งข้อกล่าวหานี้ด้วย
ในวันเดียวกันหลังมีข่าวนักกิจกรรมและประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมเรียกร้องการเลือกตั้งถูกดำเนินคดีในความผิดตามพ.ร.บ.ชุมนุมรวม 39 คน ณัฏฐา หนึ่งในเจ็ดผู้ถูกดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และความผิดฐานขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 โพสต์ภาพและข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวซึ่งตั้งค่าเป็นสาธารณะ ประกาศจะทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อประณามและเรียกร้องให้ยุติการใช้กฎหมายปิดปากประชาชนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561
1 กุมภาพันธ์ 2561
เวลาประมาณ 17.30 น. นัฎฐาและประชาชนส่วนหนึ่งที่ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานชุมนุมภายในรัศมี 150 เมตรจากพระวังของเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าร่วมทำกิจกรรมร้องเพลงชาติแห่งความเงียบที่บริเวณลานหน้าห้างสยามพารากอนท่ามกลางการจับตาโดยเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
เจ้าหน้าที่ของห้างยังได้นำรั้วเหล็กติดข้อความสถานที่ส่วนบุคคล ห้ามจัดกิจกรรมก่อนได้รับอนุญาตจำนวนหนึ่งมาวางบริเวณลานหน้าห้างด้านที่ติดกับประตูทางเข้าห้างด้วย
เมื่อณัฏฐาเริ่มแถลงข่าวเจ้าหน้าที่ของห้างได้พยายามเข้ามาเจรจาเพื่อให้ยุติการทำกิจกรรมโดยชี้แจงว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลแต่ณัฏฐาก็ยืนยันที่จะทำกิจกรรมต่อไป โดยตลอดเวลาที่มีการเจรจามีการผลักดันกันไปมาแต่ก็ไม่มีความรุนแรงใดๆเกิดขึ้น
ในเวลาประมาณ 18.00 ณัฏฐาและผู้ร่วมกิจกรรมอีกสามคนเอาเทปกาวปิดปากและยืนเงียบที่บริเวณบันไดหน้าห้างด้านที่มีน้ำพุ การยืนเงียบดำเนินไปถึงเวลา 18.30 น.ณัฏฐาจึงแถลงข่าวปิดท้ายกับผู้สื่อข่าวสั้นๆก่อนที่จะสลายตัว ซึ่งเมื่อณัฏฐายุติกิจกรรมแล้วเดินเข้าไปในห้างมีเจ้าหน้าที่ของห้างติดตามเข้าไปเพื่อสังเกตการณ์ว่าณัฏฐาจะทำกิจกรรมในห้างต่อหรือไม่ด้วย แต่ก็ไม่มีการทำกิจกรรมหรือการควบคุมตัวบุคคลใดเกิดขึ้นหลังจากนั้น
กิจกรรมร้องเพลงชาติแห่งความเงียบ
2 กุมภาพันธ์ 2561
นัดรายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหา
ณัฏฐาผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีนี้เดินทางมาที่สน.ปทุมวันเพื่อรายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหา โดยณัฏฐาเป็นเพียงหนึ่งในเจ็ดผู้ต้องหาคดีนี้ที่มารายงานตัวในวันนี้ นอกจากณัฏฐาแล้ววันนี้ก็มีผู้ต้องหาคดี ชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง #MBK39 ราว 20 คนซึ่งร่วมชุมนุมในเหตุการณ์เดียวกันแต่ถูกตั้งข้อหาตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯโดยไม่ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 มารายงานตัวด้วย
สำหรับผู้ต้องหาคดีนี้ที่เหลือไม่ได้มารายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหาในวันนี้แต่ให้ทนายมาขอเลื่อนนัดกับพนักงานสอบสวนโดยอ้างเหตุว่าติดภารกิจและพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกอย่างกระชั้นชิด

ผู้มารายงานตัวหารือกับทีมทนายความเรื่องแนวทางการเข้ารายงานตัวที่บริเวณตลาดสามย่าน
ผู้ที่มารายงานตัวรอฟังคำสั่งจากเจ้าหน้าที่อยู่ประมาณสองถึงสามชั่วว่าจะให้เลื่อนหรือไม่แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีคำสั่งลงมา ผู้มารายงานตัวทั้งหมดพร้อมทั้งทนายความจึงเดินทางกลับ ปรากฎว่าในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการเข้ารับทราบข้อกล่าวและออกหมายเรียกใหม่นัดให้ผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมดมารายงานที่สน.ปทุมวันในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 หากผู้ถูกหมายเรียกสองครั้งไม่มารายงานตัวพนักงานสอบสวนก็จะสามารถขอศาลออกหมายจับได้ทันที
ทนายของผู้ต้องหาทั้งห้าคนโต้แย้งคำร้องฝากขังว่า ผู้ต้องหาทั้งห้าไม่ได้มีพฤติการณ์เป็นแกนนำในการชุมนุม รวมทั้งยังไม่มีพฤติการณ์หลบหนี จึงไม่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวในชั้นนี้
ส่วนที่พนักงานสอบสวนอ้างว่ายังสอบพยานไม่แล้วเสร็จ ปรากฎว่าพยานทั้งหมดเป็นเจ้าพนักงานทั้งสิ้น พนักงานสอบสวนจึงสามารถดำเนินการสอบสวนได้โดยไม่จำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องหา ส่วนที่อ้างว่าผู้ต้องหาจะไปชุมนุมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์และอาจก่อให้เกิดภยันตรายนั้นก็เป็นแต่เพียงการคาดคะเนของพนักงานสอบสวนเท่านั้น จึงให้ยกคำร้อง
10 กุมภาพันธ์ 2561
เมื่อมีการประกาศยุติการชุมนุมในเวลา 19.45 น. ทั้งสามเดินไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่นำทั้งสามไปควบคุมที่สน.สำราญราษฎร์ เพื่อทำบันทึกการจับกุม ก่อนส่งตัวไปที่สน.ปทุมวัน
ในเวลาประมาณ 22.00 น. ขณะที่เอกชัย ผู้ต้องหาอีกคนหนึ่งที่ถูกจับกุมตัวตั้งแต่เช้าก็ยังคงอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ โดยที่บริเวณหน้าสน.ปทุมวันก็มีการรวมตัวกันของประชาชนประมาณ 200 คน ที่มาเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวทั้งหมด
อัยการแถลงขอให้ศาลรวมสำนวนคดีทั้งสองเข้าด้วยกันเพราะเป็นเหตุการณ์เดียวกันและใช้พยานหลักฐานชุดเดียวกัน ฝ่ายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน ศาลจึงอนุญาตให้รวมสำนวนคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน
สำหรับพยานโจทก์ที่จะมาเบิกความในคดีนี้ จะมีการนำสืบในประเด็นหลักๆได้แก่ ข้อความการปราศรัยของจำเลยมีลักษณะเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 อย่างไร และระยะการยืนของจำเลยระหว่างการทำกิจกรรมอยู่ห่างจากวังสระปทุมแค่ไหน
ส่วนประเด็นหลักๆที่จำเลยเตรียมนำสืบ ได้แก่การชุมนุมของจำเลยเป็นเสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและเจตนาในการกระทำของจำเลยเป็นเจตนาบริสุทธิ์ จำเลยบางส่วนก็เตรียมสู้คดีในส่วนของบทบาทว่าไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเป็นผู้้จัดการชุมนุมด้วย
ส่วนที่ทนายจำเลยแถลงขอให้ศาลยุติการดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เนื่องจากมีการออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 22/2561 ออกมายกเลิกแล้ว ศาลแจ้งกับทนายว่าจะนำประเด็นดังกล่าวไปใส่ไว้ในคำพิพากษา
ขณะที่รังสิมันต์ สมาชิกพรรคอนาคตใหม่ก็ระบุว่า เนื่องจากตัวเขามีคดีจากการทำกิจกรรมหลายคดีทั้งในศาลพลเรือนและศาลทหาร หากคดีใดมีผลออกมาก่อนมีการประกาศผลการเลือกตั้งก็อาจมีผลต่อคุณสมบัติในการลงสมัครหรือการเป็นผู้แทน แต่หากคดีมีคำพิพากษาหลังมีการประกาศรับรองผลเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯและอยู่ในสมัยประชุมก็อาจไม่กระทบกับการทำงานการเมืองมากนักเพราะจะมีเอกสิทธิ์คุ้มครองอยู่ อย่างไรก็ตามตัวเขามีความกังวลกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมากกว่าศาลยุติธรรม
ทนายจำเลยถามว่าในที่ชุมนุมมีคนผ่านไปผ่านมา ทั้งคนที่จะมาห้างมาบุญครองและคนที่จะไปขึ้นรถไฟฟ้า ส.อ.ศราวุธสามารถแยกออกหรือไม่ว่าใครมาชุมนุม ใครแค่ผ่านทาง ส.อ.ศราวุธตอบว่าเขาไม่สามารถแยกได้ ทนายจำเลยถามต่อว่าหลังการปราศรัยรังสิมันต์เดินทางไปไหนต่อส.อ.ศราวุธทราบหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบเพราะเขาไม่ได้ติดตามไป ทนายจำเลยที่สองแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าการยึดอำนาจไม่ใช่การเข้าสู่อำนาจรัฐด้วยวิถีทางตามรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ ข้อนี้ศาลไม่บันทึก ส.อ.ศราวุธบอกกับทนายจำเลยว่าเขาและเจ้าหน้าที่ในหน่วยของเขามีหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายเท่านั้น เขาไม่ทราบรายละเอียดอื่นๆ หลังจากนั้นศาลย้อนไปบันทึกคำถามของทนายเกี่ยวกับการปฏิญาณตนและการยึดอำนาจจากนั้นบันทึกคำตอบต่อว่าพยานไม่เกี่ยวข้อง
ทนายจำเลยถามว่าส.อ.ศราวุธทราบหรือไม่ว่าประชาชนชาวไทยมีหน้าที่ปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ ส.อ.ศราวุธตอบว่าเขาไม่ทราบในรายละเอียด ทนายจำเลยนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ให้ส.อ.ศราวุธดูแล้วถามว่าตามรัฐธรรมนูญบุคคลจะใช้สิทธิล้มล้างการปกครองไม่ได้ใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ
ทนายจำเลยถามว่าส.อ.ศราวุธเป็นผู้ช่วยฝ่ายกฎหมายเหตุใดจึงไม่ทราบเรื่องรัฐธรรมนูญ ส.อ.ศราวุธตอบว่าเขาไม่เคยอ่านรายละเอียดรัฐธรรมนูญ ทนายจำเลยให้ส.อ.ศราวุธดูมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเรื่องเสรีภาพการชุมนุม ศาลติงทนายว่าให้ถามคำถามเข้าประเด็นวันเกิดเหตุได้แล้ว ทนายจำเลยยืนยันต่อศาลว่าจำเป็นต้องถามคำถามเหล่านั้นเพราะจะนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ศาลจึงบันทึกคำถามของทนายในประเด็นสิทธิเสรีภาพให้
ทนายจำเลยถามว่าส.อ.ศราวุธทราบความหมายของการชูสามนิ้วหรือไม่ จากนั้นทนายพูดต่อว่าความหมายของการชูสามนิ้วคือ เลือกตั้งภายในปีนี้ (2561) เผด็จการจงพินาศ และประชาธิปไตยจงเจริญ ส.อ.ศราวุธตอบว่าเขาไม่ทราบว่าความหมายของการชูสามนิ้วจะเป็นดังที่ทนายจำเลยบอกหรือไม่
ทนายจำเลยถามว่าในวันเกิดเหตุมีการชูสามนิ้วและตะโกนว่า เลือกตั้งปีนี้ เผด็จการจงพินาศ และประชาธิปไตยจงเจริญหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าเขาจำเหตุการณ์ไม่ได้เนื่องจากดูเทปการปราศรัยเพียงรอบเดียว ทนายจำเลยถามว่าข้อเรียกร้องทั้งสามถือเป็นข้อเสนอที่ชอบธรรมหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ ทนายจำเลยที่สามแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าการชุมนุมเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ ทนายจำเลยที่สี่แถลงหมดคำถาม
ณัฎฐาลุกขึ้นแถลงต่อศาลขออนุญาตถามคำถามเพิ่มเติม ศาลแจ้งกับณัฎฐาว่าตามกระบวนการในการถามพยานหนึ่งปากจำเลยหนึ่งคนมีสิทธิใช้ทนายถามได้เพียงคนเดียว หากจำเลยต้องการถามพยานเองก็ควรถามเองแต่แรก
ศาลแนะนำให้ณัฎฐาเขียนคำถามให้ทนายถาม แต่ณัฎฐาบอกกับศาลว่าเกรงว่าการเขียนคำถามจะถามกะถามได้ไม่ครบถ้วน สุดท้ายณัฎฐาจึงใช้วิธีถามคำถามขึ้น จากนั้นทนายจำเลยจะต้องทวนคำถามเดิมเพื่อให้ส.อ.ศราวุธตอบ ระหว่างที่ณัฎฐาถามคำถามผ่านทนาย หากทนายไม่ทวนคำถามศาลจะเตือนว่าให้ทวนคำถาม
ณัฎฐาถามต่อว่าที่มีการเสวนาครั้งดังกล่าวเป็นเพราะเวลานั้นประเทศไม่มีฝ่ายค้านมาสี่ปีแล้วใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบเพราะเขาไม่เกี่ยวข้อง รัฎฐาถามต่อว่าการประชุมสนช.มีฝ่ายค้านหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ
ณัฎฐาถามต่อว่าการเสวนาครั้งนั้นมีการพูดเรื่องการทุจริตในต่างประเทศใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ ณัฎฐาถามว่าเนื้อหาการเสวนามีการพูดเรื่องนาฬิกาหรูด้วยใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ ณัฎฐาถามว่าระหว่างมีการจัดงานดังกล่าวสื่อมวลชนในประเทศไทยยังคงถูกคสช.ควบคุมการทำงานอยู่ใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ
ณัฎฐาถามว่าการเสวนาที่จัดขึ้นถือเป็นการทำงานแทนฝ่ายค้านที่ไม่มีในขณะนั้นใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ ณัฎฐาถามว่าการตรวจสอบการทุจริตถือเป็นการปกป้องผลประโยชน์สาธารณะใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่มีความเห็น ณัฎฐาแถลงผ่านทนายว่าหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าวันเกิดเหตุอานนท์พูดในที่ชุมนุมว่าตัวเองไปตรวจสอบการโกงที่อุทยานราชภักดิ์ ไปรำลึกการเลือกตั้งก็ถูกดำเนินคดีใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าขอยืนยันตามเอกสารถอดเทปคำปราศรัย ทนายจำเลยถามว่า ข้อความ "ขอให้ทุกคนสัญญาต่อกันสามข้อ เลือกตั้งปีนี้ ิเผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" เป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าเขาไม่สามารถให้ความเห็นได้
ทนายจำเลยถามว่าการเสวนาที่สวนครูองุ่นมีการตพูดเรื่องการเลือกตั้งหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่มีและไม่มีการดำเนินคดีกับบบุคคลที่ร่วมกิจกรรมดังกล่าว
ทนายจำเลยถามว่าการเรียกร้องการเลือกตั้งเป็นการเรียกร้องตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่สามารถให้ความเห็นได้ ทนายจำเลยถามว่าอานนท์มาปราศรัยโดยไม่ได้มีการพกอาวุธมาด้วยใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าใช่ ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าเอกชัยปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงด้วยหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าเอกชัยไม่ได้ปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสีย แต่มีลักษระเป็นการยืนพูดเฉยๆโดยพูดเรื่องนาฬิกา เท่าที่ทราบเอกชัยน่าจะพูดแต่เรื่องนาฬิกาเพียงเรื่องเดียว
ทนายจำเลยถามว่าที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์เคยสัญญาเรื่องการจัดการเลือกตั้งแต่ก็มีการเลื่อนออกมาห้าครั้งแล้วใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าเป็นไปตามเอกสารข่าวที่ทนายจำเลยนำมาให้ดู ทนายจำเลยถามว่าที่มีการเลื่อนการเลือกตั้งจากปลายปี 2561 เป็นปี 2562 เป็นเพราะสนช.ออกกฎหมายให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีผลบังคับให้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาครบ 90 วันใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าน่าจะใช่
ทนายจำเลยถามว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนๆมีการกำหนดบทบัญญัติในลักษณะนี้ไว้หรือไม่ ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าเนื่องจากคดีนี้มีการปราศรัยเกี่ยวกับการทุจริตเลยขอถามว่า ส.อ.ศราวุธเคยได้ยินข่าวการทุจริตของรัฐบาลคสช.หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบข่าว ส.อ.ศราวุธทนายจำเลยถามว่าแล้วทราบหรือไม่ว่าเคยมีคนถูกดำเนินคดีเพราะตรวจสอบการคอรัปชัน ส.อ.ศราวุธตอบว่าเคยได้ยินข่าว
ทนายจำเลยถามว่าหลังการปราศรัยทราบหรือไม่ว่าสุกฤษฎ์ไปที่ใด ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ ทนายจำเลยถามว่าหลังเกิดเหตุคดีนี้ รัฐบาลที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในขณะนั้นยังสามารถบริหารประเทศได้ตามปกติใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าใช่
ทนายจำเลยถามว่าหลังเกิดเหตุ ส.อ.ศราวุธได้ทำรายงานว่าการชุมนุมเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือชีวิตใดๆหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ได้ทำเพราะไม่มีความเสียหาย ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าเอกสารถอดเทปทุกแผ่น ส.อ.ศราวุธลงรายมือชื่อไว้ทั้งหมดใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าใช่ ทนายจำเลยถามว่าตามคำทอดเทปของเนติวิทย์ที่ ส.อ.ศราวุธทำการถอดเทปเป็นเรื่องจริงใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบว่าสิ่งที่เนติวิทย์พูดเป็นจริงหรือไม่ เขาเพียงแต่ถอดเทปและส่งผู้บังคับบัญชาเท่านั้น
ทนายจำเลยถามว่าทราบหรือไม่ว่าสิ่งที่เนติวิทย์พูดได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ส.อ.ศราวุธตอบว่าเขาไม่ทราบว่าสิ่งที่เนติวิย์พูดจะได้รับการคุ้มครองหรือไม่ ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ ทนายจำเลยถามว่าทหารที่ทำหน้าที่ติดตามผู้ชุมนุมหรือนักกิจกรรมใช้บัญชีเฟซบุ๊กใดกันบ้าง ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่ทราบ ส่วนการติดตามนักกิจกรรมหรือกลุ่มกิจกรรมจะใช้วิธีกดถูกใจเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มกิจกรรมต่างๆ
ทนายจำเลยถามว่าในวันเกิดเหตุสมบัติยืนให้สัมภาษณ์อยู่บริเวณใด ส.อ.ศราวุธตอบว่าจำไม่ได้ ทนายจำเลยถามว่าสมบัติมีการปราศรัยออกทางโทรโข่งหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าสมบัติไม่ได้ปราศัยผ่านโทรโข่ง ได้แต่ยืนให้สัมภาษณ์
ทนายจำเลยถามว่าที่ผู้ชุมนุมคัดค้านการสืบทอดอำนาจมีมูลเหตุที่น่าจะเป็นจริงหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่มีความเห็น ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
อัยการถามว่าที่ทนายจำเลย ส.อ.ศราวุธเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง ส.อ.ศราวุธมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆหรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าไม่มี อัยการถามว่าที่ ส.อ.ศราวุธเบิกความว่าทราบว่ามีการจัดคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมบริเวณลานหน้าหอศิลป์กรุงเทพ แต่บริเวณดังกล่าวไม่ใช่สถานที่จัดการชุมนุมในคดีนี้ใช่หรือไม่ ส.อ.ศราวุธตอบว่าใช่ อัยการแถลงหมดคำถาม
สืบพยานโจทก์ พ.ต.ท.สุรศักดิ์ เลิศไกร เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบแฝงตั
พ.ต.ท.สุรศักดิ์ กล่าวว่า เท่าที่ทราบคดีนี้ข้อเรียกร้
ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนแจ้งคู่ความว่า ลูกของท่านจะเดินทางกลับจากต่างประเทศในช่วงบ่ายวันนี้และจะต้องเข้าสู่กระบวนการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังเป็นเวลา 14 วันที่บ้านซึ่งจะทำให้ตัวผู้พิพากษากลายเป็นบุคคลในกลุ่มเสี่ยงไปด้วย จึงขอหารือกับคู่ความว่าจะยกเลิกวันนัดสืบพยานที่เดิมกำหนดไว้ในวันที่ 20 และ 27 มีนาคม แล้วก็หนดวันใหม่แทนหรือไม่ คิดเห็นเช่นไร
ทั้งฝ่ายอัยการและจำเลยไม่คัดค้านศาลจึงขอให้คู่ความกำหนดวันนัดใหม่ คู่ความตกลงเป็นวันที่ 13 และ 14 สิงหาคม 2563 จากนั้นศาลจึงให้โจทก์นำพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นพยานโจทก์ปากสุดท้ายเข้าสืบ ระหว่างที่ศาลกำลังสืบพยาน ในเวลาประมาณ 10.20 น. นัฏฐา จำเลยอีกคนหนึ่งตามมาสมทบในห้องพิจารณาคดี
ได้แก่ รังสิมันต์ เนติวิทย์ อานนท์ สุกฤษฎ์ สิรวิชญ์ ณัฏฐา และ เอกชัย ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน และข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
เมื่อถึงวันดังกล่าว วีระ สิรวิชญ์ ณัฏฐา และเอกชัย รวมตัวกันที่สวนครูองุ่น ซอยทองหล่อ ในงานเสวนาเรื่องคอร์รัปชัน
ระหว่างที่จำเลยกลุ่มดังกล่าวผลัดกันปราศรัย สมบัติ วีระ และเอกชัยก็ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในบริเวณใกล้เคียง เบื้องต้นคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นว่าการกระทำของจำเลยเจ็ดคน ได้แก่ รังสิมันต์ เนติวิทย์ อานนท์ สุกฤษฎ์ สิรวิชญ์ ณัฏฐา และ เอกชัย เป็นความผิดจึงมอบหมายให้พ.อ.บุรินทร์มาดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษ
อัยการนำภาพแผนผังโดยสังเขปของที่เกิดเหตุมาให้พ.ต.ท.สมัครดูแล้วถามว่าจุดที่ทำเครื่องหมายดอกจันไว้หมายถึงอะไร พ.ต.ท.สมัครตอบว่าหมายถึงจุดที่ผู้ชุมนุมรวมตัวกัน
สำหรับการดำเนินการในส่วนของเขา พ.ต.ท.สมัครเบิกความเพิ่มเติมว่าหลังจากวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เขาได้ทำการสอบปากคำพยานบุคคลเพิ่มเติม และส่งแผ่นซีดีที่ พ.อ.บุรินทร์นำมามอบให้ไปตรวจสอบว่ามีการตัดต่อดัดแปลงหรือไม่ ซึ่งผลออกมาว่า ไม่มี
ในจำนวนนั้นมีสองคนที่รับสารภาพซึ่งศาลแขวงปทุมวันพิพากษาจำคุกทั้งสองเป็นเวลา 6 วันโดยให้รอลงอาญาไว้ จากนั้นอัยการขอให้พ.ต.ท.สมัครชี้ตัวจำเลยที่อยู่ในห้อง พ.ต.ท.สมัครชี้ตัวเอกชัย อานนท์ และสิรวิชญ์ แต่ไม่ได้ชี้ตัวณัฏฐาเนื่องจากขณะนั้นเธอไม่อยู่ในห้องพิจารณาคดี
ทนายจำเลยถามว่าข้อความที่วีระพูดเป็นเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันและการสืบทอดอำนาจ ซึ่งถือเป็นการแสดงความคิดเห็นตามระบอบประชาธิปไตยใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครรับว่าใช่
ทนายจำเลยถามว่าเอกสารที่เป็นข้อมูลส่วนตัวของวีระระบุข้อความว่าวีระเป็นแกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ซึ่งกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงก่อตั้งและทำกิจกรรมในช่วงที่วีระรับโทษจำคุกอยู่ที่กัมพูชาใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าไม่ทราบ
ทนายจำเลยที่หนึ่งแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามต่อว่าเมื่อตัวพ.ต.ท.สมัครไม่ได้ไปในที่เกิดเหตุในวันเกิดเหตุแล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเครื่องหมายดอกจันบนแผนที่แสดงจุดที่มีการชุมนุมได้ถูกต้อง พ.ต.ท.สมัครตอบว่าเขาไม่แน่ใจ ทนายจำเลยถามว่าการวัดระยะทำบนสกายวอล์กหรือบนผิวถนน พ.ต.ท.สมัครตอบว่าเป็นการวัดที่ผิวถนน
ทนายจำเลยถามต่อว่าพ.ต.ท.สมัครทราบหรือไม่ว่าเนื้อหาที่รังสิมันต์ปราศรัยโดยสรุปพูดถึงการบริหารประเทศที่ไม่โปร่งใส การเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง และการโจมตีเรื่องการสืบทอดอำนาจ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าเป็นไปตามเอกสาร
ทนายจำเลยที่สองแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่ามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนมารายงานหรือไม่ว่ามีการพูดคุยแบ่งงานเรื่องการชุมนุมที่สกายวอล์กระหว่างที่มีกิจกรรมที่สวนครูองุ่น พ.ต.ท.สมัครตอบว่าไม่มี
ทนายจำเลยถามต่อว่าระหว่างที่รับราชการมีการติดป้ายห้ามการชุมนุมเพราะอยู่ในรัศมี 150 เมตรจากเขตที่ประทับบนสกายวอล์กหรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าไม่มี ทนายจำเลยถามว่าระหว่างที่พ.ต.ท.สมัครรับราชการที่สน.ปทุมมวันก็มีการชุมนุมที่ลานหน้าหอศิลป์ เช่น กิจกรรมเรียกร้องความเป็นธรรมให้เสือดำ หรือเรื่องประท้วงกกต.ใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครรับว่าเคยได้ยินกิจกรรมเกี่ยวกับเสือดำแต่ไม่ทราบเรื่องกิจกรรมประท้วงกกต.
ทนายจำเลยถามว่าหากประเมินด้วยสายตา ระยะทางจากลานหน้าหอศิลป์กรุงเทพ ไปถึงวังสระปทุม จะสั้นกว่าระยะทางจากวังสระปทุมถึงสกายวอล์กที่เป็นพื้นที่ชุมนุมใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครรับว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น ทนายจำเลยถามว่าระหว่างที่พ.ต.ท.สมัครรับราชการที่สน.ปทุมวัน มีการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในคดีอื่นนอกจากคดีนี้หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าเท่าที่ทราบไม่มี
ทนายจำเลยถามว่าขณะเกิดเหตุสิรวิชญ์เป็นนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าใช่
ทนายจำเลยถามว่าพ.ต.ท.สมัครเคยเห็นเอกสารที่เจ้าหน้าที่ทหารจัดทำขึ้นมาส่งให้ตำรวจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินคดีผู้ที่แสดงออกทางการเมืองหรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าไม่เคยเห็นและไม่มีในสำนวนคดีนี้
ทนายจำเลยที่สามแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าตามระบอบประชาธิปไตยประชาชนย่อมมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าใช่
ทนายจำเลยที่สี่แถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าเหตุใดจึงวัดระยะจากแนวรั้วของวังสระปทุม แต่ไม่วัดจากพระตำหนักที่ประทับ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าเป็นเพราะเขาไม่สามารถที่จะเข้าไปทำการวัดระยะในพื้นที่วังสระปทุมได้ นอกจากนั้นเขาก็เห็นว่าตั้งแต่แนวรั้วเข้าไปก็นับเป็นเขตที่ประทับแล้ว
ทนายจำเลยถามต่อว่า ตัวของพ.ต.ท.สมัครเองก็เคยไปเบิกความเป็นพยานที่ศาลในคดีที่เกิดจากการชุมนุมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ซึ่งมีผู้ชุมนุมในคดีนี้ส่วนหนึ่งถูกดำเนินคดีด้วยใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าเคยไปเบิกความจริงแต่จะเป็นคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์หรือไม่ ไม่แน่ใจ
ทนายจำเลยถามต่อว่าเจ้าหน้าที่โยธาไม่ได้ส่งมอบข้อมูลการวัดอย่างละเอียด ไม้แต่แจ้งระยะทางใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครรับว่าใช่
ทนายจำเลยถามว่าจำเลยเคยร้องขอให้สอบปากคำพยานเพิ่มเติม พ.ต.ท.สมัครได้ดำเนินการตามที่จำเลยร้องขอหรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าเขาจำไม่ได้แต่ทราบว่ามีพนักงานสอบสวนคนอื่นดำเนินการให้
ทนายจำเลยที่หกแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าตามเอกสารหลักฐาน ไม่ปรากฎว่ามีชื่อของสุกฤษฎ์โพสต์หรือแชร์ข้อความเชิญชวนให้ประชาชนออกมาร่วมชุมนุมใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครรับว่าใช่
ทนายจำเลยที่เจ็ดแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าตามภาพถ่ายในวันเกิดเหตุเนติวิทย์ไม่ได้ถือไมค์หรือโทรโข่งปราศรัยใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครรับว่าใช่ ทนายจำเลยถามต่อว่าตามภาพจุดที่เนติวิทย์ยืนไม่ใช่จุดที่แกนนำทำการปราศรัยใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าไม่ทราบ
ทนายจำเลยถามว่าถ้อยคำที่พูดไม่ได้มีลักษณะรุนแรง หรือข่มขืนใจผู้อื่นใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าไม่ขอตอบ ทนายจำเลยถามต่อว่าถ้อยคำของเนติวิทย์ก็ไม่ได้บอกให้ประชาชนละเมิดกฎหมายและอยู่ในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าไม่มีถ้อยคำบอกให้ประชาชนละเมิดกฎหมาย แต่จะเป็นการพูดตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่ขอตอบ
ทนายจำเลยถามว่าพ.ต.ท.สมัครทราบเรื่องการรัฐประหาร วิธีการเข้าสู่อำนาจและการใช้อำนาจของคสช.ที่มีลักษณะเป็นเผด็จการหรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าทราบวิธีการเข้าสู่อำนาจของคสช.แต่จะเป็นเผด็จการหรือไม่ ไม่ขอตอบ
ทนายจำเลยที่แปดแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่าในเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิญชวนประชาชนออกมาร่วมชุมนุมไม่ปรากฎว่าสมบัติได้ประกาศเชิญชวนบุคคลใดมาร่วมชุมนุมใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครรับว่าไม่มี
ทนายจำเลยถามว่าคณะทำงานสอบสวนไม่ได้ตั้งประเด็นดำเนิคดีจำเลยเพื่อใช้กฎหมายสกัดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชนใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่าไม่ได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์นั้น
ทนายจำเลยที่เก้าแถลงหมดคำถาม
อัยการถามว่าแล้วที่ในแผนที่ไม่มีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนกำกับไว้เป็นเพราะเหตุใด พ.ต.ท.สมัครตอบว่าเป็นความผิดพลาดในการทำงาน
คดีนี้เป็นคดีที่มีจำเลยและทนายหลายคน ทั้งยังเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน มีประชาชนทั่วไปมาร่วมฟังการพิจารณาคดีด้วย จึงทำให้เกิดสภาวะที่มีคนจำนวนมากมารวมตัวกันในที่แคบซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค จึงให้เลื่อนวันนัดพิจารณาคดีนัดต่อไป
โดยยกเลิกนัดเดิมในวันที่ 20 และ 27 มีนาคม 2563 และกำหนดวันนัดใหม่สองนัดในวันที่ 13 – 14 สิงหาคม 2563 แทน